Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    ตะลึง!!! การค้นพบ DNA คือจุดจบของ ท.วิวัฒนาการ ของ ชาร์ล ดาร์วิน!!! บอก "ผมโมโหเพราะผมถูกทำให้เชื่อใน ท. ของ ดาร์วิน!!!"

    Good News สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ Michael Behe, Ph.D.

    การค้นพบ DNA มีผลต่อทฤษฏีวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง ?

    สัมภาษณ์โดย Mario Seiglie

    The Good News: การที่คุณเป็นศาสตราจารย์ทางด้าน ชีวเคมี ,มีสาเหตุอะไรที่ทำให้คุณสงสัยในทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วิน?

    Michael Behe: ผมเคยเชื่อในทฤษฏีของดาร์วิน เพราะผมถูกสอนเมื่อเรียนในไฮสคูลและวิทยาลัย. เวลานี้ผมเป็นนักชีวเคมี, และเมื่อคุณเป็นนักชีวเคมี คุณต้องศึกษาระบบโมเลกุลที่ยุ่งยากมากซึ่งเป็นพื้นฐานของเซลและมูลฐานของสิ่งมีชีวิต. หลายครั้งทีเดียวที่ผมสงสัยว่าสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนนั้น มีวิวัฒนาการโดย
    กระบวนการทีละขั้นตอนของดาร์วินได้อย่างไร. แต่ผมก็พยายามสลัดความสงสัยออกไป.

    GN: แล้วมีอะไรเกิดขึ้น?

    MB: ปลายปี 1980 เมื่อผมเป็นกรรมการคณะอาจารย์วิชาชีวเคมี, ผมได้อ่านหนังสือ Evolution: A Theory in Crisis แต่งโดยนักยีนเนติกชื่อ ไมเคิล เดนตัน. ในหนังสือ,เขาได้แสดงถึงข้อโต้แย้งมากมายต่อทฤษฏีของดาร์วิน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นข้อโต้แย้งที่ดีมากและผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย. ผมโมโหตัวเองมากเพราะผมเป็นศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียง, แต่กลับไม่เคยได้ยินการวิพากย์วิจารณ์แบบนี้มาก่อนเลย. แล้วจะตอบคำถามนี้อย่างไร. ผมโมโหเพราะผมถูกทำให้เชื่อในทฤษฏีของดาร์วิน. ไม่ใช่เพราะมีหลักฐานมาสนับสนุนแต่เป็นเพราะผมอยากจะเชื่อเช่นนั้น.

    GN: และคุณได้ทำอะไรบ้าง?

    MB: หลังจากที่ได้อ่านหนังสือของเดนตัน. ผมก็ตัดสินใจที่จะไปห้องสมุดทางวิทยาศาสตร์และค้นหาวารสารทางวิทยาศาสตร์ เพื่อดูว่ามีใครเคยอธิบายเกี่ยวกับความสลับซับซ้อนในระบบเซลด้วยวิธีการของดาร์วินบ้าง. ผมต้องประหลาดใจที่พบว่าไม่มีเอกสารหรือวารสารใดเลย, ไม่เคยมีใครพูดถึง, แม้แต่จะพยายามที่จะอธิบายวิธีที่กระบวนการทีละขั้นตอนสามารถทำให้เกิดความสลับซับซ้อนเช่นนี้ได้. ถึงตอนนี้ผมก็รู้สึกว่าจำเป็นต้องศึกษาความคิดใหม่ ดังนั้นผมจึงเริ่มคิดถึงกระบวนวิธีอื่น.

    GN: คุณมักพูดถึง "จักรกลชีวะ" ที่อยู่ในโลกโมเลกุลบ่อยๆ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีโครงสร้างเป็นจักรกลโมเลกุลหรือครับ?

    MB: หลายสิ่งที่อยู่ในเซลส์เป็นจักรกลโมเลกุล. พวกมันถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่ทำด้วยโมเลกุล - หมายถึง. มันมีเกียร์, มีน้อตและ สกรู. มีบางสิ่งที่คล้ายกับรถบรรทุกโมเลกุลที่แล่นไปตามถนนทางด่วนด้วย และยังมีป้ายจราจรเล็กๆและอื่นๆอีก.

    แต่ไม่ใช่ทุกอย่างในเซลส์จะเป็นจักรกลไปเสียหมด. บางอย่างก็เป็นเชื้อเพลิง - ซึ่งให้พลังงานแก่เครื่องจักร. มีบางอย่างที่คล้ายกับก้อนอิฐและซีเมนต์ซึ่งจะช่วยยึดสิ่งก่อสร้างเข้าด้วยกัน. ผมไม่เรียกพวกนี้ว่าเครื่องจักรหรอก. พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคารเท่านั้น. แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของเซลส์ก็คือพวกมันเป็นจักรกลชั้นเลิศ.

    GN: ตัวอย่างเกี่ยวกับจักรกลชีวะ ที่คุณชอบใช้เสมอคืออะไรครับ?

    MB: ตัวอย่างที่ผมมักใช้เสมอก็คือตัวอย่างที่ทำให้เราคิดถึงเครื่องจักรในโลกของเรา. ซึ่งได้แก่ แบคทีเรียแฟคเจรั่ม (bacterial flagellum). มันมีมอเตอร์อยู่ในตัวซึ่งทำให้มันสามารถว่ายน้ำได้. เหมือนกับที่เราเอามอเตอร์มาใส่ไว้ในเรือเพื่อแล่นไปในน้ำนั้นแหละ. แต่แทนที่มันจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, มันกลับใช้พลังงานจากการถ่ายเทเคลื่อนที่ของ กรดจากด้านหนึ่งของเซลส์ไปยังอีกด้านหนึ่งแทน.

    มีน้อตที่ขันยึดโครงสร้างเข้าด้วยกัน และขอเกี่ยวบริเวณที่เป็นข้อต่อเพื่อทำให้เพลาขับและใบพัดหมุนได้. มันยังมีสมอที่เรียกว่า สเตเตอร์ ซึ่งคอยยึดผนังเซลเอาไว้และทำให้มันเคลื่อนที่ไปเมื่อใบพัดหมุน.

    เมื่อเวลาที่ผมบรรยายถึงภาพโครงสร้างเหล่านี้, ผู้คนจะถามว่าเครื่องจักรเหล่านี้ ทาง NASA เป็นผู้ออกแบบขึ้นมาหรือว่าเอามาจากหนังสือวารสารทางวิศวกรรม. และผมก็บอกพวกเขาว่ามันเป็นโครงสร้างทางชีววิทยาที่พบได้ในเซลของสิ่งมีชีวิต. พวกเขาก็จะแย้งว่าสิ่งนี้ดูไม่น่าจะมาอยู่รวมกันได้ด้วยกระบวนการสุ่มเลือกของดาร์วินเลย ( random Darwinian processes) - พวกมันน่าจะถูกออกแบบมามากกว่า.

    GN: มีตัวอย่างชัดๆอีกบ้างไหมครับ?

    MB: เครือข่ายการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งภายในเซล. สิ่งของจะถูกขนส่งไปด้วยรถบรรทุกโมเลกุลเล็กๆ. พวกมันต้องรู้จักทางที่จะไป, จุดหมายปลายทาง ,เวลาที่จะไปและสิ่งที่จะต้องบรรทุก เป็นอย่างดีทีเดียว ก็เหมือนกับที่บริษัทรับส่งสินค้า UPS หรือ FedEx ทำกัน. มีรถบรรทุกเฉพาะกิจ,เครื่องหมายจราจรและถนนทางด่วนและสิ่งอื่นๆอีกที่จำเป็นต่อการทำงานนี้.

    GN: ความคิดของดาร์วินถือว่าเป็น ปฏิวิทยาศาสตร์ (bad science) หรือเปล่า?

    MB: มันขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของ bad science ที่คุณคิด. ความคิดที่ดีและให้ความหวังถือว่าเป็น Good science, ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วมันจะผิดก็ตาม - แต่ก็ยังถือว่าเป็น Good science. ผมคิดว่าความคิดของดาร์วินเป็น Good science นะ. เพราะมันดูจะเป็นทางเลือกอีกอันหนึ่งในเวลาที่เขานำเสนอเรื่องนี้. แม้ว่าความคิดนี้จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาในปี 1859ที่ก็ตาม, แต่เขาก็ยอมรับ.

    สมมุติฐานของเขาในตอนที่เขานำเสนอความคิดนั้นอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ชีวิตเป็นสิ่งง่ายๆ. เซลส์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆคล้ายกับวุ้นหรือโปรโตปลาสซึม. บางทีถ้าเขามีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของชีวิตมากกว่านั้น, เขาจะรู้ว่าความง่ายนั้นจะกลายเป็นความสลับซับซ้อนดังที่เราเห็นอยู่ในอวัยวะต่างๆ เช่น ขา, ตา หรือ หู.

    มันเป็นความคิดที่ดี แต่ปรากฏว่าผิด. เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้นและเราได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับชีวิต, เราก็เห็นได้ชัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้น ใช่ว่าเปลือกนอกไม่สลับซับซ้อนและภายในดูง่ายๆ. หากแต่เป็นว่า เปลือกนอกนั้นสลับซับซ้อน และภายในยิ่งสลับซับซ้อนมากกว่าอีก.

    เราได้เรียนรู้ว่าเซลมิได้เป็นเพียงแค่วุ้น. ข้างในมีจักรกลชีวะอยู่. และกลไกของมันก็ละเอียดอ่อนซับซ้อนซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำขึ้นเลียนแบบได้. ส่วนประกอบจำนวนมากนั้นเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า ความสลับซับซ้อนที่ไม่อาจลดทอนได้ ( irreducibly complex). เพราะถ้าคุณเอาบางส่วนออกไปจากจักรกลนี้, จักรกลก็จะตายไปทันที. เปรียบเหมือนกับคุณถอดหัวเทียนออกจากรถ รถก็จะไม่ทำงาน.

    เรื่องพวกนี้, ทฤษฏีของดาร์วินในเอกสารและตำราต่างๆไม่ได้ให้คำอธิบายไว้เลย. และเป็นการสมเหตุสมผลที่จะพูดว่า พวกเขาไม่สามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฏีของดาร์วิน.

    เพราะฉะนั้น, เมื่อมองย้อนกลับไป, ความคิดของดาร์วินยังมีข้อจำกัดมากมายในการประยุกต์ใช้. ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินจะอธิบายได้เฉพาะกับเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเพียงเล็กน้อย - การเลือกสรรทางธรรมชาติคือคำอธิบายนั้น. ยกตัวอย่าง, หมีขาวอาจเปลี่ยนแปลงมาจากหมีสีน้ำตาล. หรือใช้อธิบายการที่แมลงสร้างภูมิต้านทานยาฆ่าแมลง เป็นต้น. มันอธิบายเรื่องเล็กๆได้ แต่ไม่อาจอธิบายเรื่องใหญ่ๆได้

    จากคุณ : inquisitor - [ 16 เม.ย. 51 15:44:57 A:118.172.25.31 X: TicketID:172987 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom