ความคิดเห็นที่ 22
มะเขือเทศเป็นพืชเขตร้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum วงศ์ Solanaceae ชื่ออื่น มะเขือส้ม (เหนือ) ตรอบ (เขมร-สุรินทร์) ตีรอบ (เขมร) น้ำเนอ (ละว้า-เชียงใหม่) ประเภทของมะเขือเทศ มะเขือเทศราชินี Queen Tomato, มะเขือเทศเนื้อ Beef Steak (or Red) Tomato , มะเขือเทศท้อ Big Tomato , มะเขือเทศเชอรี่หรือมะเขือเทศสีดา
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นและใบมีขนอ่อน ทำให้ระคายผิวเมื่อสัมผัส ถ้านำมารับประทานสดๆ จะทำให้ร่างกายสดชื่น กระตุ้นน้ำย่อย เจริญอาหาร เพราะมะเขือเทศมีวิตามินหลายชนิด เช่น คาโรทีน วิตามินบี 1 นิโคตินิคแอซิด วิตามินบี 2 วิตามินซี กรดโฟลิก ไบโอติน โบรอน และวิตามินเค ผลมะเขือเทศที่ถูกแสงแดดจัดจะมีวิตามินซีสูงกว่าผลที่อยู่ในที่ร่ม ในผลสุกจะมีน้ำตาลกลูโคส และฟลุคโตสในปริมาณน้อย สารจำพวกแป้งจะพบแต่ในขณะที่ผลยังเขียวอยู่ เมื่อสุกก็จะหายไป นอกจากนี้ยังมีเส้นใยอาหารพวกเซลลูโลส เพตติน ที่มีประโยชน์ต่อการขับถ่ายอยู่ด้วย มะเขือเทศทั้งสุกและดิบจะมีกรดอะมิโนหลายชนิด และมีกรดอินทรีย์คือ ซิตริกแอซิด และกรดมาลิกสูง ทำให้มะเขือเทศมีรสเปรี้ยวและเฝื่อนเล็กน้อย ส่วนสารคาโรทีนซึ่งร่างกายนำไปเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ใช้สำหรับบำรุงผิว สายตา ช่วยรักษาโรคตาที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ดีตอนกลางคืน แบบโรคตาฟาง ช่วยรักษาผมล่วง กระดูกและฟัน ในผลสุกจะมีมากกว่าผลดิบ และผลที่สุกกับต้น จะมีปริมาณคาโรทีนสูงกว่าที่เก็บผลดิบแล้วปล่อยให้สุก
ผู้หญิงที่เริ่มมีอายุสูงวัยขึ้น จะมีไนโครเจนในโลหิตต่ำลง ทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งมดลูก ดังนั้นจึงควรรับประทานมะเขือเทศให้มากๆๆเพราะอุดมไปด้วยไนโคนเจนที่มีคุณสมบัติ ด้านอนมูลอิสระซึ่จะไม่ถูกทำลายแม้ผ่านการ บรรจุลงในกระป๋องหรือปรุงอาหารใดๆ
สารอาหารในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจ คือ สารไลโคฟีน (Lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่มีสรรถพคุณต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และช่วยในการป้องกันการเสื่อสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคฟีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่น ๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มดลูกและปอด และยังพบอีกว่าสารไลโคฟีนนั้นสามารถช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึง 21% อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมใน ตำรับยาที่ใช้ป้องกันอันตรายอันเกิดจากการผลิตอนุมูลอิสระที่ผิดปกติ สารไลโคฟีนนี้จะพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง
การรับประทานมะเขือเทศเพียงวันละ 1-2 ลูกจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เป็นต้นว่า ช่วยต้านโรคความดันโลหิตสูง บำรุงดวงตา และสายตา บำบัดอาการปัสสาวะขัด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว เยียวยาโรคเลือดออกตามไรฟัน ต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ คุ้มกันไม่ให้เป็นหวัดง่าย แก้ท้องผูก และบำรุงผิวพรรณ และหากใช้มะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ หรือน้ำคั้นจากผลสดทาหน้า ช่วยทำให้ผิวหน้าตึง มีน้ำมีนวลยิ่งขึ้น
การรับประทานมะเขือเทศดิบ จะมีผลร้ายแรงเพราะจะมีสารที่ออกฤทธิ์รุนแรง จัดเป็นสารพิษ Steroidal alkaloid ในมะเขือเทศ คือ a-tomatine ซึ่งได้จากใบและส่วนเหนือดิน ในผลสีเขียวจะมี alkaloid 0.03% ในผลสุกไม่พบ alkaloid คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของ Steroidal alkaloid คือ ทำปฏิกิริยากับสเตียรอลที่เซลล์ผิวเป็นผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ผิวหนังและเนื้อบุผิวระคายเคืองอย่างแรง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงมีคุณสมบัติยับยั้งเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรส กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและต่อมาจะทำให้เป็นอัมพาต หากรับประทานในขนาดที่จะทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง
เมล็ดของมะเขือเทศยังสามารถนำมาคั้นให้เป็นน้ำมัน ใช้ทำน้ำสลัด ส่วนประกอบของเนยเทียม(มาการีน) ทำสบู่ ทำสี กากของเมล็ดหลังจากคั้นออกมาแล้วยังสามารถนำไปทำปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ได้อีก
การรับประทานมะเขือเทศสามารถทานได้ทั้งทำให้สุกและผลสด เช่น สลัด ยำ ส้มตำ เครื่องเคียงในข้างผัด ทางภาคอีสานใช้เป็นเครื่องจิ้ม เผาใส่น้ำปลาร้าเป็นแจ่ว ภาคเหนือใช้ทำน้ำพริกอ่อง แกงส้มขนุนดิบ ขนมจีนน้ำเงี้ยว แต่โดยทั่วไปนิยมนำไปผัด เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน ข้างผัด ต้มซุปมะเขือเทศ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสัตว์ ผัดมักกะโรนี พิซซา บาบีคิว
ผลการวิจัยในปัจจุบันพบว่า การกินมะเขือเทศที่โดนความร้อนเพียงเล็กน้อย จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าการรับประทานผลสด
ผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Agriculture and Food Chemistry ฉบับเมษายนรายงานว่า มะเขือเทศที่ผ่านความร้อน หรือผ่านการปรุงสุก แล้วปริมาณของ Lycopene และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ จะมีในระดับที่สูงกว่ามะเขือเทศสด
Dr. Rui Hai Liu แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ได้ทำการศึกษาปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในมะเขือเทศ ที่ได้รับความร้อนมากกว่า 190 (F เป็นเวลา 2, 15 และ 30 นาที พบว่าระดับของสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งหมดเพิ่มขึ้นสูงถึง 28% หลังให้ความร้อน 2 นาที และเพิ่มเป็น 62% หลังให้ความร้อนครึ่งชั่วโมง ส่วนระดับของ Lycopene นั้นเพิ่มขึ้น 6%, 17% และ 35% หลังให้ความร้อนเป็นเวลา 2, 15 และ 30 นาทีตามลำดับ) โดย Dr. Rui Hai Liu รายงานว่าการปรุงอาหารจะทำ Lycopene ในมะเขือเทศมี Bioavailable มากขึ้น นั่นถือสามารถที่จะดูดซึมเข้าไปและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของมะเขือเทศที่ถูกปรุงให้สุกแล้วคือจะสูญเสียวิตามินซีไป โดยพบว่าภายหลังการให้ความร้อน 2 นาที ระดับวิตามินซีลดลง 10% และลดลงมากเกือบ 30% เมื่อให้ความร้อนนาน 30 นาที
นอกจากนี้ต้องใช้เทคโนโลยีระบบโรงเรือนเขตร้อน โดยปลูกในระบบวัสดุปลูกหรือSoilless substarte(Cocopeat+Vermiculite+Foam) โดยใช้ภาชนะปลูกชนิดพิเศษของเนต้าฟิมและให้น้ำด้วยท่อน้ำหยด"ยูนิแรม(Uniram)"ซึ่งเป็นระบบน้ำหยดปรับชดเชยแรงดัน มีระบบการป้องกันการกาลักน้ำ(Anti-siphon) และมีระบบป้องกันน้ำไหลทิ้ง(Anti-drain)เมื่อทำการหยุดการให้น้ำหลังปิดปั้มแล้ว
ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน บี 1 บี 2 วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เอ และวิตามิน ซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้า - แคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น ลักษณะทั่วๆ ไป 1. ผลมีรสเปรี้ยว ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระต้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ โดยรับประทานผลสด ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก 2. ช่วยเป็นยารักษาโรคผิวหนังที่โดนแดดเผาโดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น 3. ช่วยแก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน 4. ช่วยรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
มะเขือเทศช่วยแต่งรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว และนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ มากมาย เช่น สลัด ยำต่าง ๆ รสเปรี้ยวหวาน ข้าวผัด ส้มตำ ซุป ต้มยำ ซอสมะเขือเทศ ทำเป็นเครื่องดื่ม คือ น้ำมะเขือเทศ หรืออาจจะรับประทานสด นอกจากนี้ยังใช้แต่งอาหารให้มีสีแดง เช่น ซอสมะเขือเทศ
ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง 1. น้ำจากผลมะเขือเทศสุกมีสารไลโคเปอร์ซิซิน (Lycopersicin) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย 2. ใบมีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยชงกับน้ำร้อนใช้กำจัดหนอนและแมลง ที่มากินผักได้
จากคุณ :
nisas
- [
8 ธ.ค. 50 18:07:44
]
|
|
|