ความคิดเห็นที่ 5
ยาวหน่อยนะครับ ลองอ่านดู............
จากผลของกระบวนการเปลี่ยนแปลงธรณีสันฐานของเปลือกโลกในอดีต ทำให้พื้นที่บ้านคลองยาง บ้านหนองผักแว่นและบริเวณโดยรอบ เกิดลักษณะเป็นแอ่งที่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขา โดยมีเขาสะแกกรอง เขาพรานนุชในด้านเหนือ เขาห้วยชัน เขาทะลาย ในด้านตะวันตก และเขาคันนาในด้านใต้
น้ำฝนที่ตกลงมาก่อให้เกิดเป็นทางน้ำและลำธารขึ้นในบริเวณเทือกเขาเหล่านี้ สายน้ำได้กัดเซาะชั้นหินจากเทือกเขาให้ผุพัง และพัดพาเอาตะกอนดังกล่าวเข้ามาสะสมตัวในแอ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำระหว่างเทือกเขา พื้นที่บริเวณบ้านคลองยางถึงบ้านหนองผักแว่นเป็นที่รวมของตะกอนน้ำพาจากทางน้ำสายเล็กหลายสาย เช่น ห้วยยาง ห้วยอีลาย ห้วยชัน เป็นการพัดพาเอาตะกอนมาจากทางทิศตะวันตก ไปสู่ทิศตะวันออกตามความลาดเอียงของพื้นที่
ลักษณะของชั้นตะกอนที่สะสมตัวในแอ่งเกิดของละลุพบตะกอนชั้นล่างเป็นตะกอนที่เกิดจากการผุพังของหินดินดานและหินทรายแป้งเป็นส่วนใหญ่ ตะกอนมีดินเหนียวปะปนอยู่มาก บ่งชี้ให้ เห็น ว่าภูมิอากาศในขณะนั้นเป็นภูมิอากาศแบบชุ่มชื้น ทำให้เกิดการ ผุพังทางเคมีสูง
ตะกอนในระดับที่สูงขึ้นมีชั้นตะกอนเม็ดหยาบสลับกับเม็ดละเอียด จนเป็นขนาดทรายแป้งในชั้นบน และไม่แสดงชั้น
รูปแบบของการสะสมตัวชนิดนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการสะสมตัวโดยทางน้ำ การสะสมตัวที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ทำให้ได้ชั้นตะกอนในแอ่งหนาเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ แอ่งตื้นเขินขึ้น ทางน้ำลดระดับลง เกิดเป็นตะพักลุ่มน้ำสองข้างของห้วยยางซึ่งเป็นลำน้ำใหญ่สุดในพื้นที่นี้
การสะสมตัวของตะกอนเหล่านี้ น่าจะเกิดขึ้นในสมัยไพลสโตซีน หลังจากนั้น บริเวณพื้นผิวแอ่งสะสมตัวจะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ภูมิอากาศน่าจะเป็นแบบอบอุ่นสลับกับแห้งแล้ง น้ำจากผิวดินที่ซึมลงไป ระดับน้ำบาดาลที่แปรเปลี่ยน ทำให้เกิดเม็ดศิลาแลงและลูกรังปะปนอยู่ในชั้นตะกอนชั้นบน
ต่อมาเกิดกระบวนการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกอีกครั้งหนึ่ง ทำให้พื้นที่ราบในบริเวณนี้เกิดรอยแตกและรอยเลื่อนหลายทิศทาง รอยแตกเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ชั้นตะกอนแตกออกเป็นแนวยาวทำให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย ในที่สุดชั้นตะกอนจะถูกกัดเซาะให้เป็นทางน้ำไหล ต่อมา สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเป็นแบบฝนตกชุก น้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องมีปริมาณมากและ รุนแรง กระแสน้ำที่ค่อนข้างแรงนี้ ได้กัดเซาะพื้นที่สะสมตะกอนซึ่งอยู่ใกล้กับเชิงเขาให้สึกกร่อนอย่างรวดเร็ว
การกัดเซาะในแนวราบจะทำให้ชั้นตะกอนแตกหลุดไป กลายเป็นพื้นที่ราบ ส่วนการกัดเซาะในแนวดิ่ง จะทำให้ส่วนที่หลงเหลืออยู่มีลักษณะเป็นหลืบ เป็นหน้าผา การวิวัฒนาการของเหตุการณ์เหล่านี้สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดในช่วงเวลาประมาณ 10,000-30,000 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน ชั้นตะกอนส่วนที่เหลือซึ่งมีรูปร่างต่างๆ กันไปตามระดับความทนทานต่อการกัดเซาะ จึงได้รับการเรียกขานตามจินตนาการของชาวบ้านในละแวกนั้น ว่า แผ่นดินทะลุ หรือ ละลุ
จากคุณ :
น้าพร
- [
2 มี.ค. 50 01:33:07
]
|
|
|