Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    แรงเสียดทาน (ความเข้าใจผิดจากหนังสือฟิสิกส์นิวตัน)

    คุณ eera แนะนำผมควรแก้ชื่อกระทู้ไม่พาดพิงตัวบุคคล
    ผมทำตามแล้วนะครับ
    เสียดายกระทู้ที่แล้วจริง ๆ เพราะเป็นจุดที่ผิดน่าเกลียดมาก
    (รวมถึงเรื่องแรงหนีศูนย์กลาง)

    ในบทแรงเสียดทานบางประเด็นผมก็ไม่มีความรู้มากนัก แต่ก็จะหยิบยกขึ้นมา
    เพื่อน ๆ ที่รู้รายละเอียดช่วยเติมได้เต็มที่เลยครับ
    ส่วนประเด็นไหนที่ผมท้วงไป แล้วผมท้วงผิด ก็ติงผมได้เช่นเดียวกัน

    สุดท้ายถ้าจบทุกบทแล้วผมจะสรุปที่ผิดแบบออกทะเลทั้งหมดอีกที
    เพื่อจุดประสงค์ว่า เราจะลองส่งไปให้สำนักพิมพ์พิจารณา
    อาจเป็นประโยชน์ในการแก้ไข และพิมพ์หนังสือครั้งต่อ ๆ ไป






    20. มุมภายในสามเหลี่ยมบนระนาบรวมกัน 180 องศา

    หน้า 106 - 108 ทุกจุดที่ผู้เขียนยกตัวอย่างสามเหลี่ยมมุมฉาก 3-4-5 มุมระหว่างด้าน 3-5 เท่ากับ 53 องศา มุมระหว่างด้าน 4-5 เท่ากับ 37 องศา (ไม่ถูกทีเดียวนะครับ เพราะ 53 กับ 37 เป็นเพียงค่าประมาณ - เรื่องนี้เล็กน้อย แต่บอกเด็ก ๆ ไว้สักหน่อยก็ดี) จุดที่ผิดคือ มุมระหว่างด้าน 3-5 ของผู้เขียนคือ 63 องศา ผมเข้าใจว่าพิมพ์ผิด แต่ดูแล้วทั้งในรูป ทั้งในบทบรรยาย ทุกจุดที่มี 63 ทั้งสิ้น ส่วนอีกมุมที่ไม่ใช่มุมฉากก็ระบุชัดว่า 37

    ระดับ 1 ผมถือว่าเขาพิมพ์ผิด (แม้จะนับได้ 10 จุด)





    21. ABS

    (หน้า 104) "แม้แต่ระบบเบรกเอบีเอสของรถยนต์หรือเครื่องบินก็เป็นระบบที่จะทำให้ล้อเกิดแรงเสียดทานกับถนนทุกสภาวะ ไม่ว่าถนนนั้นจะลื่นเพียงใด เพราะนักวิศวกรรมรู้ดีว่า การไม่เกิดแรงเสียดทานขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะเป็นเรื่องอันตรายมาก"

    ประเด็นไม่เกี่ยวอะไรกับระบบ ABS (หรือ anti-lock braking system) แรงเสียดทานขณะเคลื่อนที่แปรตามตัวแปร 2 ตัวคือ สปส.ความเสียดทานจลน์ กับ normal force ถ้า 2 ค่านี้คงที่ แรงเสียดทานก็คงที่ abs เครื่องบิน หรือรถยนต์ จึงไม่ได้เป็นระบบที่ทำให้ล้อเกิดแรงเสียดทาน แต่เป็นระบบที่แก้ปัญหาการลื่นไถลไม่อาจควบคุมทิศทาง เพราะเราไม่อยากให้เบรกล็อกล้อตายตัว ไม่งั้นมันจะควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ไม่ได้ ระบบเอบีเอสจึงใช้ไอเดียแบบจับปล่อยจับปล่อยด้วยความถี่เยอะสักหน่อย เพื่อให้มันเบรกได้หนึ่งล่ะ และเพื่อให้มันควบคุมทิศทางได้เป็นเหตุผลสำคัญ

    ระดับ 3





    22. มีแรงเสียดทาน ให้นึกถึงการเคลื่อนที่ของผิวสัมผัสวัตถุ 2 ชิ้น

    (หน้า 105) "แรงเสียดทานในทางกายภาพจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุด้วย เช่น คนที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัมเดินบนพื้นชนิดเดียวกันย่อยมีแรงเสียดทานมากกว่าคนหนัก 50 กิโลกรัม พื้นแต่ละชนิดมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแตกต่างกัน"

    จุดนี้ละเอียดอ่อนสักนิด จู้จี้จุกจิกหน่อยนะครับ ผมเถียงได้ว่าการด่วนสรุปดังกล่าวไม่จริง คนที่มี "มวล" 100 กิโลกรัมใส่รองเท้าแตะที่ดอกยางหายเกลี้ยง กับคนที่มี "มวล" 50 กิโลกรัมใส่ไนกี้ เดินบนพื้นเดียวกัน คนไส่ไนกี้น่าจะมีแรงเสียดทานในระหว่างที่เดินมากกว่า จุดที่ผมบอกว่าจู้จี้จุกจิกไปนิดคือในบทนี้ทั้งบทผู้เขียนไม่ได้แสดงความสำคัญของคู่ผิวสัมผัสเลย ทั้ง ๆ ที่คู่ผิวสัมผัสนี่แหละเป็นตัวแปรหนึ่งของแรงเสียดทาน (ค่า สปส ไงครับ) จะพูดว่า สปส ความเสียดทานขึ้นอยู่กับสภาพพื้นอย่างเดียวไม่ถูก (หรือถูกไม่สมบูรณ์ - และความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับเรื่องนี้ต้องการความสมบูรณ์) เราต้องดูด้วยว่าคู่วัตถุที่มาสัมผัสมันมีสภาพผิวเป็นอย่างไร

    เรื่องน้ำหนัก กับ มวล ท้วงไปแล้วในบทแรก และเชื่อว่าคงมีผิดทั้งเล่ม

    ระดับ 2

    แก้ไขเมื่อ 23 ก.ค. 51 17:57:22

    จากคุณ : ศล - [ 23 ก.ค. 51 15:53:11 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom