ความคิดเห็นที่ 48
ผมช่วยตอบคำถามนี้บ้างนะครับ แต่จะแอดแหล่งอ้างอิงไว้ด้วย อันนี้ถือว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม จะเชื่อหรือไม่แล้วแต่นะครับ 1. วิตามินซี (http://www.anyvitamins.com/vitamin-c-ascorbicacid-info.htm) Vitamin C is required in the synthesis of collagen in connective tissue, neurotransmitters, steroid hormones, carnitine, conversion of cholesterol to bile acids and enhances iron bioavailability. Ascorbic acid is a great antioxidant and helps protect the body against pollutants.
Because vitamin C is a biological reducing agent, it is also linked to prevention of degenerative diseases - such as cataracts, certain cancers and cardiovascular diseases.
Ascorbic acid also promotes healthy cell development, proper calcium absorption, normal tissue growth and repair - such as healing of wounds and burns. It assists in the prevention of blood clotting and bruising, and strengthening the walls of the capillaries.
Vitamin C is needed for healthy gums, to help protect against infection, and assisting with clearing up infections and is thought to enhance the immune system and help reduce cholesterol levels, high blood pressure and preventing arteriosclerosis.
2. สารหนู (http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page=data_detail&id_L1=27&id_L2=15589&id_L3=597) สารหนู (arsenic) เป็นธาตุที่มีน้ำหนักโมเลกุล 74.9216 เลขอะตอมเท่ากับ 33 มีวาเลนซ์เท่ากับ 5, 3, 0 และ -3 สารหนูปกติจะมีสีเหลืองหรือสีเทา สารหนูเป็นสารที่รู้จักกันมานานกว่า 3,000 ปี โดยมีการใช้ในทางการแพทย์และใช้เป็นยาพิษเช่นกัน ผู้ที่ค้นพบคนแรกคือ Albertus Magnus (1206-1280 BC) รูปแบบของสารหนูจะพบร่วมกันแร่ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสีซัลไฟด์ โดยพบอยู่ในรูปของ sulfide realgar หรือ orpiment โดยจะพบมากที่สุดในรูปของ arsenopyrite (FeAsS) ออกไซด์ของสารหนูในรูป arsenic trioxide ส่วนใหญ่จะใช้ในทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าเชื้อรา เป็นต้น สารหนูในรูปของธาตุจะใช้เป็นส่วนผสมของโลหะอัลลอยด์ เช่น ผสมกับตะกั่วในแบตเตอรี หรือในรูปของแกลเลียมอาร์เซไนด์ (gallium arsenide) สำหรับเคลือบสีในนาฬิกาดิจิตอล หรือใช้เป็น light-emitting diode สำหรับเครื่องมือต่างๆ ธาตุสารที่พบทั่วไปคือเป็นองค์ประกอบของแร่อาร์ซีโนไพไรท์ มีปริมาณตั้งแต่ร้อยละ 0.02 ถึง 0.5 ปริมาณของสารหนูในหินภูเขาไฟอาจพบได้เป็นปริมาณมากถึง 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือในอัตราเฉลี่ย 2-3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในหินตะกอน เช่น หินภูเขาไฟ หินปูน หินทราย พบสารหนูจำนวนน้อยมาก และในแหล่งแร่มังกานีส อาจพบมากถึง 15,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สารประกอบซัลไฟด์ของสารหนูสามารถถูกเติมออกซิเจนได้ง่าย เมื่อสัมผัสกับอากาศจะกลายเป็นเกลืออนินทรีย์ของสารหนู (inorganic arsenic salt) ซึ่งมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี นอกจากจะพบในแร่แล้ว สารหนูยังถูกพบในสิ่งอื่นๆ เช่น ในน้ำตามธรรมชาติมีอยู่ในอัตราความเข้มข้น 1-2 ไมโครกรัมต่อลิตร จนถึงมากกว่า 5,000 ไมโครกรัมต่อลิตร สารหนูความเข้มข้นสูงจะพบได้มากในน้ำใต้ดิน ในบางพื้นที่ บ่อน้ำใต้ดินไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากความเป็นพิษของสารหนูสูงมาก เช่น ในประเทศอาร์เจนตินา (1-7500 ppm) ชิลี (100-1000 ppm) เมกซิโก (8-620 ppm) จีน (40-750 ppm) ฮังการี (2-176 ppm) อินเดีย (10-3200 ppm) บังคลาเทศ (0.5-3500 ppm) และเวียดนาม (1-3050 ppm) (Smedley, 2002) สำหรับในประเทศไทย ได้มีรายงานการพบสารหนูในบ่อน้ำใช้บริโภค บริเวณอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2530 และอำเภอบันนังสตาร์ จังหวัดยะลา สารหนูที่พบเป็นสารหนูที่ปนเปื้อนในดิน มีปริมาณตั้งแต่ 21-16,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Visoottiviseth, 2002) สารหนูที่พบในอำเภอร่อนพิบูลย์ส่วนใหญ ่อยู่ร่วมกับสายแร่ดีบุก โดยสารหนูจะอยู่ในรูปของ arsenopyrite (FeAsS) หรือในรูปอื่นซึ่งมีซัลไฟด์เป็นองค์ประกอบ การแพร่กระจายของสารหนูในพื้นที่ เกิดจากกิจกรรมการทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้สารหนูในรูปอาร์ซีโนไพไรต์ ที่ปนอยู่กับสายแร่ถูกขุดออกมาด้วย ในกระบวนการแยกแร่ออก อาร์ซีโนไพไรต์ถูกแยกออกมากับหางแร่และทิ้งไว้ ทำให้เกิดการออกซิเดชันกับอากาศ และน้ำทำให้สารหนูที่อยู่ในแร่ แพร่กระจายออกมาสู่แหล่งน้ำ บริเวณที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยง ได้แก่ เหมืองแร่ถ่านหิน ดีบุก ทองคำ ตะกั่วและเงิน ที่ปิดทำเหมือง และไม่ได้มีการจัดการเหมืองแร่ที่ดี ไม่มีการจัดเก็บกากแร่ มีการปล่อยทิ้งไว้ให้สัมผัสกับน้ำ และอากาศ ซึ่งเร่งให้เกิดการสลายตัวของแร่ที่มีสารหนู เป็นองค์ประกอบหรือโลหะต่างๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท ปนเปื้อน และแพร่กระจายไปตามแหล่งน้ำต่างๆ
3. ข้อมูลเกี่ยวกับสารหนูที่พบในกุ้งของไทย (http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/RESEARCH/27T.HTM) การสำรวจปริมาณสารหนูในกุ้งจากแหล่งเพาะเลี้ยงบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย 3 บริเวณ ได้แก่ อ่าวไทย ตอนบน แถบจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด อ่าวไทยตอนใน แถบจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอ่าวไทยตอนล่าง แถบจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระหว่างเดือน ตุลาคม 2535 ถึง กรกฎาคม 2536 จำแนกเป็นกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) จำนวน 163 ตัวอย่าง และกุ้งน้ำจืด (Penaeus indicus) จำนวน 37 ตัวอย่าง วิเคราะห์ปริมาณสารหนูด้วยวิธี atomic absorption spectrophotometry โดยเทคนิค hydride generation พบสารหนูในกุ้งทั้งสอง ชนิดจากแหล่งเพาะเลี้ยง 3 บริเวณ มีปริมาณเฉลี่ย 0.52 ± 0.44, 0.23 ± 0.20, 0.49 ± 0.39 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และ 0.22 ± 0.17, 0.25 ± 0.16, 0.58 ± 0.57 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมตามลำดับจากการสำรวจนี้พบว่าปริมาณสารหนูในกุ้งกุลาดำ และกุ้งน้ำจืดที่เพาะเลี้ยง บริเวณชายฝั่งอ่าวไทยทั้ง 3 บริเวณ ในระยะดังกล่าว มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยตามประกาศของ กระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนซึ่งกำหนด ปริมาณสารหนู 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
4. ข้อสรุปความคิดเห็นผมเมื่ออ่านจากเว็บข้างต้นและหลายๆเว็บ แต่ผมเอามาเพียงบางเว็บให้คุณได้อ่านกัน 1) จากข่าวชาวไต้หวันที่ศาสตราจารย์เค้าสรุปว่า มีการเปลี่ยนสารหนูจาก AS2O5 เป็น AS2O3 นั่นคือมีการเปลี่ยนเลขออกซิเดชันจาก +5 เป็น +3 แสดงว่าต้องมีสาร reducing agent ในการเปลี่ยนเลขออกซิเดชันดังกล่าว 2) จากข้อมูลที่ผมให้ดู วิตามินซีเป็น strong reducing agent 3) จากข้อมูลสารหนูข้างต้นสารหนูมาจากธาตุที่อยู่ในดินซึ่งอาจชะล้างมาโดยน้ำฝนและลงแหล่งน้ำได้ และกุ้งก็อยู่ในทะเลในแม่น้ำ เพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้นะที่สารหนูจะอยู่ในกุ้งนะครับ 4) จากข้อมูลในข้อ 1)และ 2) ผมคิดว่าเป็นไปได้ก่อนนะครับ แต่เรามาดูปริมาณสารหนูที่พบในกุ้งของไทย มีน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับที่กำหนดในประกาศสาธารณสุข คือผมตีคร่าวๆ อยู่ที่ 0.40 mg/kg หมายความว่าถ้าเรารับประมานกุ้ง 1 kg น่าจะได้สารหนูประมาณ 0.40 mg กว่าจะได้ตามที่ประกาศสาธารณสุขไทยเรากำหนดที่ 2 mg/kg (ผมจะถือปริมาณนี้เป็นปริมาณอันตรายที่ห้ามเกินในอาหารนะครับ) ก็ต้องกินกุ้งเท่าไหร่ลองคิดดูเล่นๆ คือต้องกินคนเดียวตั้ง 5 กิโลกรัม คนบ้าอะไรกินกุ้งตั้ง 5กิโกกรัมคนเดียวท้องคงแตกพอดี ดังนั้นผมคิดว่าข่าวนี้เป็นไปได้ในบางส่วนคือมีการเปลี่ยนองค์ประกอบของสารหนูได้แต่อีกส่วนไม่น่าเป้นไปได้เลยคือกินกุ้งมากมายเกินไป
จากคุณ :
ที
- [
16 ต.ค. 50 18:34:18
A:58.8.62.116 X:
]
|
|
|