## ประเด็นที่ 3 ##
"วิธีที่ใช้น้ำดักจับนิวตริโน"
เป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน อาศัยหลักการว่า
- "ความเร็วแสงในน้ำ" จะลดลงจากความเร็วแสงในสุญญากาศมากพอควร (ช้าลง 25%)
- เมื่อนิวตริโนทำปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อน (weak interaction) เกิด lepton (เช่นอิเล็กตรอน) ที่วิ่งเร็วกว่า "ความเร็วแสงในน้ำ"
(แต่ไม่เร็วกว่าความเร็วแสงในสุญญากาศ เพราะเป็นไปไม่ได้)
ก็จะเกิด "shockwave ของแสง" ที่เรียกว่ารังสีเซเรนคอฟ (Cerenkov radiation)
(คล้ายๆ เครื่องบินเมื่อบินเร็วกว่าความเร็วเสียงในอากาศ ก็จะเกิด shock wave ของคลื่นเสียง)
- รังสีเซเรนคอฟ ก็จะเป็นแสงรูปกรวย (เหมือน shockwave ของเสียง)
ไปลงที่เครื่องวัด (Photomultiplier tube : แปลงแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า) ที่อยู่รอบๆถังน้ำ
ทำให้เรารู้ความเร็วและทิศทางของนิวตริโนที่ผ่านเข้ามาได้
- แต่นิวตริโนตัวไหนที่พลังงานจลน์ต่ำๆ ไม่ทำให้เกิด lepton ความเร็วสูง
มันก็จะผ่านไปเฉยๆ เครื่องก็จะตรวจจับมันไม่ได้
แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 51 00:50:08
แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 51 00:46:48
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 51 22:09:12
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 51 22:03:52
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ย. 51 21:59:38