Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    เก็บตกว่าด้วยเรื่องงูพิษและการรักษา -=Byหมอแมว=-

    ครั้งที่แล้วเราจัดการผู้ป่วยจนกระทั่งเอาตัวไปถึงโรงพยาบาลได้แล้ว วันนี้เรามาต่อกันเรื่องการรักษางูกัดกันต่อครับ
    ความรู้เรื่องการรักษานี้ความจริงเป็นสิ่งที่แพทย์ควรจะรู้ โดยที่ผู้ป่วยและญาติอาจจะไม่ต้องรู้เลยก็ได้ เพราะว่าในที่สุดการรักษาจะตกไปอยู่ตรงจุดของแพทย์ไม่ใช่ญาติหรือผู้ป่วย
    เพียงแต่ว่าในชีวิตจริง มนุษย์ทุกคนมีความไม่มั่นใจในเรื่องที่เป็นเรื่องคอขาดบาดตายอยู่แล้ว ทำให้หลายครั้งหลายคราวเวลาแพทย์รักษาผู้ป่วยตามหลักทางการแพทย์แต่ว่าไม่ตรงใจผู้ป่วยหรือญาติก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งตามมา
    ดังนั้นหัวข้อต่อจากนี้จะเน้นเรื่องของงูกัดและการรักษาที่เกี่ยวข้องครับ เพื่อที่ว่าหากต่อไปเกิดมีใครในที่นี้ไปโดนงูกัด จะได้เข้าใจและไม่ต้องตกใจกับการรักษา

    เมื่อไปถึงโรงพยาบาล
    เมื่อถูกงูกัดแล้วไปที่โรงพยาบาล อย่างแรกเลยที่จะโดนถามคือโดนอะไรมาหรือโดนอะไรกัด จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลแล้วว่าโดนอะไรกัด(หรือไม่รู้ว่าโดนอะไรกัดก็ตาม) ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษา
    - ถ้าคุณรู้ว่าเป็นงู แต่ไม่รู้ว่าเป็นงูอะไร หรือมีรอยเขี้ยวและฟันแต่ไม่รู้โดนตัวอะไรกัด แพทย์ก็จะให้นอนสังเกตอาการ เพื่อดูว่าถ้ามีอาการของพิษ พิษนั้นเป็นพิษจากงูในกลุ่มใด
    - ถ้าคุณเห็นตัวงูชัดเจน รู้จักชนิดงูดี แพทย์ก็เลือกการรักษาไปตามชนิดของงูเลย เตรียมเซรุ่มของงูชนิดนั้นเอาไว้ และเฝ้าดูอาการจากพิษงู ระวังอาการอื่นๆข้างเคียงของพิษงูชนิดนั้นๆ รวมทั้งเผ้าระวังอาการอื่นๆเผื่อไว้ว่าคุณดูชนิดงูผิด
    - ถ้าเห็นว่าไม่ใช่รอยจากงูหรือว่าเห็นตัวว่าไม่ใช่งู ก็รักษาแล้วกลับบ้าน

    โดยมากแล้วหากไม่มั่นใจในเรื่องชนิดของงูที่มากัด แพทย์ก็จะรักษาแบบครอบคลุมไว้ก่อนโดย
    - เฝ้าระวังอาการชนิดจำเพาะของพิษงู - ได้แก่อาการทางระบบประสาท ระบบเลือด หรือ ระบบกล้ามเนื้อ เพื่อจะได้ระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถจำกัดวงของการใช้เซรุ่มได้
    - เผ้าระวังอาการที่ไม่จำเพาะของพิษงู - ได้แก่อาการบวม ปวด แผลเนื้อเน่าตาย ความดันเลือดต่ำ หัวใจทำงานผิดปกติ การขาดเลือดของอวัยวะส่วนปลาย เพื่อจะได้รักษาก่อนที่จะรุนแรงไปยิ่งกว่าเดิม
    ส่วนการรู้ว่างูที่กัดเป็นงูอะไร(หรือจับงูมาได้แล้วดูออก) จะมีส่วนช่วยได้บ้างครับ คือทำให้การรักษานั้นแคบขึ้นคือ
    - เฝ้าระวังอาการชนิดจำเพาะของพิษงู - ตามชนิดของงูนั้นๆ
    - เฝ้าระวังอาการที่ไม่จำเพาะของพิษงู - เหมือนข้างบน
    สังเกตนะครับว่าต่อให้รู้ว่างูที่กัดเป็นงูอะไร ก็ต้องเฝ้าระวังอาการต่ออยู่ดี ไม่ได้ทีการให้เซรุ่มแก้พิษงูทันที

     
     

    จากคุณ : หมอแมว - [ วันวิสาขบูชา 03:28:08 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom