ความคิดเห็นที่ 19
--- การพิจารณาเห็นความเกิดดับใช้ขณิกสมาธิอย่างที่ท่านปััััจจตังกล่าว เป็นการปฏิบัติที่ควรทำและสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%D2%B8%D4 พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) การค้นหาคำว่า “ สมาธิ ” ผลการค้นหาพบ 13 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 138
ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้ พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได (ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ9)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 1310 มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐11)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 1312 สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา13, อธิจิตตสิกขา14 (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา15, ข้อ ๔ ในพละ ๕16, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗17)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 1318 สมาธิ ๒ คือ ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 1319 สมาธิ ๓ คือ ๑. สุญญตสมาธิ ๒. อนิมิตตสมาธิ ๓. อัปปณิหิตสมาธิ; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. ขณิกสมาธ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาสมาธิ
-----------------------------
--- ในระัดับสมาธิแน่วแน่(ฌาน หรือ อัปปาสมาธิ) ก็มีเป็น ๒ ลักษณะคือสมาธิที่นิ่งสงบอยู่(แบบที่ ๑) กับ สมาธิ(ฌาน)ที่เห็นความเกิดดับ(ทำให้เกิดปัญญาที่เห็นความจริงว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน)(แบบที่ ๒)
-- สมาธิ แบบที่๑ ช่วยให้จิตตั้งมั่น เป็นฐานช่วยเมื่อมาพิจารณาดูุความเกิดดับ ทำให้จิตตั้งมั่นเห็นความเกิดดับแบบที่๒ได้ดีขึ้น
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C5%D1%A1%A2%B3&detail=on
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination) 1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana) 2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์ มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา. ------------------------------
-- ส่วนฤทธิ์อื่่นในวิชชา๓ วิชชา๘ ดูได้ในกระทู้นี้่ครับ
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5925576/Y5925576.html
จากคุณ :
วงกลม
- [
19 ต.ค. 50 10:59:11
]
|
|
|