ความคิดเห็นที่ 11
ข้างบนยกเลิก ส่งใหม่ข้อความหล่นหายไป ------- การหาเทียบปฏิทินความรู้จะยกระดับไปอยู่ ปานกลางถึงแอดวานซ์เสียหน่อยครับ ยกเป็นตัวอย่างวิธีคำนวณแบบง่ายๆเพื่อเรียกน้ำย่อยก็แล้วกันครับ คือ วันจันทร์ที่ 15มิถุนายน2552 สมมติว่าทราบว่าวันนี้อยู่เดือน๗ไทยแต่ไม่ทราบว่ากี่ค่ำ เราจะมาหาว่าเป็นกี่ค่ำด้วยสังวัตสรอย่างง่ายๆกันครับ และปีนี้เราทราบแล้วว่ามีค่าคงที่ประจำปีคือสังวัตสร2 ------------------------------------------ เอาหล่ะมาดูปฏิทินสุริยคติสากลกัน เขาจะมี "ตัวเลขนับวันสะสม" คือJD ไปหาตัวเลขนับวันสะสมเสียก่อนที่ http://aa.usno.navy.mil/data/docs/JulianDate.php (ตามธรรมชาติJDต้องตั้งเวลาเป็นเที่ยงด้วยนะครับ ) ได้ จันทร์15มิถุนายน2552 มีตัวเลขนับวันสะสม ตรงกับ JD=2,454,998 แต่ปฏิทินไทยมี "ตัวเลขวันสะสม" ด้วย หรคุณ โดยมีสมการที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างปฏิทินทั้ง2คือ --------------------------------- JD=หรคุณ+1954167 --------------------------------- เราจึงได้ว่าจันทร์15มิถุนายน2552 มีตัวเลขนับวันสะสมแบบไทย ตรงกับ หรคุณ=500,831 (เช็คอีกครั้งเมื่อหาร7ได้เศษเป็นวันในสัปดาห์ ซึ่งได้ 2เป็นวันจันทร์ถูกต้อง) .. การคำนวณอย่างไทย เดือนหนึ่งๆเขาจะแบ่งได้30ส่วนเท่าๆกัน เรียกว่า ดิถี มีสูตรดังนี้ --------------------------------- ดิถี = Integer[ (หรคุณ + (650/703) )/(692/703) ] modulo 30 --------------------------------- แทน หรคุณ=500,831 จึงได้วันจันทร์ที่15มิถุนายน2552 มีดิถี 23 อยู่เดือน๗ไทย จริงๆแล้ว "ดิถี" กับ "ค่ำ" ในเดือนไทย อาจมีเหลื่อมได้ประมาณ บวก/ลบ 1 วัน แต่สมมติไปก่อนว่า ดิถี 23 นี้ไปตรงกับค่ำที่ 23 ในเดือน๗ พอดี เมื่อนับจากต้นปีสังวัตสรคือเริ่มวันขึ้น๑ค่ำเดือนอ้าย(เดือน๑ไทย) ไปถึงปลายเดือน๖แรม๑๕ค่ำได้ทั้งหมด 177ค่ำ รวมอีก 23 ค่ำได้เป็นราตรีที่ 200ค่ำ ราตรี200ตั้งลบวันจันทร์มีวาร2 หาร7 ได้ เศษ 2 ตรงกับ สังวัตสร 2 ค่าคงที่ประจำปีนี้ ได้ถูกต้องพอดี ดังนั้นวันจันทร์ที่15มิถุนายน2552ตรงกับค่ำที่23ของเดือน๗ไทย แต่เมื่อหักข้างขึ้นออกไป15ค่ำ จึงตรงกับแรม 8 ค่ำ สรุปได้ว่าวันจันทร์ที่15มิถุนายน2552 ตรงกับ "วันจันทร์แรม ๘ค่ำเดือน๗" เป็นตัวอย่างง่ายๆครับ
จากคุณ :
ภูริ
- [
16 มิ.ย. 52 12:48:33
A:74.86.222.70 X: TicketID:215661
]
|
|
|