ความคิดเห็นที่ 28

จริง ๆ แล้ว ประเทศไทย (รวมถึง ทร.ไทย) ไม่ใช่เพิ่งมาต่อเรือ ต.991 เป็นลำแรกนะครับ ก่อนหน้านี้ มีการจ้างต่อ และต่อเองมาเยอะแยะมากมายเลยขอให้ข้อมูลคร่าว ๆ ดังนี้นะครับ
เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ร.ล.ล่องลม กรมอู่ทหารเรือ ร.ล.คำรณสินธุ , ร.ล.ทยานชล Ital Thai Marine
และเรือที่ปรับปรุงแบบจากแบบของเรือชุดนี้คือ เรือดำรงราชานุภาพอีกลำ ของตำรวจน้ำ
เรือตรวจการณ์ปืน ชุดเรือหลวงสัตหีบ ร.ล.สัตหีบ , ร.ล.คลองใหญ่ , ร.ล.ตากใบ , ร.ล.กันตัง , ร.ล.เทพา , ร.ล.ท้ายเหมือง Ital Thai Ltd.
เรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล. หัวหิน ร.ล. หัวหิน , ร.ล. แกลง อู่เอเชียนมารีน เซอร์วิส จำกัด มหาชน ร.ล. ศรีราชา กรมอู่ทหารเรือ
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด เรือ ต.91 , ต.91-ต.99 โดย กรมอู่ทหารเรือ
เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด ร.ล.ถลาง Bangkok Dock Co.Ltd.
เรือสำรวจขนาดใหญ่ ร.ล.ศุกร์ Bangkok Dockyard
เรื่อใช้งานเครื่องหมายทางเรือ ร.ล.สุริยะั Bangkok Dockyard
เรือยกพลขนาดใหญ่ ร.ล.สีชัง Ital Thai ร.ล.สุรินทร์ Bangkok Dock Ltd.
เรือระบายพลขนาดใหญ่ ร.ล.ทองแก้ว , ร.ล.ทองหลาง , ร.ล.วังนอก , ร.ล.วังใน Bangkok Dock
เรือน้ำ ร.ล.จวง กรมอู่ทหารเรือ ร.ล.จิก Bangkok Doc
เรือน้ำมัน ร.ล. เปริด, ร.ล. เสม็ด (ลำที่สอง) กรมอู่ทหารเรือ
เรือตรวจการประมง ชุด ร.ล. สารสินธุ, เทียวอุทก และ ตระเวณวารี กรมอู่ทหารเรือ
เรือยามฝั่ง 9 -12 กรมอู่ทหารเรือ
เรือบรรทุกน้ำมัน ร.ล. ปรง กรมอู่ทหารเรือ
เรือตอปิโดเล็ก ชุด ร.ล. สัตหีบ (ลำที่หนึ่ง) ร.ล. สัตหีบ (ลำที่หนึ่ง)
เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น ชุด เรือ ท.1 (ลำที่สอง) เรือ ท.1- ท.5 กรมอู่ทหารเรือ
เรือลากจูง (เรือ TUG) ชุด ร.ล. แสมสาร (ลำที่สอง) ร.ล. แสมสาร, ร.ล. แรด กรมอู่ทหารเรือ
เรือระบายพลขนาดใหญ่ ชุด ร.ล. มันนอก ร.ล.มันนอก , ร.ล.มันกลาง , ร.ล.มันใน อู่ต่อเรือ บริษัท สหายสันต์ จำกัด
นอกจากนี้เรือต่าง ๆ ที่ต่้อจากจีนก็ได้มีการนำโนว์ฮาวที่เรามีอยู่ไปปรับปรุงแบบ ให้ออกมาเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ด้วยครับ
จะเห็นได้ว่ากองทัพเรือและคนไทยเอง มีประสบการณ์ในการต่อเรือสูงเหมือนกันนะครับ และก็หลายชนิดหลายประเภทด้วย ถ้าเรามีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่าง อู่ต่อเรือเอกชน(รวมถึงที่ต่อเรือประมงทั้งหลายด้วย) กับ ทร. และทำวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัย และรับช่างที่ต่อเรือในเอกชนมาฝึกหัดและร่ำเรียนเพิ่มเติมกับกรมอู่ฯ ประเทศไทยเราน่าจะพัฒนาศักยภาพในการต่อเรือ ให้เป็นอุตสาหกรรมในประเทศที่เจริญและยั่งยืนได้ครับ (ทั้งนี้ก็เกี่ยวเนื่องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่นการเมือง และเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน)
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะส่งเสริม คือ การให้การศึกษาในระดับปริญญาตรี , โท ,เอก ในสาขาการออกแบบต่อเรือ , เครื่องกลเรือ ในประเทศ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ยังมีเปิดสอนกันอยู่น้อยมาก ทำให้บุคคลกรทางด้านนี้ยังมีน้อยอยู่ครับ
จากคุณ :
zedth
- [
7 มี.ค. 52 01:15:19
]
|
|
|