 |
เสื้อเกราะพระเจ้าตาก ทำจากฟิล์มเอกซเรย์เก่า : และแล้ว ตำรวจไทยก็ทำได้
ถ้าเป็นแฟนพันธ์แท้หว้ากอ
ก็จะเคยเห็น กระทู้ทดลองของหมอเจนะครับ >>> และนี่คือผลิตผลและการค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ไทยครับ
เนื้อหาข่าว: เสื้อเกราะพระเจ้าตาก ทำจากฟิล์มเอกซเรย์เก่า
แม้จะมีจุดเริ่มต้นมาจากความฝัน แต่นายตำรวจไทยนักวิจัยก็สามารถทำให้เป็นความจริง กลายมาเป็นเสื้อเกราะพระเจ้าตากที่กลุ่มนักวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี จังหวัดตากภาคภูมิใจ หากยังจำกันได้ ก่อนหน้านี้ก็นำอะไหล่ของรถมอเตอร์ไซค์มาประกอบเป็นหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดลงไปปฏิบัติงานสนามในภาคใต้มาแล้ว พ.ต.ท.กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์ วิทยาการตาก ซึ่งเป็นนายตำรวจนักวิจัย เล่าให้ฟังว่า เคยฝันเห็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เห็นพระองค์ทรงยกกำลังหนีทหารข้าศึก มีทหารกลุ่มหนึ่งได้อาสารั้งท้ายสกัดฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้พระองค์ทรงถอยหนีข้ามแม่น้ำได้สำเร็จ ทหารกลุ่มนี้แม้จะมีกำลังน้อยกว่า แต่ก็สกัดข้าศึกได้นาน ฟันแทงไม่เข้า จึงได้ถามว่า ทำไมทหารเหล่านี้จึงฟันแทงไม่เข้า พระองค์จึงตอบว่า มียันต์เกราะเพชร เมื่อถามว่า ยันต์นั้นทำจากอะไร ในฝันนั้นพระองค์ตอบเป็นปริศนาว่า ใช้เงาคนมาทำ ทีมงานวิจัยพยายามตีปริศนานั้นอยู่นาน จนกระทั่งมาลงตัวที่ฟิล์มเอกซเรย์ ทีมงานวิจัยได้นำฟิล์มเอกซเรย์ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนทางวิทยาศาสตร์เคลือบสาร เพื่อให้มีคุณสมบัติดูดพลังงานและกระจายความร้อนได้ดี จากนั้นก็นำมาเรียงซ้อนกันตามขั้นตอน เสื้อเกราะหนึ่งตัวจะใช้แผ่นฟิล์มเอกซเรย์ประมาณ 200 แผ่น นำมาอัดกันจนแน่น แล้วสอดไว้ตัวเสื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อนำไปทด สอบก็ปรากฏว่ามีคุณสมบัติกันกระสุนได้ดี ตัวเสื้อเกราะซึ่งจากทำจากแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ รับกระสุนปืนสั้นได้อย่างดี แผ่นฟิล์มที่ผ่านการเคลือบตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์จะดูดซับลูกกระสุนได้ชั้น ๆ ลดแรงกระแทกและไม่มีแรงสะท้อน เพราะมีวิธีการกระจายพลังงานความร้อน ความเร็วและแรงระเบิดของลูกกระสุนได้ดี แต่ไม่ทะลุ โดยเฉพาะกับปืนสั้น เสื้อเกราะพระเจ้าตากมีคุณสมบัติได้อย่างใจของ ทหารตำรวจที่ต้องการใช้งาน แต่ก็ยังมีจุดอ่อนกับปืนยาว เพราะฟิล์มเอกซเรย์ไม่ทนความร้อน เพราะเวลาที่ลูกกระสุนหมุนทำให้เกิดพลังงานความร้อน ฟิล์มละลาย จึงต้องเคลือบสาร ให้เหนียวและเสริมวัสดุอื่นเข้า ไป เช่น ต้องใส่แผ่นเหล็กเพิ่มที่ ด้านหน้าและด้านหลังของตัวเสื้อ เกราะ ประการสำคัญเสื้อเกราะพระเจ้าตาก น้ำหนักเบา แค่ 4 กิโลกรัมจากเสื้อเกราะปกติที่ใส่กัน น้ำหนักมาก 8-10 กิโลกรัม พ.ต.ท.กฤษฎากร บอกว่า ตอนนี้ได้จดสิทธิบัตรเสื้อเกราะพระเจ้าตากทำจากแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ไว้แล้ว เมื่อสิ้นสุดงานวิจัยสิทธิบัตรนี้ก็จะเป็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตอนนี้ทางทีมงานผู้วิจัยมีฟิล์มที่หน่วยงานต่าง ๆ นำมาบริจาคให้ประมาณ 3 ตัน จึงอยากทำเสื้อเพื่อบริจาคให้กับหน่วยงานทหาร ตำรวจ ครู แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องลงไปปฏิบัติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากต้องการบริจาคฟิล์มเอกซเรย์ใช้แล้วก็สามารถบริจาคได้ที่วิทยาการตาก หรือจะร่วมเช่าบูชาวัตถุมงคลที่คณะวิจัยจัดทำขึ้นเพื่อนำเงิน ไปสมทบจัดทำเสื้อเกราะเพื่อบริจาคให้ทหาร ตำรวจก็ ได้อ่านรายละเอียดและสถานที่ติดต่อบนเว็บไซต์ www.aithaikid.com เสื้อเกราะพระเจ้าตากของทีมนักวิจัยตำรวจไทย จังหวัดตาก มีต้นทุนการผลิตเพียงตัวละประมาณ 5,000 บาท เท่านั้น อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าจะทำเสื้อเกราะกันได้ง่าย แค่เอาแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ที่มีอยู่มาวางซ้อนกันแล้วจะกันกระสุนได้ ขอให้เลิกคิด เพราะกว่าจะได้เป็นเสื้อเกราะทำจากแผ่นฟิล์ม ทีมวิจัยต้องคิดค้นหากระบวนการทาง วิทยาศาสตร์เพื่อหาวิธีทำให้ฟิล์มเอกซเรย์ที่ได้มามีความแข็งแรง ทนต่อความร้อน และลูกกระสุน ไม่ใช่ของที่จะมาทำกันเล่นนะจะบอกให้.
ปรารถนา ฉายประเสริฐ prathanac@dailynews.co.th ปล. ผมอ้างอิงกระทู้หมอเจ ไม่ได้บอกว่าเค้าเกี่ยวข้องกันในด้านการนำไปคิดต่อยอดหรือด้านอื่นใดๆนะครับ แต่เห็นมีความคล้ายคลึงด้านวัสดุที่ทำ เลยนำมาให้อ่านกันครับ
ที่มาครับ :http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=151128&NewsType=1&Template=1
จากคุณ :
Click_ที่นี่
- [
11 ม.ค. 51 08:38:36
]
|
|
|
|
|