ความคิดเห็นที่ 46

มาขอเฉลยละกัน แต่ไม่ใช่เฉลยคำตอบนะคะ เป็นเฉลยคำถาม
คือจากกระทู้ "ทำไมเข้ากระทู้คุณศลไม่ได้" ซึ่งบางคนอาจจะเคยเข้ามาดูค่ะ http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6821235/X6821235.html
อยากให้ลองเข้าไปดูซักนิดนึง (อาจจะมีเกรียนหญิงบ้าง ขออภัย )
ที่ถกเถียงกันเรื่องแรงหนีศก. แรงเข้าสู่ศก. (จริงๆแล้วโจทย์นี้ ถูกดัดแปลงเล็กน้อยจากความเห็นที่ 200 และ 236)
เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่ายังมีบางจุดที่ไม่เข้าใจอยู่ค่ะ ซึ่งบางคน บอกไว้ว่า แรงหนีศก.ไม่มี จริง มีแต่แรงเข้าสู่ ศก.
ซึ่งพอมาช่วงหลังๆ ก็เกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นแล้ว ว่า น่าจะไม่มีอยู่จริงค่ะ เลยลองหาข้อผิดพลาด จาก แรงสู่ศก.นี้ดู
ปรากฏว่า ก็ยังไม่เข้าใจในบางจุดอยู่ดี (เช่น รถไต่ถัง ซึ่งตอนหลัง ยังสรุปไม่ได้)เลยเอาทฤษฎี มาทำเป็นโจทย์ เพื่อให้วิเคราะห์กันได้ง่ายขึ้น
จึงได้ตั้งโจทย์ เพราะเปรียบเทียบระหว่าง เเรงเข้า กับแรงออก จากกระทู้ที่แตกออกมา "แรงตึงเชือก???" http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6966053/X6966053.html
แล้วลองดูว่า แรงเข้าสู่ศก. เวลานำมาคิด จะตรงกับภาพซ้ายหรือขวาในกระทู้ที่แล้ว แน่นอนว่าคำนวณหาค่า a ได้ไม่เท่ากัน
มาจนกระทู้นี้ "แรงหนีศก." ก็โผล่มาอีกแล้ว เป็นไปตามคาดเลยค่ะ ก็เลย ทำให้ได้คำตอบ ที่ออกจะหลากหลาย
มิ้นก็เลย งง กว่าเดิม
. . .
อาจจะเหนื่อย ซักนิด แต่อยากได้ความเข้าใจจริงๆค่ะ
จากกระทู้"ทำไมเข้ากระทู้คุณศลไม่ได้"สรุปได้ว่า
แรงหนีศก.เป็นแรงมายา >ใช่เป็นแรงมายา แล้วไงต่อ เป็นแรงมายาแล้วยังไงต่อ นำมาคำนวณได้ไหม หรือใช้อธิบายการเคลื่อนที่ นำมาคำนวณไม่ได้เลย
แรงมายา(Fictitious force)บางทีเรียก แรงสูโด แรงดาเลมเบิร์ต แรงเฉื่อย เป็นแรงปรากฎต่อมวลในกรอบอ้างอิงไม่เฉื่อย-เปลี่ยนความเร็ว-มีความเร่ง แรงมายามิได้เกิดจากปฏิกายภาพ แต่เกิดจากความเร่งต่อกรอบอ้างอิงนั้น A fictitious force, also called a pseudo force[1], d'Alembert force[2][3] or inertial force[4][5], is an apparent force that acts on all masses in a non-inertial frame of reference, such as a rotating reference frame. The force F does not arise from any physical interaction but rather from the acceleration a of the non-inertial reference frame itself. Due to Newton's second law in the form F = m a, fictitious forces always are proportional to the mass m acted upon.
กรอบอ้างอิงไม่เฉื่อยใช้แรงมายามาคำนวนสะดวก แรงมายามี 4 ชนิด 1 แรงจากความเร่งทางตรง 2 แรงหนีศูนย์กลาง 3 แรงโคลิโอลิส 4 แรงออยเล่อร์ Non-inertial reference frames may be a convenience in calculation, or an intuitively appealing explanation of everyday life, but whenever using a non-inertial reference frame, its acceleration results in fictitious forces. Four fictitious forces are defined in accelerated frames: one caused by any relative acceleration of the origin in a straight line (rectilinear acceleration),[6] two caused by any rotation (centrifugal force and Coriolis force) and a fourth, called the Euler force, caused by a variable rate of rotation, should that occur. http://en.wikipedia.org/wiki/Fictitious_force
แรงเข้าสู่ศก.เป็นแรงจริง >เพราะอย่างนั้น ต้องนำแรงนี้มาคำนวณสิ
Fc = mv^2/r Fc คือแรงเข้าสู่ศก. มีทิศเข้าสู่ศก. (หรือเป็นแรงหนีศก. มีทิศออกจากศก.)
แรงกริยา และแรงปฏิกริยากระทำกันบนคนละวัตถุ ไม่สามารถหักล้างกันได้ >แปลว่า ถ้าคำนวณแรงเข้าสู่ศก.ก็ไม่ต้องคำนวณแรงหนีศก.(หากแรงทั้งสองเป็นแรงกริยา ปฏิกริยาซึ่งกันและกัน)
ตอนแรก จึงสรุปได้ว่า โจทย์ข้อนี้ คล้ายกับโจทย์ในกระทู้ "์แรงตึงเชือก??" ของรูปด้านซ้าย
---
หากคิดโดย ใช้แรงหนีศก.คำนวณก็จะเป็นดังรูป ด้านขวา
---
แต่พอมองย้านไปถึงบางความคิดเห็น ของกระทู้ "ทำไมเข้ากระทู้คุณศลไม่ได้" ความคิดเห็นที่ 17 " คุณมิ้นๆ เชื่อเหอะว่าแรงหนีศูนย์กลางมันไม่มีจริง
ลองนึกถึงโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ มีอยู่แรงเดียวแท้ๆคือแรงดึงดูด ไม่มีแรงอื่นใดเลย มันก็ยังโคจรกันอยู่ได้ "
ความเห็นที่ 23 "การสรุปว่า "ถ้ามีแต่แรงสู่ศูนย์กลาง วัตถุก็จะตก" เป็นการใช้ตรรกะที่ผิด หรือเป็น logical fallacy อย่างหนึ่ง เหมือนโลกมีแรงดึงดูดดวงจันทร์ ก็ไม่เห็นดวงจันทร์มันจะตกลงมาบนโลก ดวงอาทิตย์มีแรงดึงดูดโลก ก็ไม่เห็นลงจะพุ่งชนดวงอาทิตย์ตาย ลองวาด free body diagram ของดวงจันทร์ดู ก็เห็นมีแรงมากระทำกับมันแค่แรงเดียวคือแรงดึงดูดจากโลก (ซึ่งก็มีที่มาจากกฎความโน้มถ่วงของนิวตัน) หรือถ้ามันมีแรงอื่นนอกจากนี้ ก็ช่วยบอกด้วยครับว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเอาไอพ่นไปติดดวงจันทร์หรือเปล่า"
ความคิดเห็นที่ 67 ของคุณศล " กรณีฟิสิกส์นิวตัน การที่วัตถุรักษาสภาพการเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้ แสดงว่าต้องมีแรงใดแรงหนึ่งมีทิศพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง และเรียกแรงนั้นว่าแรงสู่ศูนย์กลาง ในกรณีนี้คือ แรงตึงเชือก หมายความว่า แรงตึงเชือก ทำหน้าที่เป็น แรงสู่ศูนย์กลาง "
และจากความเห็นที่ 223 ของมิ้นหลังจากดูความเห็นของหลายๆท่าน " แรงเข้าสู่ศูนย์กลางเป็นแรงที่มีอยู่จริงค่ะ มีบทบาทชัดเจน
บางทีมัน คือแรงโน้มถ่วง (มอเตอร์ไซค์ตีลังกา) mg ;Fc แปรผันตาม g บางทีมัน คือแรงปฏิกริยา (รถไต่ถัง) N;Fc แปรผันตาม แรงกริยา (???) บางทีมัน คือแรงเสียดทาน (หยดน้ำบนจานหมุน) f;Fc แปรผันตาม u และ N บางทีมัน คือแรงตึงเชือก (แกว่งเชือก) T;
เห็นไหมคะ แรงสู่ศูนย์กลางมีจริงๆ เข้าใจผิดไปคนเดียว อยู่ตั้งนาน "
>> อาจคาดการณ์จากคำพูดได้ว่า จริงๆแล้วแรงเข้าสู่ศก.คือแรงดึงดูดของโลกต่อ m2 เพราะฉะนั้นคิดแค่ครั้งเดียว
คำตอบจึงน่าจะเป็นตาม คุณ delabiere
วัตถุ m1 จะถูกดึงมาจนติดรู ------------------------------------------------
ยังไงก็ตาม จขกท. ไม่มีความรู้แน่ชัดพอ
ก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่าคำตอบแบบไหนถูกต้อง จึงอยากให้ช่วยกันวิเคราะห์อีกทีค่ะ
ผิดพลาดช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
จากคุณ :
มิ้นๆ (mint_la)
- [
7 ก.ย. 51 01:53:55
]
|
|
|