ชาวหว้าก้อมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับกับบทความนี้..?
ถ้าลองเข้าไปใน "กูเกิล" และใส่รายชื่อมหาวิทยาลัยไทยลงไป 2 มหาวิทยาลัยที่มีการทำวิจัยและตีพิมพ์สูงสุด คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่รวมๆ แล้วมีการค้นพบในระดับใกล้เคียงกันคือราว 700 ชิ้น รวมๆ กันแล้ว 2 มหาวิทยาลัยประมาณ 1,400 ชิ้น ซึ่งเท่ากับเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของงานวิจัยของสถาบันการศึกษาทั้งหมดทำรวมกันประมาณ 3,000 ชิ้น
แต่ถ้าเทียบกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลกแล้วถือว่ายังห่างชั้น เพราะว่ากันว่าเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งปีหนึ่งๆ แต่ละมหาวิทยาลัยผลิตงานวิจัยต่อแห่งต่อปีประมาณ 3,000 ชิ้นเท่ากับที่มหาวิทยาลัยทั้งประเทศไทยผลิตได้ในแต่ละปี
ฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าเพราะเหตุใด มหาวิทยาลัยไทยจึงมักไม่เคยติดอันดับเมื่อมีการจัดอันดับ (ranking) มหาวิทยาลัยระดับโลก ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ถ้าเป็นในเอเชียก็เป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ที่มักจะติดอันดับอยู่เป็นเนืองๆ เพราะตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ในการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยให้น้ำหนักกับงานวิจัย
อย่างการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียงตง ที่มีการจัดอันดับท็อป 500 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั่วโลก เมื่อไม่นานมานี้นั้นมีตัวชี้วัด 5 ประการ ได้แก่ 1.ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล 2.งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใน ISI 3.งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ science และ nature 4.อาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกอ้างอิง (top people) 5.ค่าเฉลี่ยผลงานการตีพิมพ์ต่อคน
คำถามก็คือ ทำไมเขาถึงให้ความสำคัญกับบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ เรื่องนี้ ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ หนึ่งในกรรมการกำกับทิศทางของโครงการการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย อธิบายว่า การที่บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับนั้น สามารถมองได้ว่างานวิจัยเหล่านั้นมีคุณภาพ เพราะเป็นเรื่องยากมากที่จะได้รับการตีพิมพ์ ลองนึกว่าทั่วโลกมีคนที่ต้องการจะตีพิมพ์ทั้งนั้น คนที่ได้รับการตีพิมพ์จึงต้องเป็นงานวิจัยที่ดีเยี่ยม
การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจึงเป็นหลักประกันระดับสูงในเชิงคุณภาพ
จากคุณ :
อากาศยิ้ม
- [
11 ต.ค. 50 20:58:49
]