Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ตะลึง!!! บทวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของคนไทย!!! รากเหง้าของความเจริญและปัญหาทั้งมวลของประเทศไทย!!! โดย ดร.จุรี วิจิตรวาทการ

    บุคลิกภาพ(Personality)

    จากกระบวนการทางสังคมทำให้เกิดเป็นบุคลิกภาพ ได้มีการศึกษาของRuth Benedict ได้
    ศึกษาCulture and Personality Study ศึกษาลักษณะเด่นของวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดผ่านกระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลาเป็นลักษณะเด่นทางบุคลิกภาพ โดยศึกษาจากคนญี่ปุ่นพบว่าเกิดลักษณะ 2 ขั้ววัฒนธรรมคือดอกเบญจมาศและซามูไร นั่นคือทำให้คนญี่ปุ่นมีลักษณะด้านหนึ่งสุนทรียภาพ เรียบร้อย เกรงใจคน รักธรรมชาติ ละเอียดอ่อน ละมุนละไม เห็นอกเห็นใจคนอื่น ในขณะอีกขั้วหนึ่งเวลารบจะเหี้ยมโหดเอาจริงเอาจัง เด็ดเดี่ยว เด็ดขาด จงรักภักดีต่อนาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อมเริการได้ใช้ความรู้เหล่านี้ตัดสินใจยุติสงครามโดยใช้ความรุนแรงโดยทิ้งระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่นเพื่อบีบให้จักรพรรดิยอมแพ้ จะทำให้ทหารญี่ปุ่นยอมแพ้แต่โดยดีเพราะเชื่อฟังจักรพรรดิ
    ในส่วนของคนไทยเป็นThai culture and behavior พบว่าคนไทยมีวัฒนธรรมแบบกลาง ๆ
    พอมีพอกิน สบายๆ มีความสุขตามอัตภาพ บุคลิกคนไทยจึงเป็นแบบเฉื่อยๆเนือยๆ เน้นพอมีพอกิน รักสงบ เดินสายกลาง ใจเย็น มีดุลยภาพ จิตใจสงบ ไม่กระตือรือร้น สังคมน่าอยู่เพราะขณะที่ศึกษานั้นไทยมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ ไม่ได้เข้าสู่วัฒนธรรมบริโภคนิยม ผู้ชายไทยมีสถานภาพเหนือกว่าผู้หญิงแต่จะไม่กดขี่ผู้หญิง ผู้ชายเป็นความหวังของครอบครัว แต่พ่อแม่จะรักลูกสาว เห็นว่าลูกสาวมีค่า และจะให้ของมีค่ามากกว่าลูกชาย เมื่องานวิจัยนี้เผยแพร่จึงทำให้มีคนสนใจเมืองไทยมากขึ้น

    รูปแบบการวิเคราะห์บุคลิกภาพคนไทย Thai People Personality
    กลุ่ม Cornell Thailand Project โดย Pro. Herbert Phillips ศึกษาพฤติกรรมของคนที่หมู่บ้านบางชัน มีนบุรี กท.ซึ่งตอนนั้นถือเป็นเขตชนบทของไทย ศึกษาแบบ interdisciplinary study คือการศึกษาแบบสหวิทยาการโดยใช้ 2 เครื่องมือ
    1. Nationalitic Observation คือระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อยู่กับชาวบ้านสังเกตุดูการใช้ชีวิต เปรียบตัวเองเป็น insider
    2. Sentence Completion Test คือเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา วิจัยเชิงปริมาณ โดยการเติมประโยคให้สมบูรณ์ เพื่อจับประเด็นเช่นความกลัว ความกังวล การแก้ไขปัญหา ผู้มีอำนาจ แล้วนำคำตอบมาวิเคราะห์
    จนได้สรุปเป็นหนังสือ Thai Person Personality พบว่า

    1. คนไทยชอบปฏิสัมพันธ์กัน
    2. ชอบความราบรื่นกลมกลืนทางสังคม
    3. หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า
    4. ไม่แสดงความรู้สึกลึกๆต่อกัน ต่อหน้ากันจะยิ้มให้กันตลอด แต่บอกไม่ได้ว่าคิดอะไร
    5. มีความอดทนสูง เก็บความรู้สึกเก่ง
    6. ปัจเจกนิยมสูง
    7. เกรงใจ
    8. รักสนุก
    9. ไม่ชอบผูกมัดในระยะยาว ชอบกิจกรรมเฉพาะกิจ

    ผลคือทำงานร่วมกันได้ ในที่ประชุมไม่ออกเสียงแสดงความคิดเห็น ไม่โต้แย้ง ประหนึ่งว่ายอมรับความคิดเห็น แต่พอทำงานจริงทำไปตามทางของตนเอง ไม่เกิดการทำงานเป็นทีม
    ภาพรวมของสังคมพบว่า สังคมไทยเป็นโครงสร้างหลวม (Loose structure) โดยJohn Embree ได้ศึกษาผลงานของBenedict จึงเกิดความสนใจศึกษาสังคมไทย เขามีความเห็นว่าที่สังคมไทยมีโครงสร้างสังคมแบบหลวม เพราะมีลักษณะ 4 ประการ คือ

    1. มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง(Individualism) ลักษณะตัวใครตัวมัน อิสระชน ไม่ชอบถูกบังคับ ไม่ค่อยมีวินัย สอดคล้องกับการเลี้ยงดูในวัยเด็ก
    2. ไม่ชอบผูกมัด ไม่ชอบวางแผนในระยะยาว ไม่ชอบป้องกันปัญหา เป็นพวกปฏิบัตินิยม ชอบทำงานเฉพาะกิจ ทำให้ไม่มีพลังในการรวมกลุ่มทางสังคมในระยะยาว
    3. มีความยืดหยุ่นสูง(Flexibility) เปลี่ยนอะไรได้ง่าย ไม่ชอบป้องกันปัญหาแต่แก้ปัญหาเก่ง แก้ไขสถานการณ์ได้ มีพลวัตร ปรับตัวเก่ง
    4. เข้าใจกฎระเบียบและกติกาทางสังคมดี รู้ว่าเป็นหน้าที่ใครแต่มักจะละเมิด แสดงว่าเรามีกระบวนการทางสังคมดี แต่สังคมไม่มีการลงโทษผู้ละเมิด(Low social sanction) การลงโทษทางสังคมไม่เข้มแข็ง เบาบางมาก ไม่จริงจัง ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำความดี ความถูกต้อง เช่นการเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นสิ่งที่ดี แต่ลูกที่ไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ก็ไม่ถูกสังคมลงโทษและลูกที่ดูแลพ่อแม่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับความรักหรือการยกย่องมากกว่าลูกที่ไม่ดูแล เป็นลักษณะอยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยแล้วแต่กรรมเวร

    จากการศึกษาพบว่าข้อดีของโครงสร้างสังคมหลวม มีจุดแข็ง ได้แก่
    1. อยู่รอดได้ดี(Survival Value) รู้จักเปลี่ยนท่าที เจรจาต่อรอง ปรับเปลี่ยนตัวเอง ไม่ยึด
    อะไรตายตัว มีความสามารถในการเปลี่ยนทีท่า ทำให้เราไม่เป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ
    2. มีบูรณาการทางสังคมสูง(High social integration) จะเห็นจากการมีความแตกต่างด้าน
    ชาติพันธุ์ ศาสนา ชนชั้นแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ยอมรับกันได้ ไม่มีปัญหาทางสังคม

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ต่อสังคมไทย
    จากความสัมพันธ์แบบเป็นส่วนตัว(Personalism) จึงเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว(Private)มากกว่าส่วนรวม (Public)ทำให้ส่วนรวมอ่อนด้อยลง ขาดความผูกพันทางด้านสาธารณะหรือส่วนรวม การบริหารรัฐกิจจึงทำได้ยากเพราะประชาชนให้ความสนใจร่วมมือน้อย เน้นความเป็นส่วนตัวแต่ขาดจิตวิญญาณสาธารณะ เรื่องส่วนรวมมักจะธุระไม่ใช่ พ้นจากหน้าที่หรือขอบเขตของตนเองถือเป็นเรื่องของคนอื่น แต่ถ้าใครมีบุญคุณต่อตนเองจะไม่ลืม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดของคนไทยคนใดคนหนึ่งแต่เป็นสิ่งที่ขัดเกลามาจากสังคมในอดีต ลักษณะดังกล่าวจึงมีผลกระทบต่อสังคมไทย ดังนี้

    1. เป็นการยึดตัวบุคคล ก่อให้เกิดผลพวงที่ตามมาทำให้คนไทยขาดหลักการ อุดมการณ์ เช่นใครที่เคยอุปถัมภ์พ่อแม่พี่น้องเราหรือตัวเรา ถ้าเราอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ พบว่าเขามีอะไรบกพร่องทำไม่ถูกและเป็นหน้าที่เราที่จะต้องลงโทษเขา เราก็จะทำอะไรได้ไม่เต็มที่ หลักการของเราจะอ่อนลง ในที่สุดเมื่อจำเป็นต้องลงโทษจากหนักก็กลายเป็นเบา

    2. ทำให้ไม่มีการแยกระหว่างPublicกับPrivate ไม่แยกส่วนรวมกับส่วนตัว ทำให้คนไทยขาดสิ่งที่
    เรียกว่าจิตสาธารณะ(Public mind)และจิตวิญญาณสาธารณะ(Public spirit) คือการคำนึงถึงส่วนรวมในการที่จะมีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง คนไทยเป็นคนดี กตัญญู รักเครือญาติ เพื่อนฝูงพี่น้อง รักเพื่อนร่วมรุ่น รักองค์การของเราเอง แต่อะไรที่นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว ที่ไม่มีความสัมพันธ์เป็นส่วนตัว เราจะไม่สนใจ เหมือนที่ชาวต่างชาติตั้งข้อสังเกตว่าบ้านคนไทยสะอาดมาก ไม่ว่าจะไปบ้านไหน จะเช็ดถูทำความสะอาดเรียบร้อย แต่ขยะที่อยู่นอกบ้าน ตัวเองทิ้งได้เลยไม่สนใจ การที่จิตสาธารณะอ่อนแอ

    3. ระบบอุปถัมภ์ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและขาดความยุติธรรมทให้เกิดหลักการหรืออุดมการณ์ที่ไม่ดีของระบบอุปถัมภ์ คือ
    การที่ลูกน้องสนับสนุนนายโดยไม่สนใจว่านายจะผิดหรือถูก ไม่สนหลักการ ขาดความเป็นธรรม ความเสมอภาค ขาดความยุติธรรม ทำให้บั่นทอนความรู้สึกสามัคคีของคนในองค์กร เป็นระบบที่เลือกที่รักมักที่ชัง เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก คนในกลุ่มจะรู้สึกอบอุ่น แต่คนนอกกลุ่มจะรู้สึกว้าเหว่ หมดกำลังใจในการทำงานได้ จึงไม่สามารถจูงใจให้ทุกคนในองค์กรร่วมแรงร่วมใจกันได้ คนที่เข้านายจะได้รับการดูแล คนที่ไม่เข่านายจะถูกผลักออกไปอยู่ชายขอบ เกิดระบบประจบสอพลอ ยกยอปอปั้นนายเกินจริง ต้องเอาอกเอาใจนาย รับใช้นายมากกว่าการทำผลงาน

    วิธีปรับลดระบบอุปถัมภ์
    1. แก้ที่สาเหตุคือปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมศักดินา
    2. ปรับเปลี่ยนค่านิยม สร้างจิตวิญญาณประชาธิปไตยและความเท่าเทียมกัน
    3. มุ่งประโยชน์ของคนหมู่มาก
    4. เน้นความรู้ความสามารถ,สร้างให้คนมีการศึกษาสูงขึ้น
    5. พึ่งตนเอง,สร้างความพึงพอใจในการทำงาน
    6. ปรับโครงสร้างการรวมกลุ่มจากแนวดิ่งเป็นแนวราบ
    7. สื่อมวลชนควรทำงานในลักษณะที่มีการตรวจสอบได้
    8. นำกฎหมายมาใช้ปฏิบัติอย่างเสมอภาคและการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบต่างๆเข้ามาตรวจสอบ

    www.geocities.com/mppm6055/pp6032.doc

    www.nidampa9phitsanulok.net/download/601/601dr.juree%20by%20moddy.ppt

    จากคุณ : ทำอะไรตามใจคือไทยแท้!!! - [ 10 เม.ย. 51 13:14:29 A:118.172.60.5 X: TicketID:172987 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom