ความคิดเห็นที่ 17 |
ศาลเกือบทุกประเทศจะตัดสินยกฟ้องข้อกล่าวหาหากหลัก ฐานที่ยื่นฟ้องจำเลยไม่มีน้ำหนักพอ นัยหนึ่งก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริสุทธิ์ถูกลงโทษ โดยถือว่าการที่ผู้บริสุทธิ์ถูกลงโทษแม้เพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่ร้ายกาจยิ่ง กว่าการที่คนร้าย 10 ลอยนวล
คุณคิดเห็นอย่างไรต่อประเด็นเหล่านี้?
- คิดว่ามาตรการคุ้มครองผู้ต้องสงสัยที่ยังไม่ถูกตัดสินโทษในปัจจุบันของประเท ศ่ต่างๆ รวมถึงประเทศไทย เหมาะสมดีแล้ว หรือควรปรับปรุงอย่างไร
Answer : มีหลายประเด็นต้องพิจารณาเพราะมาตรการคุ้มครองผู้ต้องสงสัยหรือจำเลยก่อนถูกตัดสินโทษนั้นมีหลายขั้นตอน ต้องไปดูว่าแต่ละขั้นตอนเหมาะสมแล้วหรือไม่ แต่โดยภาพรวมแล้วควรปรับปรุงไปในทางที่กระทบต่อผู้ต้องสงสัยหรือจำเลยให้น้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพในการตามตัวบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและการลงโทษให้มากที่สุด การบันทึกฐานข้อมูลแหล่งที่อยู่ตามจริงกับบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นแนวคิดที่ดีในการลดการคุกคามต่อผู้ต้องสงสัยแต่มีประสิทธิภาพในการตามตัวกลับมาลงโทษ อย่างไรก็ดีเรายังมีปัญหาในการชั่งน้ำหนักเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวของพลเมืองเป็นเส้นกั้นไม่ให้รัฐทำตัวอุกอาจรุกล้ำเข้าไปในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ แนวคิดนี้จะเป็นจริงได้ต้องให้นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์คิดค้นวิธีระบุตัวบุคคลแบบ real-time และมีระบบจัดการฐานข้อมูลบุคคลที่ทรงประสิทธิภาพก่อน (คำถามนี้ผมเห็นว่าขอบเขตในการพิจารณานั้นกว้างกว่าการจะดูเพียงหลักกม.ที่จขกท.ยกมาในตอนต้นครับ)
- คิดว่าประชาชนในประเทศมีทัศนคติที่เหมาะสมกับหลักการทางกฎหมายเช่นนี้แล้วหรือไม่
Answer : ทัศนคติของประชาชนไม่ใช่ประเด็นที่ผมคิดว่าควรนำมาคำนึงถึงสำหรับการนำหลักกม.ข้างต้นมาบังคับใช้ในสังคมใดสังคมหนึ่ง ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบใจ แต่มันดีสำหรับการดำเนินการด้านกระบวนการยุติธรรม ก็คงต้องให้เป็นไปตามที่เห็นว่าดีนั้น ด้วยเหตุนี้ประชาชนจะมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อแนวคิดเรื่องนี้หรือไม่จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะกระทบต่อการเลือกนำสิ่งที่ถูกต้องมาบังคับใช้ในกระบวนการยุติธรรม แน่นอนว่าถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับหลักคิดเช่นนี้อาจเกิดการต่อต้านขึ้น แต่การทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่เรื่องของการโหวต ถ้าคิด, ถ้าวิจัย, ถ้ามันมีประสบการณ์จากประเทศอื่นสังคมอื่นมาแล้วว่าคิดแบบนี้แล้วดี เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์ที่สุดก็ต้องทำ สุดท้ายประชาชนจะเข้าใจเพราะหลักคิดในเรื่องนี้มันล้อกับความกลัวของมนุษย์มานั่นแหละ (เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น ผมขอให้คุณไปอ่านความเห็นที่ 11 ของคุณ Sial จะเห็นว่ามนุษย์เรากลัวเป็นหนึ่งใน 9 คนที่ไม่ผิดแต่โดนลงโทษทั้งนั้น เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันกับความรู้สึกถึงความยุติธรรมอยู่ในตัวด้วย)
- คิดว่าควรมีบทลงโทษย้อนหลังอย่างไรต่อผู้ที่ประทุษร้ายผู้ต้องสงสัยที่ พิสูจน์ในภายหลังได้ว่าบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายทางกาย (รุมประชาทัณฑ์) หรือวาจา (กล่าวประณามสาปแช่ง หรือพาดหัวข่าวว่าเป็นผู้ร้ายตัวจริง)
Answer : สำหรับระบบกฎหมายของประเทศไทยแล้วไม่ต้องมีบทลงโทษเฉพาะสำหรับกรณีรุมประชาทัณฑ์หรือการสาปแช่งพาดหัวข่าวคนร้ายผิดตัวเป็นพิเศษ เพราะกฎหมายที่มีอยู่ตอนนี้ก็สามารถนำมาลงโทษพวกรุมประชาทัณฑ์และพวกด่วนตัดสินจนทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงอยู่แล้ว (เป็นความผิดตามมาตรา 295, 297, 289 แล้วแต่กรณีสำหรับคนไปรุมประชาทัณฑ์ผู้อื่น และมาตรา 326 สำหรับพวกด่วนตัดสินคนอื่นแล้วทำให้เขาเสียชื่อเสียง)
จากคุณ |
:
คนโง่ว์
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ค. 52 20:24:26
|
|
|
|
|
|