ความคิดเห็นที่ 11
การแบ่งชนิดนั้นทำไปเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาและการเลือกเซรุ่มครับ เพราะคนที่ถูกงูกัดมา ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองโดนงูอะไรกัด และ ประวัติที่ได้จากคนที่เห็นหรือผู้ที่ถูกกัดก็ผิดพลาดได้บ่อย - ผมเองเคยประสบด้วยตนเองกับคนที่บอกว่ารู้จักงูดี เอางูมาที่โรงพยาบาลแล้วบอกว่าโดนงูสิงกัด พอผมเอางูที่ตายแล้วตัวนั้นมาดู ปรากฏว่ามันมีแม่เบี้ย และมีเขี้ยว ... ซึ่งสีอย่างนั้นบอกได้อย่างเดียวว่าเป็นงูเห่า ! (ไหนว่ารู้จักงูดีไงลุง) - อีกกรณีนึงญาติและคนเจ็บให้ประวัติว่างูตัวนั้นเป็นงูเห่า แต่ตีแล้วเอาไปทิ้งแล้ว ... แพทย์ตรวจดูแล้วก็ไม่มั่นใจ นักจึงให้ดูอาการก่อน ผู้ป่วยแสดงอาการบอกว่าง่วงนอนมากอยากหลับตลอดจนญาติสั่งให้หมอฉีดเซรุ่มแก้พิษงูเห่า แต่ปรากฏว่าเมื่อสังเกตอาการไปเรื่อยๆ มันไม่ใช่ลักษณะพิษของงูเห่าครับ ผ่านไปวันนึงปรากฏว่ามีอาการแสดงของพิษงูแมวเซาคือเกิดเลือดออกตามทวารต่างๆและไตวาย ... โชคดีที่แพทย์ที่ดูแลรอบคอบพอที่จะสั่งสังเกตอาการอื่นๆโดยไม่เชื่อที่ผู้ป่วยบอกว่าง่วงนอนตลอดเวลา (งูเห่ากัดไม่ได้ง่วง แต่หนังตาจะไม่มีแรงเฉยๆ) ทำให้ผุ้ป่วยรายนี้ได้รับเซรุ่มที่ถูกต้องและรอดมาได้
ซึ่งต่อมาความจริงออกมาว่าแถวบ้านของผุ้ป่วยรายนี้เรียกงูทุกชนิดขึ้นต้นด้วย"งูเห่า"ทั้งหมด -_-'
ดังนั้นในผู้ป่วยที่ถูกงูกัดมาที่โรงพยาบาลแล้วไม่มีตัวงูมา โดยปกติแล้วแพทย์จะให้สังเกตอาการทางระบบเลือดและสังเกตอาการทางสมอง ระหว่างที่นอนโรงพยาบาลครับ ... อย่างเช่นในแถบที่ผมอยู่ ถ้ามีอาการทางด้านสมองและระบบกล้ามเนื้อ ตีวงได้ว่าจะให้เซรุ่มของงูจงอางหรืองูเห่า ถ้ามีอาการทางด้านระบบเลือด ตีวงได้ว่าจะให้เซรุ่มของงูเขียวหรือไม่ก็งูแมวเซา ถ้าไม่มีอาการ ก็ไม่ต้องให้เซรุ่มอะไรทั้งนั้น ให้ไปก็ไม่ได้เกิดประโยชน์ ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้เปล่าๆ
(ปัจจุบันเซรุ่มพิษงูในไทยมี7ชนิดคือ เซรุ่มงูเห่า , งูจงอาง , งูสามเหลี่ยม , งูทับสมิงคลา , งูแมวเซา , งูกะปะ , งูเขียวหางไหม้ ... โรงพยาบาลผมมีสามแบบเอง )
จากคุณ :
หมอแมว
- [
15 พ.ค. 51 21:40:51
]
|
|
|