ความคิดเห็นที่ 5
[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้น ภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไร หนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ [๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า นคร ที่ทำด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ดเมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่ แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๖
จากพระสูตรข้างบนเมื่อผมนำมาคำนวณเป็นปีโดยประมาณว่า หนึ่งกัปมีระยะเวลากี่ปีดังนี้ สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1โยชน์ และ สูง 1 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 16X16X16 = 4,096 ลูกบาตกิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด ดังนั้น 16 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = 16X2,000,000 = 32,000,000 เมล็ด
ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ 32,000,000X32,000,000X32,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000 เมล็ด ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000X100 = 3,276,800,000,000,000,000,000,000 ปี 1 กัป >= 3.3 X 10**24 ปี
จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณหรือมากกว่า สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้าน ปี ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**24 ปี แต่ค่าที่ได้นี้จะไปขัดแย้งกับค่า 1 ปทุมะ ที่เป็นอายุขัยสูงสุดของสัตว์ในอเวจีนรก ซึ่งมีค่าประมาณหรือมากกว่า 2.62 X 10**26 ปี จึงต้องขยับตัวเลข 1 กัปป์ เป็น 1 กัปป์ ประมาณหรือมากกว่า 3.3 X 10**26 ปี จึงดูใกล้เคียงมากกว่า หมายเหตุ ถ้าโลกเราหรือสุริยจักรวาลนี้แตกดับไปแต่ภพของเทวดาหรือภพพรหมบางส่วนและดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียงโดยรอบยังไม่แตกดับไปด้วย ก็ยังไม่นับว่าเป็น 1 กัปป์ ดังนั้น 1 กัปป์อาจหมายความว่าโลกมนุษย์หรือสุริยจักรวาลเกิดและดับไปหลายครั้งแล้วก็เป็นได้ อ่านได้ในเปรียบเทียบจักรวาลพุทธกับสุริยจักรวาลตอนท้าย หรือกล่าวได้ว่า 1 กปัป์ คือ หน่วยวัด ที่ทุกๆ โลก ทุกๆ จักรวาลที่อยู่ในอาณาบริเวณพุทธเขต บังเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง และตั้งอยู่ เเละดับไปสลายไป 1 ครั้ง
จากคุณ :
vierzehn
- [
21 พ.ค. 51 14:45:30
]
|
|
|