ความคิดเห็นที่ 8

Texas Instruments TI-89
ลักษณะทั่วไป
TI-89 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1998 ใช้หน้าจอขนาด 160x100 พิกเซล ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ที่ชื่อว่า Advanced Mathematics Software
TI-89 ใช้ตัวไมโครโปรเซสเซอร์แบบ 32 บิต ของโมโตโรล่ารุ่น Motorola 68000 มีความเร็วในการประมวลผลแบบปกติ 10 - 12 MHz มีหน่วยความจำแรม (RAM memory) ขนาด 256 KB (ผู้ใช้สามารถใช้งานได้จริง 190 KB) และหน่วยความจำแฟลช (Flash memory) ขนาด 2MB (ผู้ใช้สามารถใช้งานได้จริง 700 KB) เราใช้หน่วยความจำแรมและแฟลชเพื่อการบันทึก expressions, programs, tables, text files และ lists
กล่าวได้ว่า TI-89 ก็คือ TI-92 Plus ซึ่งใช้แป้นพิมพ์แบบธรรมดา (TI-92 Plus ใช้แป้นพิมพ์แบบสัมผัสที่เรียกว่า QWERTY) และมีขนาดหน้าจอเล็กกว่า เพื่อทำให้ได้รับอนุญาตให้สามารถนำเข้าห้องสอบได้ (TI-92 ถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์มากกว่าจะเป็นเครื่องคิดเลข เพราะว่ามีแป้นพิมพ์แบบสัมผัสนั่นเอง)
นอกจากนี้หลายคนมองว่า TI-92 เป็นอะไรที่เทอะทะ และไม่สะดวกในการพกพา ซึ่งต่างจาก TI-89 ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ด้วยความที่มีการติดตั้ง Flash ROM มาให้ด้วยทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมที่ตัวเองเขียนขึ้น หรือดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ตเข้าไปได้ในภายหลัง เป็นการขยายความสามารถในการคำนวณเฉพาะด้านให้กับ TI-89 ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ฟีเจอร์สำหรับผู้ใช้ (User features)
ข้อดีหลักๆของ TI-89 เหนือเครื่องคิดเลขรุ่นก่อนหน้านี้ของ Texas Instrument ก็คือ มีการติดตั้งระบบพีชคณิตคำนวณ (Computer algebra system) หรือ CAS มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้สามารถคำนวณประโยคทางพีชคณิตแบบสัญลักษณ์ได้ เช่น
จงแก้สมการต่อไปนี้?
(x^3-x^2-8x+12)/(x+3) = ?
ซึ่ง TI-89 จะสามารถคำนวณหาคำตอบออกมาได้เป็น (x2-4x+4)
สังเกตว่าคำตอบที่ได้จะมีหน้าตาเหมือนกับที่เราเขียนในกระดาษคำตอบเลยทีเดียว
นอกจากนี้ TI-89 ยังมีความสามารถอีกหลายๆอย่าง เช่น Algebraic factoring of expressions Algebraic simplification เช่น sin(60 degree) จะได้ √3/2 แทนที่จะเป็น 0.86602 Evaluation of trigonometric expressions to exact values Solving equations for a certain variable เช่น solve(tan(x+2)=0,x) จะได้ x=@n1π-2 เมื่อ @n1 เป็นจำนวนเต็มใดๆ Finding limits of functions Symbolic differentiation and integration การโปรแกรม (Programming)
ใน TI-89 เราสามารถ เขียนโปรแกรม ลงไปโดยตรง ในเครื่อง โดยใช้ ภาษาในการโปรแกรม ที่เรียกว่า TI-BASIC ซึ่งแยกมาจาก ภาษาเบสิก (BASIC language) แบบที่เรา ใช้ในคอมพิวเตอร์ หรือ เราอาจจะใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรา ในการโปรแกรม เป็น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) หรือ ภาษาซี (C language) แล้ว ทำการแปลง ให้เป็น ภาษาเครื่อง (machine language) และ คัดลอก ใส่เข้าไป ในเครื่องคิดเลข อีกทีก็ได้
สำหรับ ซอฟท์แวร์ ที่ใช้ในการ พัฒนาโปรแกรม หรือ Software Development Kit (SDK) นั้น ได้แก่ TI Flash Studio ซึ่งเป็น Official TI SDK ใช้ การโปรแกรมเป็น ภาษาซี
SDK อีกตัวหนึ่ง ได้แก่ TIGCC เป็น third-party SDK ของ GCC นั่นเอง
ฟีเจอร์หลัก
มีหน่วยความจำ 890 KB (แบ่งเป็น RAM 188 KB และ ROM 702 KB สำหรับเก็บ Calculator Software applications) สามารถ อัพเกรดซอฟแวร์ โดย การดาวน์โหลด ได้จากเว็บไซต์ มีระบบการแสดงผล แบบ Pretty Print และ สามารถแสดงผล เป็น 2 ส่วนคือ บน/ล่าง ซ้าย/ขวา ในหน้าจอ Home Screen สามารถ เรียกคำสั่ง ที่ได้ทำไปแล้ว ย้อนกลับได้ถึง 99 คำสั่ง สามารถ คำนวณ และ ให้ผลลัพธ์ได้ ทั้ง จำนวนจริง และ จำนวนเชิงซ้อน ทางพีชคณิต แคลคูลัส สมการดิเฟอเรนเชียล สามารถติดตัวแปรได้ สามารถ คำนวณ และ แปลงหน่วย ได้มากกว่า 100 หน่วย จาก 28 หมวด และ มี 20 ค่าคงที่ สามารถ วาดกราฟสมการฟังก์ชัน กราฟสมการอิงตัวแปรเสริม กราฟสมการเชิงขั้ว กราฟลำดับ กราฟสามมิติ กราฟดิฟเฟอเรนเชียล สามารถ กำหนดสมการ ของกราฟต่างๆ รวมกัน ได้มากกว่า 99 สมการ และ บันทึกกราฟได้ สามารถ แสดงค่าที ่ได้จากสมการ ในรูปของตาราง วิเคราะห์กราฟ ของฟังก์ชัน หารากสมการ จุดสูงสุด จุดต่ำสุด พื้นที่ใต้กราฟ ความชัน จุดตัดของกราฟ จุดเปลี่ยนโค้ง (Inflection) สมการเส้นสัมผัส ความยาวส่วนโค้ง ความชัน และ ทิศทางของสนาม โดยรอบของ สมการเชิงอนุพันธ์ วิธีแก้ปัญหา ของสมการ เชิงอนุพันธ์ ด้วยวิธีเชิงตัวเลข แบบ RK และ Euler สามารถ หมุนภาพสามมิติ ตามแนวแกน X ,Y ,Z การวิเคราะห์ทางสถิติ แบบ 1 ตัวแปร 2 ตัวแปร และ หาสมการถดถอย ได้ 8 รูปแบบ เขียนกราฟทางสถิติ แบบจุด แบบเส้น XY แบบ Box Plots สามารถ วาดกราฟฮีสโตแกรม และ สมการถดถอย การกระทำทางเมตริกซ์ ได้แก่ inverse ,determinant ,transpose ,augment ,elementary ,row operation ,reduced row echelon form และ สมาชิกของเมทริก เป็นได้ทั้ง จำนวนจริง จำนวนเชิงซ้อน และ ติดตัวแปรได้ การกระทำทางเมตริกซ์ ชั้นสูง eigenvalues ,eigenvectors ,LU ,QR สูตรการคำนวณ ของคอลัมน์ ใน Data/matrix จะคำนวณ และ เปลี่ยนค่าใหม่ อัตโนมัติ เมื่อตัวแปร เปลี่ยนค่าใหม่ การแก้สมการ โดยการแทนค่า (Numeric Equation Solver) การกระทำ ทางคณิตศาสตร์ ในระบบเลขฐาน 16 และ ฐาน 2 รวมทั้ง การแปลงฐาน สามารถ เก็บโปรแกรม ได้เต็มหน่วยความจำ ที่เตรียมไว้ให้ และ ผู้ใช้ สามารถ กำหนดฟังก์ชัน เพิ่มเติม จากที่เครื่อง กำหนดไว้ เขียนโปรแกรม โปรแกรมด้วย ภาษา Assembly , ภาษา C คำสั่งใน Catalog สามารถ อธิบายวิธีใช้ โดยกด Help (F1) การจัดการ หน่วยความจำ สามารถ สร้างโฟลเดอร์ เพื่อใช้งานเฉพาะ สัญลักษณ์ทั้งหมด 255 สัญลักษณ์ สามารถ ใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์เสริม Calculater-Base Laboratory (CBL2) ,Calculater-Base Ranger (CBR) สามารถรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องต่อเครื่องได้ โดยใช้สาย Unit-to-unit link cable ซึ่งรวมอยู่ในแพ็คเกจ สามารถรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างเครื่อง กับ คอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้อุปกรณ์เสริม TI-Graphlink สำหรับชุดครูผู้สอน มีหัวต่อ สำหรับต่อเข้ากับ เครื่องฉายภาพขึ้นจอ (View Screen) หรือ เครื่องฉายภาพ ขึ้นโทรทัศน์ กับ โปรเจคเตอร์ (TI-Presenter) ใช้แบตเตอรี่ ขนาด AAA จำนวน 4 ก้อน และ แบคอัพแบตเตอรี่ แบบ ลิเทียม เพื่อป้องกัน ข้อมูล สูญหาย ขณะเปลี่ยน แบตเตอรี่หลัก
ราคาไม่ชัวร์อ่ะคับ
credit : Administrator http://www.thaicalculator.com
p.s. รุ่นนี้อาจารย์สอน math ที่ สถาบันใช้อยู่อ่ะคับ สุดยอดจิงๆๆ
จากคุณ :
a.lovejoy
- [
12 ธ.ค. 51 15:32:57
]
|
|
|