ความคิดเห็นที่ 23
อยากแนะนำตามความคิดของผมเองนะครับไม่อิงวิชาการ หลักๆมีอยู่ 3 อย่าง
การที่จะมองเห็บควรมองไปที่
1. ตัวสัตว์เอง 2. สิ่งแวดล้อมในบ้านและแถวๆบ้าน 3. สิ่งแวดล้อมภายนอก
ฆ่ายังไงก็ไม่หมดหรอกครับ ถ้าไม่เข้าใจวงจรชีวิตของมัน เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เป็นสภาวะแวดล้อมที่ดีสำหรับเห็บในการเจริญและแพร่เผ่าพันธุ์ และ สิ่งสำคัญคือ ประเทศไทยยังมีสุนัขจร และ สุนัขที่เจ้าของเลี้ยงดูอย่างตามบุญตามกรรมอยู่
เห็บจะมีวงจรชีวิตแบบคร่าวๆดังนี้ >>>ไข่(ที่พื้นดิน)ฟักออกมา >>> ตัวอ่อนระยะที่1 (หา สุนัข เกาะ แล้วดูดเลือดจนอิ่ม) >>> ลงจากตัวสุนัข หาที่ซ่อนตัวเพื่อลอกคราบ >>> ตัวอ่อนระยะที่2(หา สุนัข เกาะและดูดเลือดจนอิ่ม) >>>> ลงจากตัวสุนัขเพื่อหาที่ซ่อนตัวและลอกคราบ >>>> ตัวเต็มไว(หาตัวสุนัขเกาะเพื่อดูดเลือดจนอิ่ม และผสมพันธุ์) >>> ลงจากตัวสัตว์เพื่อวางไข่(ที่พื้นดิน)
เห็บตัวอ่อนสามารถอยู่นอกตัวสัตว์ได้นานเป็นเดือนๆโดยไม่ขึ้นตัวสุนัขเลย และตัวเต็มไว(เม็ดข้าวโพด) สามารถอยู่นอกตัวสัตว์ได้นานหลายๆเดือนโดยไม่ต้องขึ้นไปบนตัวสัตว์เลย
เห็บสามารถเดินหาตัวสัตว์ได้เป็นระยะทางไกลๆ
ตัวอ่อนระยะที่ 1 มีขนาดเล็กมากๆ มองด้วยตาปล่าวไม่ค่อยเห็น
เห็บ 1 ตัวสามารถออกไข่ได้เป็นร้อยเป็นพันฟอง
มาถึงปัญหา
ปัญหาข้อที่ 1 ทำไมใช้ยาหรือวิธีต่างๆแล้วยังมีเห็บกลับมาอีก
- มาจากเห็บจากสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน รอบบ้าน ข้างบ้าน ในหมู่บ้าน --เห็บที่มาจากสิ่งแวดล้อมภายในบ้านมาจาก-- การกำจัดเห็บเฉพาะบนตัวสุนัขปล่อยให้เห็บตามพื้นอยู่ได้อย่างตามสบาย, ลูกรักลูกชัง กำจัดเห็บเฉพาะลูกรัก หมาตัวอื่นในบ้านที่ไม่รักช่างมัน, การกำจัดเห็บในบ้านอย่างไม่สม่ำเสมอเห็บรอบบ้านหรือข้างบ้านเข้ามาอาศัยใหม่
-- เห็บจากรอบบ้าน หรือ ข้างบ้าน หรือในหมู่บ้าน -- เกิดจากสุนัขจรที่อาศัยอยู่บริเวณแถวๆบ้านหรือในหมู่บ้านไม่มีใครกำจัดเห็บก็เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่ของเห็บ , สุนัขของเพื่อนบ้านที่เลี้ยงอย่างไม่ดูแลจัดการเรื่องเห็บให้ดี
ปัญหาที่ 2 มีการจัดการป้องกันดูแลที่ดีแล้ว เรื่องเห็บข้างบ้านก็ป้องกันอย่างดีทำคูน้ำรอบๆบ้านไว้เลย แล้วทำไมถึงยังมีเห็บกลับมาอีก
- อาจจะไปติดเห็บกลับมาจากการออกไปนอกบ้าน เช่น ไปหาหมอตามคลินิค โรงพยาบาล ไปอาบน้ำตัดขน ไปวิ่งออกกำลังกายตามสวนสาธารณะ ไปเยี่ยมญาติ ฯลฯ โดยตัวสุนัขเอง
- หรือ กรณีนี้อาจเกิดได้น้อยแต่ก็มีความเป็นได้ถ้าเกิดเจ้าของหรือคนภายในบ้านไปในสถานที่มีการแพร่กระจายของเห็บจำนวนมาก อาจติดเห็บกลับมาที่บ้านโดยไม่รู้ตัว อาจติดมากับเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือรองเท้า
หลักการควบคุมดูแล และป้องกันเรื่องเห็บ 1. กำจัดเห็บที่ตัวสัตว์เลี้ยง เช่น อาบน้ำด้วยแชมพูที่มีส่วนประสมยาฆ่าเห็บ , ราดหลัง จุ่ม หรือ อาบ ด้วยยาฆ่าเห็บ ,ยาหยอดหลัง ฯลฯ 2. กำจัดเห็บที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ด้วยน้ำยาฆ่าเห็บ เป็นประจำตามความจำเป็นของปัจจัยที่ก่อให้เกิดเห็บมากหรือน้อย 3. ป้องกันเห็บที่กลับขึ้นมาใหม่บนตัวสัตว์โดยยาหยอดหลังแบบออกฤทธิ์นานต่อเนื่อง ใช้ตามความจำเป็นของปัจจัยต่างๆ
4.ตรวจดูบริเวณข้างๆบ้านหรือบริเวณภายในหมู่บ้านว่ามีปัจจัยอะไรที่จะก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่ ถ้าเราแก้ไขได้ก็เข้าไปแก้ไข เช่น ประชุมหมู่บ้านเสนอการกำจัดและควบคุมเห็บในสุนัขจรภายในหมู่บ้าน , คุยกับเพื่อนบ้านถึงภัยอันตรายจากเห็บที่จะก่อเกิดกับสัตว์เลี้ยงและวิธีดูแลป้องกันอย่างถูกวิธี ชวนกันควบคุมป้องกันเห็บ
5.การพาสุนัขออกไปนอกสถานที่ ควรดูปัจจัยเสี่ยงที่จะติดเห็บกลับมาถ้าเลี่ยงที่จะไปได้ก็ควรเลี่ยง หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรป้องกันไว้เช่นหยดยาหยดหลัง คอยตรวจเช็กว่ามีเห็บติดมาหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องรีบควบคุมดูแล
ส่วนเรื่องยาและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง และข้อควรระวังหรือผลข้างเคียงต่างๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น สัตวแพทย์ตามคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ หรือหน่วยงานต่างๆ
คำเตือน : ยาฆ่าเห็บเป็นสารพิษชนิดรุนแรงมากนะครับ อันตรายมากๆ ใครเคยดูข่าวเรื่อง ท่านชายกบ กับ หม่อมลูกปลา คงจะจำได้สารพิษในกาแฟคือยาฆ่าเห็บนะครับ เวลาใช้กันก็ควรระวังให้มากๆ ใช้อย่างระวังที่สุด และควรเก็บไว้อย่างดีที่สุด
จากคุณ :
..............................
- [
วันเกิด PANTIP.COM 01:13:27
A:58.8.50.93 X: TicketID:087386
]
|
|
|