ดิจิตอล-เดี้ยง!!! แปลและเรียบเรียงจาก
http://www.exn.ca/starwars/plasmasaber.cfm
พลาสมาในขวดแม่เหล็ก(พลาสมาที่ถูกกักอยู่ในสนามแม่เหล็ก)
อาจจะใช้สร้างเป็นใบมีด หรือดาบพลังพลาสมาได้
โดยอาจจะกักเก็บเอาไว้ในด้าม และเมื่อเปิดสวิทช์
สนามแม่เหล็กก็จะถูกส่งออกมา
และด้ามดาบก็จะคายพลาสมาออกมาในขวดสนามแม่เหล็กนั้น
แต่การจะทำแบบนี้ได้นั้นจะต้องใช้แหล่งจ่ายพลังงาน
ที่จ่ายพลังงานได้สูงทีเดียวในอันที่จะสร้างพลาสมา
ซึ่งจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่เห็นในภาพยนตร์
และไม่เชิงว่าจะทำไม่ได้ในทางเทคนิค
พลาสมาเป็นสสารที่อยู่ในสถานะที่สี่ ถัดจากของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
พลาสมาจะเกิดขึ้นเมื่อเราให้ความร้อนหรือพลังงานใดๆกับก๊าซมากพอ
ก๊าซจะเปลี่ยนไปเป็นพลาสมาเนื่องจากพลังงานที่ใส่เพิ่มเข้าไป
จะทำให้ประจุลบ กับประจุบวกแยกออกจากกันจนก๊าซกลายเป็นอิออนบวก
กับอิเลกตรอนที่หลุดออกมา ตามปกติแล้วพลาสมาจะเปล่งรังสีออกมามาก
ทั้งในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และรังสีความร้อน
ในการนี้อิเลกตรอนจะพยายามที่จะดึงดูดอิออนบวก
และกลับมาเป็นก๊าซในสถานะปกติในทันทีที่พลังงานที่ใส่เข้าไปนั้นหมดลง
ดังนั้นพลาสมาจึงไม่เสถียร และอยู่ได้ไม่นานบนโลก
เราพบเห็นตัวอย่างของพลาสมาได้ทุกวัน
ดวงอาทิตย์เองก็ประกอบขึ้นมาด้วยกลุ่มก้อนพลาสมาของไฮโดรเจน
ที่ร้อนยวดยิ่ง ฟ้าผ่าก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของก๊าซในบรรยากาศ
ที่กลายเป็นพลาสมาเมื่อเกิดการคายประจุอิเลกตรอนจากท้องฟ้าลงมาที่พื้นดิน
หลอดนีออนและฟลูออเรสเซนต์ก็เป็นตัวอย่างของการที่ประจุลบ
จุดให้ก๊าซกลายเป็นอิออน แม้ว่าจะที่อุณหภูมิต่ำกว่า
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันก็เป็นเทคโนโลยีในการหลอมรวมอะตอม
ที่อยู่ในสถานะพลาสมา ซึ่งทำให้ได้พลังงานออกมาปริมาณมหาศาล
ในชีวิตจริงเทคโนโลยีพลาสมาได้ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์หลายปีแล้ว
ปืนพลาสมานั้นมีการใช้งานเพื่อทำการเคลือบพื้นผิวต่างๆด้วยฟิล์มบางๆ
ของวัสดุชนิดอื่นๆเมื่อเราต้องการเคลือบผิววัสดุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ
เช่นพวกวัสดุโลหะต่างๆ ด้วยของที่มีจุดหลอมเหลวสูงเช่นพวกเซรามิกส์
ปืนพลาสมาก็เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาใช้งาน
หลักการคือก๊าซในปริมาณมหาศาลจะถูกเป่าผ่านขั้วสปาร์คไฟ(อาร์ค)
หรือถูกให้พลังงานโดยคลื่นวิทยุหรือแม้แต่ไมโครเวฟ
ทำให้กลายเป็นพลาสมาที่อุณหภูมิ 6600 – 16600 องศาเซลเซียส
ซึ่งมากกว่าอุณหภูมิที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก
จากนั้นชิ้นแพลเล็ตของวัสดุเคลือบ จะถูกยิงเข้ามาในลำเจ็ตนี้
ซึ่งวิ่งด้วยความเร็วสูง และชิ้นแพลเล็ตจะละลายทันทีจนกลายเป็นหยดเล็กๆ
และถูกพ่นออกไปในทิศทางเดียวกับลำเจ็ตพลาสมา
เมื่อพ้นในส่วนให้พลังงานออกมาแล้วพลาสมาจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว
เมื่ออิเลกตรอนกลับเข้าไปจับกับอิออนใหม่
แต่หยดของสารเคลือบจะหลอมละลายอยู่ได้อีกพักหนึ่ง
ซึ่งจะวิ่งไปกระทบพื้นผิวที่เป็นเป้าหมายที่จะเคลือบ
ทำให้ได้ชั้นเคลือบที่สม่ำเสมอ
เทคโนโลยีนั้นมีอยู่แล้วดังนั้นการสร้างดาบแสงพลังาพลาสมานั้น
ไม่ง่ายหรอกหรือ ? โชคไม่ดีที่มีความท้าทายเชิงเทคนิคบางประการ
โดยเฉพาะหากคุณต้องการดูเหมือนอัศวินเจไดแทนที่จะเป็นรถถัง
บางทีความท้าทายที่สำคัญที่สุดก็คือพลาสมานั้นเป็นสสารในสถานะที่ 4
ซึ่งจำเป็นอยู่เองที่จะต้องร้อนเอามากๆ ไฮโดรเจนพลาสมานั้น
เป็นหนึ่งในบรรดาพลาสมาที่เย็นกว่าเพื่อน แต่มันก็มีอุณหภูมิราว 4000
องศาเซลเซียสทีเดียว
แก้ไขเมื่อ 01 มี.ค. 51 14:29:17
จากคุณ :
DigiTaL-KRASH!!!
- [
27 ก.พ. 51 03:14:48
]