ต้องทำการทดสอบหาการกระจายตัวของดินด้วยวิธีการ double hydrometer ซึ่งมีรายละเอียดของการทำงานเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เข้าใจ
โดยทั่วไปคือ แบ่ง lab เป็น 2 parts โดยทั้งคู่เริ่มด้วยชั่งตัวอย่างดินหนัก 28 กรัม
- part A เอาดินมาเติมสารช่วยแขวนลอย (มั้ง) เรียกว่าคาลกอน 125 ml แล้วปั่น (เหมือนเครื่องปั่นไอติมแดรี่ควีนค่ะ) นาน 5 นาที
- part B เอาดินมาเติมน้ำกลั่นก็เท่านั้น
จากนั้นแต่ละอันก็เอาไปใส่ใน hydrometer jar (เหมือนกระบอกตวงขนาด 1000 ml) แล้วปิดด้วยจุกยาง
ส่วนที่งง คือส่วนต่อมานั้นหัวหน้าบอกว่าไม่ต้องปรับปริมาตรน้ำให้ถึง 1000 ml (ตาม direction lab) ให้เว้นระยะจากระดับน้ำที่ 1000 ลงมาประมาณ 1 นิ้ว (ต่อไปต้องเขย่า 1 นาทีแล้วตั้งทิ้งไว้ 1 ชม) เอาไว้เขย่าเสร็จเปิดฝาแล้วให้ใช้น้ำกลั่นฉีดล้าง
แต่เราสังเกตเห็นว่าน้ำส่วนที่ล้างลงไปน่ะมันไปกดอนุภาคดิน เหมือนจะแยกชั้นปเนส่วนน้ำใสด้วยดิ
เราก็เลยเถรตรงทำตาม method เป๊ะ ไม่ล้าง เพื่อลด error ที่จะเกิดขึ้นตรงนี้ แต่ก็ต้องแลกกันว่ามันจะมีอนุภาคดินที่ติดอยู่ด้านข้างหลอดส่วนเหนือน้ำอ่ะค่ะ (แต่ก็คิดว่ามันไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากมาย)
พิท้งไว้ 1 ชม. แล้วต้องใช้ปิเปตต์ดูดตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึก 10 ซม. แล้วเอามาวัดความขุ่นอ่ะค่ะ
อยากทราบว่าที่ทำอยู่แบบไม่ล้างนี่มันผิดเหรอคะ
หัวหน้าเค้าบอกว่าทำอย่างเรา ดินในน้ำมันก็ไม่ครบ 28 กรัมนะสิ ก็ใช่ เราเถียงไม่ออก แต่ก็เราเขย่า mix แล้ว และเราก็สนใจเฉพาะอนุภาคที่มันจะแขวนอยู่ในสภาพจริงๆ ไม่ใช่เหรอ
กับการที่เราเว้นระบะไว้แล้วใช้น้ำกลั่นฉีดล้างอนุภาคที่ติดอยู่ข้าง ๆ ลงมา เราเห็นนี่ว่ามันจะทำให้ด้านบนใสกว่าด้านล่างอย่างเห็นได้ชัดเจนเลย และมันก็น่าจะมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคเข้ามาเกี่ยว หรือแม้กระทั่งหลักการแพร่ของสาร
ใครรู้จริงเข้ามาเล่าอะไรเกี่ยวกับอนุภาคดิน / การกระจายตัว / แรงยึดอนุภาค อะไรทำนองนี้แหละ ให้ฟังบ้างสิ
จากคุณ :
หมิว_กรมชล
- [
1 ก.ค. 51 16:41:50
A:58.137.24.209 X:
]