ความคิดเห็นที่ 42
ข้อความกระทู้ ก็ยังอ่านไม่หมด เห็นที่คุณตอบมา ความเห็นที่ 39 ก็ยกเอามาพูดคุยกันก่อน คิดเห็นยังไง ก็แย้งมาละกันครับ
1. พูดถึง Greenspan อ้างว่า การนำเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นศิลปะชั้นสูง ผมไม่อยากแย้งในประเด็นความหมายของคำว่า "ศิลปะ" แต่อยากจะพูดในความหมายเดียวกันว่า "การนำศาสตร์อะไรก็ตามไปใช้ เป็น ศิลปะ ของผู้ใช้ทั้งนั้น"
2. จะฟันธงว่าไม่ใช่ของพระเจ้าแน่ ๆ เพราะคุณไม่เชื่อพระเจ้าก็ใจแคบเกินไป ศาสนิกชนที่เชื่อพระเจ้า เขาก็คงไม่เห็นด้วยกับคุณ เขามีเสรีภาพในความเชื่อของเขา
3. การใช้คำว่า นาม คำว่า รูป กรณีนี้เป็นปัญหาเรื่องการใช้ภาษา เพราะคำบางคำ ในสาขาหนึ่งความหมายอย่างหนึ่ง พอมาถึงอีกแขนกหนึ่ง ความหมายก็ผิดแผกไปอีกอย่าง
ที่ผมทักไปนั้น เพราะ คุณใช้ "ปน" กัน
คุณพูดถึง "รูปนาม" ตามพุทธปรัชญา แต่คุณเอาไปเทียบกับ "นาม" ในความหมายนอกพุทธปรัชญา เช่นคุณบอกว่า "พลังงาน" เป็น "นาม" นี่คือความหมายของ "นาม" นอกพุทธปรัชญา คุณจะพูดว่าพลังงานเป็นนาม ผมก็ไม่เห็นว่าผิดอะไร ถ้ามันคงความหมายในบริบทของมัน แต่พอคุณเอาไปเทียบข้ามความหมายกัน ผมก็เห็นว่ามันฝั่นเฝือ...ก็เท่านั้น ให้เข้าใจประเด็นที่ผมพูดด้วยนะครับ
และมันจะยิ่งเละเทะ ถ้าคุณ ดั้นด้นไปนิยามความหมายของ "นาม" ขึ้นมาใหม่ คราวนี้คนอ่าน งง กันเลย คนที่ศึกษาพุทธศาสนามา เข้าใจแบบหนึ่ง คนที่ไม่ศึกษาเข้าใจแบบหนึ่ง คนที่ไม่รู้ แล้วเชื่อตามคุณ ก็จบกันพอดี (อาจจะเพราะเห็นว่ามันเก๋ ถ้าเปรียบเทียบ 2 ศาสตร์นี้)
ย่อหน้าสุดท้ายของข้อ 3 ไม่ว่าจะเป็นวัดที่เชื่อนิพพานอัตตา หรือ นิพพานอนัตตา ก็สวดแบบนี้เหมือนกัน
"นามรูปปังอนิจจัง นามรูปังทุกขัง นามรูปังอนัตตา"
เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่ นามรูปเป็นอนัตตา หรือไม่เป็นอนัตตา แต่ประเด็นมันอยู่ที่ นิพพาน จัดสงเคราะห์เข้าเป็น สัพเพธัมมาอนัตตา หรือเปล่า ลองไปดูที่เขาโต้เถียงกันให้ดี ๆ ครับ เขาแย้งกันจากพระบาลีว่า ตอนพูดถึง อนิจจัง ทุกขัง ใช้ประธานคือ สัพเพสังขาร แต่พอเป็นมาถึงอนัตตา กลับใช้ประธานเป็น สัพเพธัมมา
4. ประเด็นเดียวกับข้อ 3 การใช้ คำ (พยัญชนะ) และความหมายของคำ (อรรถะ)
5. ประเด็นเดียวกับข้อ 3 อีก
สรุปความแล้ว เหมือนคุณจะชงให้ "นาม" ของพระพุทธศาสนา มีความหมายเหมือนกับ "นาม" ตามภาษาไทย (เดี๋ยวขอเวลาผมเปิดพจนานุกรมสักครู่)
นาม, นาม [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
(ขอเปิดพจนานุกรมดูศัพท์คำว่ารูปต่อ เพราะราชบัณฑิตช่างบัญญัติว่า สิ่งที่ไม่ใช่รูป)
รูป, รูป [รูบ, รูบปะ] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
นั่นไงล่ะ...
สิ่งที่คุณนำมาปนกันคือ คำว่า "นาม" ตามพุทธศาสนา กับคำว่านามตาม "ภาษาไทย"
เช่นเสียง เป็นพลังงานที่คุณไม่รู้ได้ด้วยตา คุณก็เรียกมันว่า "นาม" ในขณะที่คัมภีร์เถรวาททั้งหมดบอกว่า "เสียง" คือ "รูปธรรม" แล้วคุณก็โยงใยกัน
ผมมีความเห็นว่า ถ้าคุณอยากเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเชิงเปรียบเทียบ คุณต้องเทียบมันโดยชี้ให้ผู้อ่านเห็นความหมายที่ต่างกัน มันต่างกันอยู่แล้วครับ เพราะโลกทัศน์ของทั้ง 2 ฝ่ายนี้ มองกันคนละแบบ
6. entropy คำนี้ใช้หลายสาขามากครับ ผมเดาเอาว่าคุณคงหมายถึง entropy ที่หมายถึง degree of Mixed-up-ness ถ้าว่าตามอุณหพลศาสตร์ กฎข้อที่ 2 ในระบบโดดเดี่ยวมันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลามากขึ้น
คราวนี้มาดู อนิจจัง ความไม่เที่ยง กับ ทุกขัง ความไม่อาจฝืนรั้งอยู่ได้ 2 ตัวนี้ไม่ใช่ entropy ในแง่หนึ่งนั้น entropy เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องมีอะไรมาบดบัง ส่วนอนิจจัง กับ ทุกขัง เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นโดยมีตัวมาบดบังอยู่เสมอ
ผมเชื่อว่าคุณเป็นคนที่มีความรู้ทางพุทธศาสนาดี คงรู้จัก สันตติ กับ อิริยาบถ นะครับ
7. ข้อนี้ผมรับไม่ได้จริง ๆ อริยสัจ 4 กับ scientific method ไม่ว่าใครจะอ้างว่าอะไร เป็นส่วนหนึ่งของอะไร มันก็อ้างข้ามระบบกัน
ขอเริ่มจาก ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค หรือ อริยสัจ 4 อริยสัจ แต่ละข้อ นั้นมีกิจ หรือ สิ่งที่ต้องกระทำแตกต่างกัน และในแต่ละ สัจจ์ นั้น ก็มี ญาณอยู่ 3 อย่าง
คงคุ้นกับคำพระที่ชอบพูดย่อ ๆ ว่า
"อริยสัจ 4 มี 3 รอบ รวม 12 อาการ"
คำว่า 3 รอบ ก็ ญาณ ที่ผิดแผกกัน 3 ญาณ - สัจจญาณ - กิจจญาณ - กตญาณ
(อย่าเอาไปปนกับโสฬสญาณอีกนะครับ)
ครบ 12 อาการ ก็ นิพพาน (ว่ากันอย่างนั้น)
ยกตัวอย่างเช่น ทุกข์ มีกิจคือ ปริญเญยยกิจ (แปลว่า กิจกำหนดรู้) สัจจญาณ คือ รู้ว่า นี้ทุกข์ กิจจญาณ คือ รู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ กตญาณ คือ รู้ว่า ทุกข์เป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ ก็ได้กำหนดรู้แล้ว
แค่ญาณวน 3 ในทุกข์ ก็ไม่พบใน scientific method แล้วครับ
ประเด็นคือ คุณตีความ ทุกข์ = ตั้งปัญหา สมุหทัย = ต้นเหตุแห่งปัญหา นิโรธ = แก้ปัญหาได้สำเร็จ มรรค = หนทางสู่การแก้ปัญหาได้สำเร็จ
ถ้ามองแค่นี้ ไม่ลดค่า อริยะ ซึ่งแปลว่า ดีเลิศสูงสุด, สัจจ์ ซึ่งแปลว่า ความจริง ไปหน่อยหรือครับ
8. ถ้ามองแค่เรื่องแบ่งแล้วแบ่งอีกไม่มีที่สิ้นสุด ก็ต้องนับเนื่องไปตั้งแต่ปรัชญากรีกโบราณ เช่น ปรัชญาของเซโน แห่งเอลีอา เรื่อง อาคิมิส กับ เต่า
ประเด็นคือ มันเกี่ยวกันยังไงกับ dependent origination ครับ
(ผมพิมพ์แบบไม่ได้อ่านย้อนตรวจอีกที ถ้ามีพิมพ์สะกดผิด ขออภัยด้วยครับ)
จากคุณ :
ศล
- [
6 ก.พ. 51 14:40:22
]
|
|
|