ความคิดเห็นที่ 44
ในที่สุด คุณ sb*star ก็เข้ามาตอบ ดีใจจริงๆ
ขอขยายความนิดนึง จากที่คุณพูดถึง สัญชาตญาณ คือ ปฏิกริยาของสัตว์(ที่มีสมอง) ที่ทำโดยไม่ต้องคิด (ขอเพิ่มคำว่า) ในการดำรงชีวิต / เพื่อเอาตัวรอดจากความตาย / เพื่อสืบพัันธุ์ เช่น การป้องกันตัวตามสัญชาตญาณ เมื่อถูกทำร้าย, การหาคู่สืบพันธุ์, หรือการที่ปลาบางชนิด ที่เพศผู้ต้องกลับเพศมาทำหน้าที่วางไข่ เพื่อให้เพศผู้ตัวอื่นมาผสมพันธุ์ ก็มาจากสัญชาตญาณพื้นฐาน ทั้งสิ้น
ส่วน อาการกลัว นั้น ไม่ได้มาจากระบบอัตโนมัต ของร่างกาย แต่มาจากความรู้ การเรียนรู้และ/หรือประสบการณ์
ขอยกตัวอย่าง มาสาธกะ ตามความเห็นผม การที่สัตว์ป่า (ไม่มีความรู้) มีอาการกลัวนั้น มาจากสัญชาตญาณพื้นฐาน แต่สัตว์บ้าน ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการดำรงชิวิต มักจะสูญเสียสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด จำได้แต่สัญชาตญาณในการสืบสานต่อเผ่าพันธ์
ลิง เห็นปืนที่นายพรานทำหล่น ไม่รู้จัก เข้าไปเล่น เกิดปืนลั่น มีเพื่อนเสียชีวิต เสียงปืนก็ดัง ตั้งแต่นั้น จึงจะเรียนรู้ว่าน่ากลัว
มนุษย์ ไม่รู้จักอาวุธนิวเคลียร์ เอามาลองใช้ประหัตประหารมนุษย์ด้วยกัน พอเห็นผลที่ตามมา เรียนรู้ถึงอานุภาพ ถึงจะกลัว (แต่เข็ดหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่า อาวุธนิวเคลียร์ มีไว้ขู่ ไม่ได้มีไว้ใช้จริง)
กลับมาเข้ากระทู้ เรื่องความกลัว / ความตาย ว่าเรากลัวอะไรกันแน่ คุณ sb*star ตั้งข้อสังเกต มาเป็น 3 ส่วนคือ กลัวช่วงกำลังจะตาย(ก่อนตาย) กลัวช่วงที่ตาย หรือ หลังความตาย โดยให้ความเห็นมาเป็นคำเรียกต่างๆ ใน คคห 41
ผมเลยขอลงความเห็นว่า มนุษย์ กลัวตาย ตามสัญชาตญาณพื้นฐานในการมีชีวิตรอด (โดยไม่ต้องไปหาเหตุผล) เหตุผลต่างๆ ที่อธิบายมา ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เฉียดไปเฉียดมากับความตาย
เช่นกลัวลำบากเมื่อตายไปแล้ว กลัวทรมาณตอนก่อนตาย
ว่าแล้วก็อยากแตกกระทู้ไปเป็น สัญชาตญาณอยู่เหนือเหตุผล แต่ไว้รอบอื่นแล้วกัน
ท่านอื่นๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ
จากคุณ :
MA<O>MiYA
- [
31 มี.ค. 52 22:22:36
]
|
|
|