ความคิดเห็นที่ 17
William James Sidis มี IQ ประมาณ 300 พูดได้ 200 ภาษา หรือทุกภาษาในโลก ใช้เวลา 1 วัน ในการเรียนรู้ภาษาหนึ่งๆ ----------------------------------------------------------------------------- in his adult years, it was estimated that he could speak more than forty languages, and learn a new language in a day. http://en.wikipedia.org/wiki/William_James_Sidis ----------------------------------------------------------------------------- "ระดับความฉลาดของไซดิสพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆไม่หยุดดุจเดียวกับน้ำพุที่มีแรง ส่งมหาศาล ยิ่งวันยิ่งใกล้เมฆเข้าไปทุกที ว่ากันว่าพอโตขึ้น ขีดความสามารถในการเรียนรู้ภาษาของเขาก็ถึงระดับที่ไม่มีใครในโลกทำลายสถิติ ได้ตลอดกาล นั่นคือเขาใช้เวลาเพียงวันเดียวทำความรู้จักกับหนึ่งภาษา! แน่นอนครับ เมื่อเก่งขนาดนั้นก็แปลว่าต้องรู้ทุกภาษาในโลก ความจริงคือเมื่อถูกทดสอบ ทุกคนต้องยอมรับว่าไซดิสสามารถเป็นล่ามสด แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งได้ในฉับพลันทันที ไม่ว่าจะให้แปลจากภาษาใดเป็นภาษาใด!" ------------------------------------- ความฉลาดสูงสุด ในปี ๑๘๙๙ หรือกว่าหนึ่งศตวรรษก่อน ไซดิส (William James Sidis) สามารถอ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ได้ตั้งแต่อายุเพียงหนึ่งขวบครึ่ง และต่อมาสามารถเรียนรู้ภาษาละตินด้วยตนเองเมื่ออายุ ๒ ขวบ พอ ๓ ขวบก็เริ่มฝึกพิมพ์ดีด ด้วยการเขียนจดหมายสั่งของเล่นมาให้ตัวเอง! ถ้าการเป็นนักเขียนอายุน้อยที่สุดในโลกของไซดิสยังไม่ทำให้คุณทึ่งมากพอ ก็ขอให้ดูวีรกรรมเมื่ออายุ ๘ ขวบของเขา ที่คันไม้คันมือจัด เขียนหนังสือเสร็จไปสี่เล่ม รู้จักไปแล้วสิบภาษา โดยหนึ่งในนั้นเป็นภาษาที่เขาสร้างขึ้นมาเอง มีชื่อเรียกว่า เวนเดอร์กู๊ด (Vendergood) ซึ่งดัดแปลงมาจากภาษาละติน! ว่ากันว่าความฉลาดทางภาษามักไม่ค่อยไปด้วยกันกับความฉลาดในการคำนวณ แต่ขอโทษ ตอนไซดิส ๖ ขวบนะครับ ถ้าคุณให้วันที่ เดือน และปีค.ศ.ใดๆ แล้วลองภูมิเด็กชายไซดิสว่านั่นเป็นวันอะไร เขาจะตอบคุณถูกด้วยวิธีคำนวณในใจ ว่ามันคือวันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ หรืออาทิตย์! และตอน ๖ ขวบนั่นแหละ ที่ไซดิสเข้าโรงเรียนมัธยมและจบภายในเจ็ดเดือนต่อมา จากนั้นก็สอบผ่านโรงเรียนแพทย์เมื่ออายุ ๗ ขวบ! ทายซิตอนอายุ ๑๐ ขวบไซดิสทำอะไร? เขาศึกษาทฤษฎีของไอน์สไตน์ด้วยความพยายามจะหาข้อผิดพลาดให้เจอครับ! ระดับความฉลาดของไซดิสพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆไม่หยุดดุจเดียวกับน้ำพุที่มีแรง ส่งมหาศาล ยิ่งวันยิ่งใกล้เมฆเข้าไปทุกที ว่ากันว่าพอโตขึ้น ขีดความสามารถในการเรียนรู้ภาษาของเขาก็ถึงระดับที่ไม่มีใครในโลกทำลายสถิติ ได้ตลอดกาล นั่นคือเขาใช้เวลาเพียงวันเดียวทำความรู้จักกับหนึ่งภาษา! แน่นอนครับ เมื่อเก่งขนาดนั้นก็แปลว่าต้องรู้ทุกภาษาในโลก ความจริงคือเมื่อถูกทดสอบ ทุกคนต้องยอมรับว่าไซดิสสามารถเป็นล่ามสด แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งได้ในฉับพลันทันที ไม่ว่าจะให้แปลจากภาษาใดเป็นภาษาใด! คุณๆส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อของไซดิสมาก่อน แต่ถ้าพูดถึงหลุมดำหรือ Black Hole แล้ว ส่วนใหญ่คงร้องอ๋อ อันนี้ก็ขอให้ทราบเถิดครับ ว่าหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์เล่มแรกของไซดิสที่ชื่อ The Animate and the Inanimate นั้น ได้พยากรณ์การมีอยู่ของหลุมดำก่อนที่ใครทั้งโลกจะคิดถึงมันด้วยซ้ำ! เด็กอัจฉริยะที่ร่วมสมัยกับพวกเราก็มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ อย่างเช่นไมเคิล เคียร์นีย์ (Michael Kearney) นั้นได้รับการบันทึกจากกินเนสบุ๊กว่าเรียนจบมหาวิทยาลัยเร็วที่สุดในโลก คือได้ปริญญาจากเทนเนสซีเมื่ออายุเพียง ๑๐ ขวบ! ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าก่อนตายเคียร์นีย์จะมีผลงานน่าจดจำมากน้อยเพียงใด นิยามความฉลาดมีอยู่หลากหลาย แต่คุณจะเข้าใจว่าความฉลาดคืออะไร ก็ต่อเมื่อเจอคนฉลาดอย่างไร้กังขา ไม่มีใครเทียบได้ ดังเช่นที่ผมยกตัวอย่างไว้ข้างต้น เพื่อบอกว่าฉลาดมากหรือฉลาดน้อย คุณต้องตั้งเงื่อนไขอะไรขึ้นมาบางอย่างเพื่อทดสอบว่าใครหัวไวกว่าใคร เช่นให้ปัญหายากๆมาข้อหนึ่ง ใครแก้ได้ก่อนถือว่าฉลาด หรือให้ศาสตร์ยากๆมาศาสตร์หนึ่ง ใครแตกฉานก่อนถือว่าเก่ง ยุคของพวกเราคนจะรู้จักค่าความฉลาดจากระดับไอคิว คือยิ่งสูงเหนือร้อยขึ้นมาเท่าไร ก็ยิ่งแปลว่าฉลาดมากขึ้นเท่านั้น ว่ากันว่าโลกนี้มีเพียงหนึ่งเปอร์เซนต์ที่ไอคิวสูงกว่า ๑๓๕ นอกนั้นอยู่ในช่วงประมาณ ๘๕ ถึง ๑๑๕ กันเกือบหมด หลักการวัดไอคิวมักเน้นเรื่องปฏิภาณและการใช้จินตนาการแก้ปัญหาน่างงงวย อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักวิธีวัดไอคิวบางชนิด ที่ถือเอาความปราดเปรื่องในการสร้างผลงานมาเป็นเกณฑ์ ด้วยเกณฑ์นี้อาจพอประมาณได้ว่าอัจฉริยะในอดีตมีไอคิวประมาณไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ก่อนอายุ ๑๗ ความจริงก็คือคุณไม่สามารถสร้างเครื่องมือวัดความฉลาดใดๆได้แน่นอนตายตัว คีตกวีนามอุโฆษอย่างโมสาร์ท และนักวิทยาศาสตร์บันลือโลกอย่างไอน์สไตน์ ได้คะแนนไอคิวกันคนละแค่ ๑๖๐ ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนประเมินเอาอะไรไปเชื่อ ทราบแต่ว่าหลายคนถือเป็นจริงเป็นจัง พอถามว่าไอน์สไตน์ไอคิวเท่าไร ก็จะตอบว่าประมาณร้อยหกสิบกว่าๆ รู้จักชารอน สโตน (Sharon Stone) ไหมครับ? นักแสดงหญิงที่โลกเริ่มรู้จักเธอจริงๆจังๆจากบทสุดโป๊ในเรื่อง Basic Instinct นั่นแหละ ทายซิไอคิวเธอเท่าไหร่
คำตอบคือเกือบร้อยหกสิบ ไล่เลี่ยกับโมสาร์ทและไอน์สไตน์ครับ! คุณคงไม่คาดหวังว่าชารอน สโตนจะแต่งเพลงได้อย่างโมสาร์ท หรือคิดทฤษฎีสัมพัทธภาพได้อย่างไอน์สไตน์ แม้ว่าตามหลักเทียบเคียงด้วยไอคิวแล้ว เธอน่าจะ มีสิทธิ์ ทำได้ ถ้าบอกว่าความฉลาดสูงสุดคือการมีเลขไอคิวเหนือกว่าคนทั้งโลก คุณอาจต้องพบกับความจริงที่น่าสับสนหลายประการ เช่น ในวัยเด็กมาริลีน (Marilyn Vos Savant) ทำสถิติทะลุโลกเป็นทางการไว้กับกินเนสบุ๊ก ว่ามีไอคิวถึง ๒๓๐ ก็น่าสงสัยว่าหากฉลาดที่สุดจริง เหตุใดเธอจึงไม่เป็นสัญลักษณ์แทนความฉลาดเยี่ยงไอน์สไตน์ ทุกวันนี้ลองถามคนทั่วไปดูเถอะว่าใครฉลาดที่สุดในโลก ส่วนใหญ่จะนึกถึงไอน์สไตน์กันแทบทั้งนั้น ไม่มีใครจดจำหรอกว่าไซดิสไอคิว ๒๕๐ และมาริลีน ๒๓๐ ที่ไอน์สไตน์ดังและเป็นที่จดจำ แน่นอนว่าจากผลงาน ไม่ใช่เลขไอคิว ความฉลาดของเขาส่งเสียงดังออกมาเป็นกัมปนาทแห่งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและ นางาซากิ! ความจริงไอน์สไตน์ไม่เคยสร้างระเบิดสักลูก แต่แทบทุกคนก็จดจำเขาในฐานะเจ้าของทฤษฎีอันเป็นต้นตอของระเบิดเขย่าโลก พลังกัมปนาทและอำนาจการทำลายล้างของมัน สามารถกวาดเมืองทั้งเมืองให้หายไปในพริบตาเดียว นั่นเป็นสิ่งน่าครั่นคร้ามสำหรับมวลมนุษย์ คนที่คิดขึ้นมาได้เป็นคนแรกเลยถูกจดจำไว้ว่าฉลาดที่สุดในโลกเป็นธรรมดา ระดับไอคิวจะเท่าไรไม่น่าคำนึง สรุปว่าความฉลาดก็เรื่องหนึ่ง การทิ้งร่องรอยความฉลาดไว้อย่างน่าจดจำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โจทย์ในชีวิตของแต่ละคนต่างกัน เป้าหมายที่ล่อใจให้ทะยานไปถึงก็ต่างกัน ไซดิสใช้เวลาในชีวิตให้หมดไปกับการเรียนรู้สารพัดศาสตร์ที่น่าสนใจ เขาสนใจกระทั่งศาสตร์ลึกลับต่างๆตลอดจนการพิสูจน์จิตวิญญาณในมิติอื่น ส่วนไอน์สไตน์อุทิศ ๓๐ ปีสุดท้ายของชีวิตให้กับทฤษฎีสนามรวม (Unified Field Theory) ด้วยเกรงว่าถ้าไม่ใช่เขา ก็จะไม่มีใครค้นหาความจริงในทฤษฎีนี้พบได้ ด้านคนไอคิวสูงสุดอย่างมาริลีน กลับมองว่าการทำให้คนทั่วโลกฉลาดอย่างเธอ คือเรื่องน่าภูมิใจไม่มีอันใดเกิน จึงเลือกที่จะเขียนหนังสือแนะวิธีเพิ่มพลังสมอง หาความเป็นสุดยอดทางปัญญา คนเราควรมีความฉลาดสูงสุดเอาไว้ทำอะไรกันแน่? ฉลาดเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์อาจเก่งได้ไม่จำกัด เช่นที่ไซดิสโชว์ออฟเอาไว้ ฉลาดเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์เปิดโปงความลับอันยิ่งใหญ่ได้ด้วยคณิตศาสตร์ เช่นที่ไอน์สไตน์เพียรพยายามสุดฤทธิ์ (แต่ตายเสียก่อน) หรือฉลาดเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์จะไอคิวสูงเข้าขั้นอัจฉริยะได้อย่างไร เช่นที่มาริลีนกำลังเขียนหนังสือแนะแนวอยู่ อัจฉริยะประเภทที่ไม่มีข้อจำกัดแห่งวัย และไม่มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย ยิ่งผมศึกษาชีวิตของอัจฉริยะในประวัติศาสตร์มากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความจริงว่าชีวิตของอัจฉริยะแต่ละคนถูกออกแบบมา เพื่อสนองวัตถุประสงค์บางอย่าง และบางทีก็ไม่จำเป็นต้องเกิดประโยชน์กับชาวโลกโดยรวม ตามคัมภีร์พุทธ เจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก็รอบรู้และแตกฉานสารพัดศาสตร์ตั้งแต่ในวัยเยาว์เช่นกัน แม้ฌานอันเป็นสมาธิที่เข้ายากแสนยาก พระองค์ก็สำเร็จได้เองตั้งแต่เพิ่ง ๗ พระชันษา ที่สำคัญพระองค์ตั้งโจทย์ให้กับชีวิต เป็นการเอาคำตอบที่ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยพระองค์เองเป็นคนแรก นั่นคือทำอย่างไรจะไม่ต้องเป็นทุกข์อีก โจทย์หินๆที่พบคำตอบได้แสนยากประเภทนี้ ไม่ค่อยมีใครกล้าตั้ง และขนาดมีคนประกาศไว้ว่าแก้โจทย์ได้แล้ว ค้นพบวิธีพ้นทุกข์ สงบสุขชั่วนิรันดร์แล้ว ก็ไม่ค่อยมีใครอยากเชื่อ ไม่ค่อยมีใครอยากทดลองตาม ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่าเพราะอะไร
ความฉลาดสูงสุด ไม่ใช่เลขไอคิวสูงสุด แต่เป็นการรู้จักโจทย์สำคัญสูงสุด และได้คำตอบเป็นประโยชน์สูงสุด http://dungtrin.com/empty3/19.htm
จากคุณ :
Eloquence
- [
18 มิ.ย. 52 12:47:19
A:118.172.89.238 X: TicketID:219728
]
|
|
|