ความคิดเห็นที่ 11
จาก http://www.seub.ksc.net/econews/apr-43/mg-14043-2.htm ฉบับประจำวันที่ 14 เมษายน2543 เปิดงานวิจัย ผลกระทบการปลูกยูคาลิปตัส จากรายงานการวิจัยเรื่อง"ผลกระทบของการปลูกยูคาลิปตัสต่อคุณ สมบัติดินและการผลิตพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"โดย ผศ.ดร.จัก รกฤษณ์ หอมจันทน์ ผศ.ดร.ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และนายเทพฤทธิ ตุลา พิทักษ์ อาจารย ์ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนขององค์การ บริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา(USAID)และสถาบันวิจัยและพัฒนา มข.เมื่อปี 2532 นั้นได้ฉายภาพผลกระทบจากการปลูกยูคาลิปตัสได้ชัด เจน งานศึกษาวิจัยช ิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาหาคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต่อข้อปัญหาที่ว่า การปลูกยูคาลิปตัสที่เป็นไม้ยืนต้นโตเร็วที่มีคุณสมบัติ ที่ดีและมีประโยชน์ใช้สอยหลากหลายนั้น แต่หากได้รับการผลักดันหรือ ส่งเสริมให้ปล ูกอย่างเป็นล่ำเป็นสันอย่างกว้างขวางแล้ว จะมีผลกระทบ ในด้านลบต่อดินที่เป็นทรัพยากรหลักของการทำการเกษตรและระบบ นิเวศอื่นๆ อย่างไรบ้าง การกำหนดแผนเพื่อวิจัยดังกล่าวจึง มุ่งเน้นไปยังผลกระทบของ อินทรีย์วัตถุจาก ยูคาลิปตัสต่อคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีเป็น หลัก นอกจากนั้นยังทำการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นอื่นๆอีกหลายประเด็น คือ ผล กระทบของการปลูกยูคาลิปตัสต่อระดับน้ำใต้ดิน อัตราการให้ อินทรี ย์วัตถุของยูคาลิปตัส ที่ปลูกเป็นสวนป่าอายุ 4 ปี ที่ใช้ระยะปลูก แตกต่างกัน อัตราการย่อยสลายตัวของอินทรีย์ วัตถุจากยูคาลิปตัสต่อ เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพืชไร่และพืชตระกูลถั่วเศรษฐกิจและพืช ตระกูล ถั่วอาหารสัตว์ นอกจากนี้โครงการวิจัยฯยังได้ศึกษาครอบคลุมถึงผลกระทบของ อินทรีย์วัตถุจากยูคาลิปตัสต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชไร่ พืช ตระกูลถั่วเศรษฐกิจและพืชตระกูลถั่วอาหารสัตว์บางชนิดอีกด้ วย ซึ่งผล การวิจัยโดยภาพรวมแล้วสามารถวิจารณ์และ สรุปได้ดังที่ "ผู้จัดการราย วัน" นำมาเสนอ ผลกระทบสวนป่ายูคาฯ ต่อระดับน้ำใต้ดิน ข้อมูลการวิจัยฯบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า การปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส ซึ่ง มีขนาดพืชตั้งแต่ 70-80 ไร่ขึ้นไปมีผลกระทบต่อระดับน้ำใต้ดิน โดยจะ มีผลทำให้ระดับใต้ดินภายในสวนป่าลดต่ำลงกว่านอกสวนป่าเฉลี่ยใน รอบ 36 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 93 ซม. ไม่สอดคล้องกับรายงานของ Dabral(1970) ซึ่งพบว่า ยูคาลิปตัสใช้น้ำเพียง 1.41 มม.เท่านั้น ในการ สร้างมวลชีวภาพ 1 กรัม เมื่อเทียบกับไม้สนเขาไม้พอพูลัสและ ไม้พยุง ซึ่งใช้น้ำมากถึง 8.87,3.04 และ 2.59 ตามลำดับ ทั้งรายงานของเริงชัย(2 530)ระบุว่า Eucatyptus camaldulensis ใช้น้ำอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าไม้หว้า ไม้จามรี กระถิ่นณรงค์ ประดู่แขกและ ขี้มอด แต่สอดคล้องกับรายงาน ของสะอาด(2531)ซึ่งพบว่าอัตราการ ใช้น้ำของ ยูคาลิปตัสตลอดทั้งปีเ ท่ากับ 1,200 มม./ปี เทียบ กับไม้สน ซึ่งมีอัตราการใช้น้ำเพียง 760 มม./ปีเท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าวเป็นไปได้ว่า ยูคาลิปตัส ถ้าหากทำการปลูก เป็นสวนป่าครอบคลุมพื้นที่ เป็นบริเวณกว้าง การใช้นำของพ ืชชนิดนี้ จะมีผลทำให้ระดับน้ำใต้ดินภายใต้สวนป่าลดลงไปอยู่ในระดับที่ลึกมาก ขึ้น กว่าการใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชไร่ล้มลุก ซึ่งมีรากตื้นและการใช้น้ำเกิด ขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูกาลปลูกพืช นอกจากนี้การปล ูกยูคาลิปตัสเป็นเวลานานมากขึ้น ต้นไม้มีขนาด โตและแตกกิ่งก้านสาขามากขึ้น ลักษณะของการใช้น้ำของพืชชนิด นี้ อาจมีผลทำให้ระดับน้ำใต้ดินบริเวณใกล้เคียงนอกสวนป่ามีระดับน้ำใต้ ดินลดต่ำ หรือ อยู่ลึกลงไปกว่ าปกติอีกด้วย เป็นผลเสียต่อการใช้พื้นที่ ใกล้เคียงทำการเกษตรประเภทอื่น ผลกระทบของยูคาฯ ต่อคุณสมบัติของดิน ข้อมูลการวิจัยในอดีต ส่วนใหญ่เน้นไปในด้านการศึกษาถึงคุณ สมบัติดินและผลกระทบของคุณสมบัติ ดินต่อการเจริญเติบโตของยูคา ลิปตัส pH ของดินและมีส่วนน้อยที่ ศึกษาผลกระทบของการปลูกยูคา ลิปตัสต่อคุณสมบัติดิน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า คุณสมบัติของดินรวมทั้งหมด 13 คุณสมบ ัติ ประกอบด้วย เนื้อดิน, total acidity, pH, ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ,ค่าความนำไฟฟ้าของดิน, ปริมาณธาตุ, Na, exchangeable AL และปริมาณธาตุอาหารพืชอีก 5 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซี ยม และแมกเนเซี ยม ในดินที่ 2 ระดับ ความลึก คือ 0-15 ซม.และ 15-30 ซม. ใน สวนป่า 3 รุ่น คือรุ่นอายุไม่เกิน 3 ปี,3-5 ปี และมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งสุ่มเก็บจาก 15 จุด (รุ่นละ 5 จุด) จากสวนป่าที่ปลูกอยู ่ในพื้นที่ ต่างๆทั่วภาคอีสาน ไม่แตกต่างจากดินนอกสวนป่า อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ปริมาณของอินทรีย์วัตถุและ C.E.C. ดินที่เก็บจากในสวนป่ามี แนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นค่าของpH ของดินในสวน ป่ายูคาลิปตั สรุ่น ที่มีอายุมากกว่า 5 ปี มีแนวโน้มลดลง ส่วนปริมาณธาตุ P K และค่า ความนำไฟฟ้าในดินภายในสวนป่ายังแสดงแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น อัตราการให้อินทรีย์วัตถุหรืออัตราร่วงของใบที่เกิดขึ้นในสวนป่ายู คาล ิปตัสแปรปรวน ไปตามอายุและระยะปลูกที่ใช้ในแต่ละสวนป่า นอก จากนี้ การร่วงของใบยูคาลิปตัสยังเปลี่ยน แปลงไปตามฤดูกาลในแต่ละ ช่วงเดือนของแต่ละปีอีกด้วย โดยอัตราร่วงของใบจะเกิดขึ้นน้อยที่สุดใน ช่วงต้นฤดู ฝน หรือระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงกรกฎาคมของแต่ละปี จากนั้นอัตราการร่วงของใบยูคาฯจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยนี้น่าจะมีผลกระทบต่ออัตราการร่วงของใบยูคาลิปตัส ได้แก่ กระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชและความเ ปลี่ยนแปลง ความชื้นของ ดิน โดยประการหลังนี้ควบคุมสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้น ในแต่ ละช่วงเดือนของปี และปริมาณของอินทรีย์วัตถุที่วัดได้ต่อปีต่ำกว่าที่ ปรากฏในรายงานของ Baker(1983)ซึ่งรายงานอัต ราร่วงต่อปีของใบยู คาลิปตัสไว้เท่ากับ 686 กรัม/ตร.ม./ปี ข้อมูลของอัตราร่วงของใบสะสมในสวน ป่ายูคาลิปตัสอายุ 4 ปี บ่งว่ามีอัตราปริมาณใบร่วงสะสมเท่ากับ 679.80 กรัม/ตร.ม./ปี (1.08 ตัน/ไร่หรือ 6. 79 ตัน/เฮกตาร์)ปริมาณอินทรีย์ วัตถุที่สะสมนี้เท่ากับ ปริมาณอินทรีย์วัตถุที่เกิดจากใบร่วงในปีที่ 4 ในขณะที่อินทรีย์วัตถุใน รูปฟางข้าว ใบมะม่วงและใบกระถิ่นณรงค์ ยังมีการย่อยสลายเกิดขึ้นจน เหลือเพียง 15.75,11.25และ 7.75 %ของน้ำหนักเริ่มต้น ในการศึกษาตลอดช่วงเวลา 7 เดือน แสดง ว่าใบยูคาลิปตัสมี อัตราการสลายตัวที่ช้ามากเมื่อเทียบกับอินทรีย์วัตถุชนิดอื่น แม้แต่ฟาง ข้าว ใบมะม่วงและใบกระถิ่นณรง ค์ ข้อมูล จากผลกระทบของอินทรีย์ วัตถุจากยูคาลิปตัส ต่อเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด ปรากฏว่าอินทรีย์ วัตถุจากใบยูคาลิปตัสมีผลทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพืชลดลง ยกเว้น ปอแก้วและถั่วพุ่ม เปอร์เซ็นต ์ความงอกของเมล็ดพันธ์แม้จะลด ลง เมื่อเพิ่มอัตราการใส่ใบยูคาลิปตัส ในงานวิจัยฯระบุอีกว่ายูคาลิปตัสเป็นพืช ที่ใบสด ประกอบด้วย น้ำมันระเหย หรือ Volatile Substances จากการสังเกตโดยทั่วไปแล้ว จะพบ ว่า ยูคาลิปตัสเป็นพืชที่ไม่มีหนอนและแมลงรบกวนใบแต่อย่างใด และไม่อาจใช้ ผลเป็นอาหารได้ ดังนั้นในสวนป่ายูคาลิปตัส ที่ปลูกปก คลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างนับเป็นร้อยเป็นพันไร่ขึ้นไป สภาพป่าที่ ปราศจากหน อนแมลงย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของนกและสัตว์ชนิด ต่างๆที่ต้องอาศัยหนองแมลงเป็นอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อดุลย์ทาง ชีวภาพ (Biological equilibrium) ดังนั้นข้อมูลจากการวิจัยโครงการนี้ ทำให้สามารถสรุป เกี่ยวกับ ผลกระทบของยูคาลิปตัสเป็นข้อๆได้ดังต่อไปนี้ 1. การปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส หากปลูก ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ 80 ไร่ขึ้นไป น่าจะมีผลทำให้ระดับน้ำใต้ดินภายใต้สวนป่าลดลงและอาจ มีผลทำให้ระดับน้ ำใต้ดินของพื้นที่ ที่อยู่ใกล้เคียงลดลงและมีผลทำ ให้ระดับน้ำใน บ่อน้ำบริโภค อุปโภคของชาวบ้านในหมู่บ้านที่อยู่อาศัย ใกล้ลึกลงกว่าสวนป่าทั่วไปข้างเคียง 2. การปลูกสวนป่ายูคาลิปตัส แม้จะมีผลกระท บต่อคุณสมบัติทาง เคมีของดิน โดยเฉพาะปริมาณอินทรีย์วัตถุ ค่า C.E.C (cation exchange capacity)และปริมาณ โปแตสเซียม ฟอสเฟต ค่าความนำไฟฟ้าของ ดิน (EC) ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูง ขึ้นในดินชั้นบน ภายในสวน ป่าเมื่อเทียบกับดินนอกสวนป่าที่เก็บมาจาก พื้นที่ใกล้เคียงกันเฉพาะอย่างยิ่งในสวนป่ารุ่นที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 3. อัตราการให้อินทรีย์วัตถุหรืออัตราการร่วงของใบในสวนป่ายูคา ลิปตัสขึ้นอยู่กับ ระยะปลูก แต่ละช่วงเดือนของปี โดยใบ ยูคา ลิปตัสจะร่วงน้อยสุดระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนและมากที่สุดใน ระหว่างเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม 4. อินทรีย์วัตถุเฉพาะอย่างยิ่งใบ ยูคาลิปตัส มี อัตรา การย่อยสลายตัวช้ากว่า ฟางข้าว ใบมะม่วง และใบกระถิ่นณรงค์ โดยจะมีการสะสมตกค้างอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของ ปริมาณเริ่มต้นในช่วง เวลา 7 เดือนที่ทำการศึกษาจากเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 5.การใส่อิน ทรีย์วัตถุจากยูคาลิปตัสมีผล กระทบในทางลบต่อ เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตและผลผลิตพืชหลายชนิดที่ ทำการศึกษา เฉพาะอย่างยิ่ง หากดินได้ รับอินทรีย์วัตถุในระดับสูงตั้ง แต่ 50 กรัม/ดิน 1 กก .ขึ้นไป ซึ่งปริมาณดังกล่าวเป็นปริมาณอินทรีย์ วัตถุเฉลี่ยใกล้เคียงกับปริมาณอินทรีย์ วัตถุที่สะสมอยู่เหนือดินในสวน ป่าอายุ 4 ปี หากพิจารณาจากความลึก 1 ซม.ของดิน ชั้นบนสุดที่สัมผัสอยู่กับ อินทรีย ์วัตถุ ดังนั้นการไถกลบเศษใบยูคาลิปตัส จึงเป็นหนทางแก้ไข ทางหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณอินทรีย์วัตถุที่สะสม อยู่ภายในสวนป่าและ ลดระดับผลกระทบของอินทรีย์วัตถุจากยูคาลิปตัสต่อพืชที่จะนำเข้ามา ปลูกในพื้น ที่ภายหลังที่รื้อสวนป่าออกแล้ว
จากคุณ :
Pongkm (Pongkm)
- [
26 พ.ย. 50 15:21:21
]
|
|
|