อนุภาคเล็กมากๆ อย่างอิเล็กตรอน แผ่สนามไฟฟ้าออกมารอบๆตัวมันกว่า 13 พันล้านปีแล้ว
และสนามไฟฟ้า ก็ถือเป็นพลังงานอย่างหนึ่งเช่นกัน ในเมื่อมันแผ่ออกมารอบๆตัวมันอยู่ตลอดเวลา และนานอย่างนี้ ทำไมสนามไฟฟ้าหรือพลังงานนั้น ไม่หมดจากตัวมันซักทีล่ะครับ
หรือว่า ที่มันไม่หมด เป็นเพราะลักษณะพิเศษของสนามไฟฟ้านี้ ที่มีลักษณะการแผ่ออกไป แล้วโค้งหรือวนกลับเข้ามาที่ตัวอนุภาคหรือแหล่งกำเนิดอีก (Loop)
ทำให้สนามที่มันแผ่ออกไปนั้น วนกลับมาและเคลื่อนที่ออกจากอนุภาคแบบนี้ ซำๆ อยู่เรื่อยๆ ทำให้มันไม่มีการสูญเสียพลังงานของการแผ่สนามไฟฟ้าไปรอบๆตัวมัน เหมือนแผ่ออก แล้วก็ได้รับกลับ
อย่างนี้หรือเปล่าอ่ะครับ
ถ้าไม่ใช่อย่างนี้ งั้นก็แสดงว่า อนุภาคสามารถแผ่สนามไฟฟ้าออกมารอบๆตัวมัน โดยไม่มีวันหมด นั่นก็เท่ากับว่า พลังงานที่อนุภาคนำมาสร้างเป้นสนามไฟฟ้า ก็เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดได้เช่นกัน ใช่หรือเปล่าครับ
แก้ไขเมื่อ 31 ส.ค. 51 19:14:53
แก้ไขเมื่อ 31 ส.ค. 51 19:12:49
จากคุณ :
Styer
- [
31 ส.ค. 51 19:12:02
]