ความคิดเห็นที่ 10
ในอากาศที่เราใช้หายใจประกอบไปด้วย ก๊าซไนโตรเจน 78 % ก๊าซออกซิเจน 21 % และก๊าซอื่นๆ 1 %
ไนโตรเจนเป็นก๊าซไม่มีสี, ไม่มีกลิ่น, ไม่มีรสชาด แต่มันเป็นส่วนประกอบหลักในชั้นบรรยากาศที่พื้นโลก เราหายใจเอาอากาศเข้าไปในร่างกาย แต่เราไม่ได้ใช้ก๊าซไนโตรเจนในร่างกาย แต่ในกรณีนักดำน้ำ ภายใต้สภาวะแรงกดอากาศสูงก็จะเป็นอันตรายแก่นักดำน้ำที่ดำน้ำลึกนานๆ
ร่างกายของมนุษย์ใช้ส่วนประกอบทางเคมีที่มีก๊าซออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญ ในการสร้างความร้อนและพลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “ Metabolism “
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสียที่ถ่ายเทออกมาจากขบวนการเมตาบอลิซึมของมนุษย
ดังนั้นอากาศที่เราหายใจเข้าไป มีไนโตรเจน ออกซิเจน ก๊าซอื่นๆ
และอากาศที่เราหายใจออกมา ก็จะมีไนโตรเจน(ซึ่งไม่ได้ใช้ไม่หายไปก็กลับคืนออกมาเหมือนเดิม) คาร์บอนไดออกไซด์(ของเสียที่ร่างกายขับออกมา) ออกซิเจน(อีกปริมาณเล็กน้อยที่ใช้ไม่หมด มันเหลือ มันก็กลับออกมากับลมหายใจ) แล้วก็ก๊าซอื่นๆอีกเล็กน้อยแบบเดียวกับไนโตรเจน
กรณีคาร์บอนมอนอกไซด์ CO ถ้าหายใจเข้าไปแล้วมันจะเข้าไปจับกับฮีโมโกบินอย่างถาวร จับแล้วจับเลย เป็นแบบแย่งจับกับออกซิเจน แบบแข่งขัน (ออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์จับแล้วปล่อย) ทำให้ร่างกายเราเกิดภาวะพร่องออกซิเจน มากๆเข้าร่างกายขาดออกซิเจน แล้วก็ตายในที่สุด กรณีนี้ อธิบายพวกที่ชอบเปิดแอร์นอนหลับในรถแล้วตาย หรือแบบฆ่าตัวตายหมู่ของพวกญี่ปุ่นค่ะ
จากคุณ :
RainBow H
- [
7 พ.ย. 50 16:40:53
]
|
|
|