ด้วยเหตุที่ว่าคนที่นับถือพุทธในไทยส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเชื่อในเรื่องของบาปกรรมเป็นหลัก
ผมได้สังเกตมาหลายครั้งว่ากลุ่มชนชั้นกลางที่เมื่อย่างเข้าวัยเลย 40 ก็มักจะเริ่มออกตระเวนทำบุญทำทาน อ่านหนังสือธรรมมะ หากใครบอกว่าทำอะไรแล้วได้บุญเยอะก็จะแห่ทำไปทำบุญในลักษณะนั้นกันอย่างครื้นเครง
หลายคนเริ่มเอาหนังสือธรรมะมาแจกเพื่อนร่วมงาน
หลายคนเริ่มออกชวนคนรู้จักไปทำบุญเพราะหวังว่าตัวเองจะได้เป็นกัลยาณมิตรที่ดี
ทั้งๆที่เมื่อก่อนคนเหล่านี้ก็ไม่เคยทำอะไรแบบนี้
ผมเคยลองสอบถามคนกลุ่มนี้หลายคน พบว่า มีหลายคนที่ทำบุญบนแนวคิด "เผื่อไว้"
แนวคิดแบบเผื่อไว้คือ ตัวเองนั้นไม่ได้เชื่อเรื่องบาปกรรม 100% แต่ทำบุญไว้ก็.."ไม่เสียหายอะไร"
ผมจึงสรุปเอาเองว่า คนเหล่านี้กำลังทำบุญแบบเผื่อว่าถ้าเรื่องบาปกรรมนี้เป็นเรื่องจริงตัวเองก็คงจะได้รับผลบุญที่ส่งผลไปให้ตนเองถึงชาติหน้า แต่ถ้าเรื่องบาปกรรมเป็นเรื่องไม่จริงก็ไม่เสียหายอะไรอยู่ดี
ถ้าพูดกันหยาบๆก็คือเป็นการทำบุญแบบ "เผื่อ" ว่าบาปกรรมจะเป็นเรื่องจริงจะได้ไม่ซวยตกนรกก็เท่านั้นเอง ยิ่งถ้าทำเยอะยิ่งอาจจจะโชคดีได้ขึ้นสวรรค์ หรือ ชาติหน้าเกิดมาร่ำรวยอีกต่างหาก
ผมลองมองลึกลงไปอีกนิดนึงก็เริ่มวิเคราะห์ได้ว่าคนเหล่านี้กำลังทำบุญทำทานกันด้วย "ความกลัว"
กล่าวคือ กลัวว่าถ้าบาปกรรมมีจริงแล้วตัวเองดันไม่ได้ทำบุญแล้วชาติหน้าจะเกิดมามีฐานะำไม่ดี หรือ ตอนตายแล้วจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ผมพูดมาทั้งหมดนั้นผมได้ข้อมูลมาจากการสอบถามบุคคลเพียงกลุ่มเดียว และ ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดเป็นเรื่องจริงสำหรับทุกคน ผมเห็นหลายคนที่ไม่เคยทำบุญทำทานอะไรกับใครที่วัดไหนเลย ไม่อ่านหนังสือธรรมมะ พูดจาหยาบกระด้างโหวกเหวก ..แต่รับสุนัขจรจัดมาเลี้ยงไว้เพราะรู้สึกสงสารเท่านั้นแล้วก็ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองทำบุญเลยสักนิดก็มีเหมือนกัน แค่ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อตอบสนองความรู้สึกเวทนาสงสารเท่านั้น (แต่คนเหล่านี้ไม่ใช่คนส่วนใหญ่)
ส่วนตัวแล้วผมไม่ทราบว่าจริงๆแล้วเรื่องบาปบุญคุณโทษ มีจริงหรือไม่ และคิดว่าการที่คนเราออกไปทำบุญกุศลกันเยอะๆไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายเหมือนกัน
พี่ๆในห้องหว้ากอคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ? คิดเหมือนที่ผมคิดรึเปล่า?
ปล.สาเหตุที่ตั้งกระทู้ในห้องนี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยามากกว่าเรื่องศาสนาครับ
จากคุณ :
คนเบอร์เก้า
- [
15 มิ.ย. 52 23:13:00
]