ความคิดเห็นที่ 6
Swedish success All the major contractors will also be eyeing Vietnam, which will require new fighters early in the next decade. Hanoi has about 220 combat-capable aircraft, mostly 1970s and 1980s-era fighters such as the MiG-21 and Su-22. It tried to modernise in the 1990s, buying Su-27s and Su-30s from Russia and reconditioning Su-22s and L-39s. But plans to buy Dassault Mirage fighters from France fell through under pressure from the USA and it did not go ahead with upgrades for the MiG-21s.
ผู้ผลิตชั้นนำยังให้ความสนใจต่อเวียดนามซึ่งต้องการเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ในทศวรรตหน้า ฮานอยมีเครื่องบินรบจำนวน 220 ลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินขับไล่ในยุคทศวรรตที่ 1970 1980 เช่น MiG-21 และ Su-22 เวียดนามพยายามปรับปรุงเครื่องบินเหล่านั้นในช่วงทศวรรตที่ 1990 โดยการคืนสภาพ Su-22 และ L-39 กับจัดหา Su-27 และ Su-30 จากรัสเซีย แต่แผนการจัดซื้อ Mirage ของ Dassault จากฝรั่งเศสนั้นล้มเหลวเนื่องจากแรงกดดันจากสหรัฐ และเวียดนามก็ไม่ได้เดินหน้าปรับปรุง MiG-21 อย่างที่ตั้งใจไว้
Defence contractors say Vietnam's growing economy has boosted state coffers, possibly paving the way for a competition. Dislodging the Russians could be tough, given the close relations between the countries, but Vietnam's growing economic ties with the USA and Europe could help defence contractors from those two regions.
ผู้ผลิตต่างกล่าวว่า เศรษฐกิจของเวียดนามที่กำลังเติบโตทำให้รัฐมีเงินมากขึ้น ซึ่งจะปูทางไปสู่การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย การสลัดทิ้งจากรัสเซียอาจจะยากเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ แต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของเวียดนามกับสหรัฐและยุโรปที่พัฒนาขึ้นก็อาจจะช่วยเหลือผู้ผลิตจากทั้งสองภูมิภาคดังกล่าว
But there is no such optimism about the Philippines, which is short of money and has a track record of corruption tainting tenders. Its air force has Aermacchi SF-260 and S-211 aircraft, many of which are not operational, and a helicopter fleet mainly comprising Vietnam War-era Bell UH-1H Hueys and MD Helicopters MG520s. But Manila desperately needs to renew its fleet, especially to help its army cope with separatist rebels.
แต่มันไม่ได้มีความคาดหวังเช่นนั้นในฟิลิปปินส์ซึ่งขาดแคลนงบประมาณและมีปัญหาการทุจริต กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ใช้งาน SF-260 ของ Aermacchi และ S-211 จากอิตาลี โดยมีจำนวนมากที่ไม่สามารถปฏิบัติการได้ และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ก็ประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์ยุคสงครามเวียดนามคือ UH-1H ของ Bell และ MG520 ของ MD Helicopters จากสหรัฐ แต่มะนิลาก็พยายามอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงฝูงบินของตนเพื่อช่วยเหลือกองทัพในการจัดการกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน
Last year, after a delay of several years, Philippines president Gloria Macapagal Arroyo set aside a budget of about 1 billion pesos ($30 million) to buy attack helicopters. But this month the defence department overturned a decision to buy MD Helicopters MG530F helicopters following irregularities in the selection process and ordered a fresh tender. The government has also said it would set aside7 billion pesos for 20 attack and utility helicopters over the next few years. Contractors are not rushing in to show off their wares, however. "We don't know if the money will come in, and the best equipment might not win anyway due to the corruption," says one official. "The best thing to do when it comes to the Philippines is to roll your eyes, offer your products with a shrug, and not expect anything to happen."
ในปีที่แล้ว หลังจากความล่าช้ามา 2 3 ปี ประธานาธิปดี Gloria Macapagal Arroyo จัดสรรงบประมาณจำนวน 1 พันล้านเปโซ (30 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี แต่ในเดือนนี้กระทรวงกลาโหมสั่งยกเลิกการตัดสินใจจัดหา MG530F จาก MD Helicopter ของสหรัฐเนื่องจากความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการคัดเลือก และสั่งให้มีการยื่นข้อเสนอเข้ามาใหม่ รัฐบาลยังจัดสรรงบประมาณจำนวน 7 พันล้านเปโซสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตีและลำเลียงจำนวน 20 ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามผู้ผลิตยังไม่ได้รีบร้อนเสนอสินค้าของตน เราไม่รู้ว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณไหม และสินค้าที่ดีที่สุดอาจจะไม่ได้รับเลือกเนื่องจากการทุจริต เจ้าหน้าที่นายหนึ่งกล่าว สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อนึกถึงฟิลิปปินส์คือทำใจให้สบาย เสนอสินค้าโดยไม่คิดอะไรมาก และไม่ต้องคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้น
Countries such as Laos and Cambodia are in a similar position, with a shortage of cash and the taint of corruption putting off defence contractors. Oil-rich Brunei may have the money, but has dithered for years on a deal for light combat aircraft.
ประเทศอย่างลาวและกัมพูชาก็อยู่ในสถานะเดียวกัน ด้วยการขาดแคลนงบประมาณและการทุจริตทำให้ผู้ผลิตต่างถอยหนี บรูไนซึ่งแม้ว่าจะร่ำรวยน้ำมันจนทำให้มีเงินมากมาย แต่ก็ชะลอโครงการจัดหาเครื่องบินรบขนาดเบามาหลายปี
Myanmar, on the other hand, has been shunned by most contractors following an arms embargo imposed on its ruling military junta for its brutal crackdown on pro-democracy activists. The country bought 10 second-hand MiG-29s from Russia in 2001, but its main supplier is China. Beijing has sold it about 60 Chengdu F-7Ms, derived from the MiG-21, 42 Nanchang A-5s, which are modified MiG-19s, and 12 K-8 primary trainers that can be used for light ground attack.
ในอีกแง่มุมหนึ่ง พม่าซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตส่วนมากอันเนื่องมาจากการคว่ำบาตรด้านอาวุธอันเป็นผลมาจากการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยของรัฐบาลทหาร ก็จัดหา MiG-29 มือสองจำนวน 10 ลำจากรัสเซียในปี 2001 แต่ผู้ผลิตหลักกลับเป็นจีน ปักกิ่งขายเครื่องบินขับไล่ F-7M ของ Chengdus จำนวน 60 ลำ ซึ่งปรับปรุงมาจาก MiG-21, เครื่องบินโจมตี A-5 ของ Nanchang ซึ่งปรับปรุงมาจาก MiG-19, และ เครื่องบินฝึก K-8 จำนวน 12 ลำ ที่สามารถนำไปใช้ในการรบได้
China is seen as a potential alternative supplier of relatively cheap weapons to the region. It has offered to sell eight Harbin Aircraft Z-9, a licensed copy of Eurocopter's AS365N Dauphin, to the Philippines for its utility helicopter requirement and has reportedly held talks with Cambodia, Laos, Thailand and Indonesia. Its new Chengdu J-10 and Chengdu/PAC JF-17 fighters could be an alternative to Russian and US aircraft.
จีนยังถูกมองว่าเป็นทางเลือกของผู้ผลิตอาวุธราคาถูกสำหรับอาเซียน จีนเสนอขาย Z-8 ของ Harbin Aircraft ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่จีนได้สิทธิบัตรในการผลิต AS365N Dauphin จาก Eurocopter จำนวน 8 ลำให้ฟิลิปปินส์สำหรับความต้องการเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ และมีรายงานว่าจีนกำลังเจรจาขาย Z-8 กับกัมพูชา ลาว ไทย และอินโดนิเซีย เครื่องบินขับไล่ J-10 และ JF-17 ของ Chengdu ก็อาจจะเป็นตัวเลือกนอกจากเครื่องบินของรัสเซียและสหรัฐ
Beijing may need to improve the quality of its exports, however. Myanmar has had problems with the performance and reliability of many of its Chinese aircraft, and has reportedly lost several F-7s through accidents. It has also had trouble obtaining spare parts. China may find it tough to convince a market weaned on Western weapons that it offers viable alternatives.
ปังกิ่งอาจจะต้องปรับปรุงคุณภาพของสินค้าของตน แต่พม่าไม่มีปัญหาสำหรับเรื่องประสิทธิภาพแบะความน่าเชื่อถือของเครื่องบินจีนของตน ซึ่งมีรายงานการสูญเสีย F-7 บางลำจากอุบัติเหตุ พม่ายังพบความยากลำบากในการจัดหาอะไหล่ซึ่งทำให้จีนสามารถแทรกเข้ามาในตลาดได้โดยเสนอตัวเลือกที่ใช้การได้
Still, South-East Asia has an annual arms budget of around $2 billion, so the likes of China will not stop trying. And defence contractors will keep flocking to events such as the Singapore Air Show to display their offerings and talk to prospective customers.
อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังคงงบประมาณทางทหารต่อปีเอาไว้ที่ราว 2 พันล้านเหรียญ ทำให้ผู้ผลิตอย่างจีนคงไม่ยุติความพยายาม และผู้ผลิตยังคงเดินหน้าเข้าร่วมงานอย่าง Singapore Air Show เพื่อแสดงสิ่นค้าของตน พร้อมทั้งพูดคุยกับประเทศที่อาจจะมาเป็นลูกค้า
"Look at China and India - they mainly buy Russian," says Bitzinger. "Japan, South Korea and Taiwan are all good customers of the USA. In South-East Asia, almost everyone has a fair chance of winning something. This is one of the most open and competitive markets around, and it will continue to be so for some time." เมื่อมองดูที่จีนและอินเดีย พวกเขาซื้อจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ Bitzinger กล่าว ญี่ปุ่น, เกาหลี, และไตหวันยังคงเป็นลูกค้าที่ดีต่อสหรัฐ ในอาเซียน เกือบทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการได้รับสัญญาสักอย่างหนึ่ง นี่คือหนึ่งในตลาดที่เปิดและแข่งขันกันสูง และมันจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง
http://www.flightglobal.com/articles/2008/02/11/221436/singapore-2008-southeast-asia-defence-market-opens-up.html
จบครับ
จากคุณ :
Skyman (Analayo)
- [
16 ก.พ. 51 02:07:14
]
|
|
|