Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    นักวิชาการชี้แมลงวาปแท้จริงคือมนุษย์ต่างดาว

    ได้จาก Fwm  ไหงก้อปไม่ได้ไม่รู้ เลยต้องมานั่งพิมพ์เองลำบากแท้ - -*

    สัตว์โลกหกขาที่น่าพิศวง ซึ่งปรากฎร่องรอยบนพิภพนี้นับแต่ยุคไดโนเสาร์ เหตุใดมันจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถก้าวข้ามผ่านกาลเวลาเหลื้อทิ้งลูกหลานสืบพันธุ์มาได้จนปัจจุบัน ในที่ปริศนานี้ก็ได้ถูกไขลง เหตุเพราะมันมิใช่สิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกนี้นี่เอง

    นักวิชาการกล่าวว่า ได้มีการทำวิจัยมานานแล้ว และมีเหตุผลหลายประการซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่า แท้จริงแล้วแมลงสาปเป็นสิ่งมีชีวิตจากอวกาศ

    เช่น

    สามารถอดอาหารได้เป็นเวลานานมากๆ โดยยังสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยความรวดเร็วในระดับปกติ

    มีพลังชีวิตในระดับสูงและความทนทานต่อการเจ็บปวดต่างๆได้ดี ซึ่งจากการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า แม้จะถูกตัดหัว มันก็ยังสามารถมีชีวิตต่อไปได้อีก 7วัน ซึ่งพลังชีวิตระดับนี้นั้น มีไว้ก็เพื่อให้สามารถรับแรงกดดันในชั้นบรรยากาศนอกดาวเคราะห์นั่นเอง

    และปริศนาสุดท้าย ว่าเหตุใด แม้จะมีปีก แต่เจ้าแมลง6ขาชนิดนี้กลับบินได้ในระดับที่เรียกได้ว่าไม่สูงนักนั้น

    เหตุผลก็เพราะว่า ในขณะมีชีวิตในอวกาศนั้น จะอยู่ในสภาพไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วง ทำให้มันสามารถบินได้อย่างอิสระและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก ซึ่งทำให้มันสามารถกักเก็บพลังงานในการท่องอวกาศไปได้เป็นอย่างมาก เหตุนี้ เมื่อเข้ามาอยู่ภายใต้ขแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ มันจึงทำได้เพียงต่อต้านพลัง G (gravity) ได้ในระดับหนึ่งเพียงเท่านั้น

    อนึ่งแม้จะสอบยันลงความกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ระดับสูงแล้วว่าการวิจัยต่างๆชี้ผลไปในทิศทางเดียวกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงทำการทดลองเกี่ยวกับเจ้าแมลงน่าพิศวงตัวนี้ต่อไปอีกเพื่อไขปริศนาความลับต่างๆของมันออกมาให้ได้มากที่สุด

    ยกตัวอย่างเช่น

    คณะวิจัยผู้ทรงภูมิคณะหนึ่ง ได้อยากทราบว่า แมลงสาปใช้อวัยวะส่วนใดในการฟังเสียง

    พวกเขาจึงได้เลือกทำการทดลอง โดยแบ่งออกเป็น4ตัวอย่างที่น่าสนใจและคาดว่าน่าใช่มากที่สุด

    ตัวอย่างแรก พวกเขาทำการเด็ดหนวดของมันออก

    ตัวอย่างที่สอง พวกเขาเด็ดปีกมันออก

    ตัวอย่างที่3 เขาผ่าหัวของแมลงสาปตัวนั้นออกมาเลย

    และตัวอย่างสุดท้ายพวกจัดการแยกขาออกจาตัว

    โดยการทดลองก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอย่างใดมากมายนัก ซึ่งก็คือหลังจากเตรียมตัวอย่างเรียบร้อยแล้วก็นำไปบรรจุไว้ในกล่องโลหะ4เหลี่ยมซึ่งกักกั้นเสียงและแสงได้เป็นอย่างดี

    จากนั้นพวกเขาก็จะเปิดกล่องของตัวอย่าง และตะโกนใส่กล่องทีละกล่องเพื่อดูว่า แมลงสาปที่ขาดส่วนใดไป จะไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงที่ดังขึ้น

    พวกเขาเปิดกล่องใบที่1ขึ้น พร้อมทั้งส่งเสียงร้องว่า "Go go go!!"

    ตัวอย่างที่หนึ่งตกใจและออกวิ่งทันที

    หนวดจึงมิใช่อุปกรณ์ในการรับเสียงของแมลงสาป

    กล่องที่บรรจุตัวอย่างที่2จึงถูกเปิดขึ้น

    สิ้นเสียง "Go go go!!" ตัวอย่างที่2ก็ออกวิ่งอย่างว่องไว

    ปีกจึงมิใช่อุปกรณ์รับเสียงของแมลงสาปเช่นกัน

    หมดตัวอย่างไปครึ่งหนึ่ง คณะวิจัยเริ่มอ้อนวอนต่อพระเจ้า ขอให้การทดลองของพวกเขาประสพผลสำเร็จ

    แต่ตัวอย่างที่สามยังคงออกวิ่งโดยไม่แสดงความสงสารต่อกลุ่มนักวิทยาศาสตร์แต่อย่างใดภายหลังได้รับเสียงตะโกน

    คณะวิจัยเริ่มพากันหมดหวัง แต่ยังเหลือตัวอย่างสุดท้าย พวกเขาจึงได้แต่ฝากความหวังไว้และทำการทดลองต่อไป

    แต่ปรากฎว่า มันได้ผล!! ไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างสุดท้ายไม่ออกวิ่ง แม้จะได้รับการตะโกนใส่ซ้ำๆ อยู่ถึง5รอบ

    เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างพากันโห่ร้องดีใจที่ผลการทดลองประสพผลสำเร็จในตัวอย่างสุดท้าย หรือก็คือ แมลงสาปตัวที่ถูกแยก "ขา" ออกจากตัวของมัน

    และในไม่กี่วันต่อมาพวกเค้าก็แถลงผลการวิจัยต่อสาธารณชนว่า "ขา" คือส่วนที่แมลงสาปใช้ในการรับฟังเสียงนั่นเอง

    นี่เป็นเพียงหนึ่งในงานวิจัยหลายๆชิ้นของเหล่านักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเกี่ยวกับแมลงสาปซึ่งเราได้ติดตามมาบอกกล่าวให้ท่านได้ทราบ

    ต่อไป หากเราได้ข่าวคืบหน้าเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นใด เราจะติดตามเพื่อนำมาบอกกล่าวกับท่านต่อไปครับ

    ขอบคุณที่สละเวลาอันมีค่ามารับฟังผลงานวิจัยเหล่านี้

    แล้วพบกันใหม่เมื่อการวิจัยอันยิ่งใหญ่เสร็จสิ้นครับ

     
     

    จากคุณ : อาจจะแก่ - [ วันพ่อแห่งชาติ 00:16:27 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom