 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
|
ต่อมาก็การทดลองทางคลินิก ยาวมากของฝรั่งครับอ้างอิงลำบากเพราะ ปัจจัยอื่นๆเยอะครับ เช่นสายพันธุ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ ผลก็ถือว่าดีระดับหนึ่ง แต่กลุ่มตัวอย่างเล็ก แนะนำให้อ่านข้ามความคิดเห็นนี้ไปได้เลยครับ
ฟ้าทะลายโจรให้ผลในการป้องกันหวัดและบรรเทาอาการหวัด การศึกษาในนักเรียนโตในช่วงฤดูหนาว ให้กินยาเม็ดฟ้าทะลายโจรแห้ง ขนาด 200 มก./วัน ในเดือนแรกของการทดลองยังไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่กินยาและกลุ่มควบคุม หลังจาก 3 เดือนของการทดลอง อุบัติการณ์การเป็นหวัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อัตราการเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 20% ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอัตราการเป็นหวัดเท่ากับ 62% ผลในการป้องกันของยา (the attributable protective effect) เท่ากับ 33% (52) ผลการรักษาของยาเม็ด Kan-Jang จากสารสกัดฟ้าทะลายโจรแห้งในผู้ป่วยโรคหวัด จำนวน 61 คน อายุ 18-60 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 33 คน กินยาเม็ดฟ้าทะลายโจร 1,200 มก./วัน และกลุ่มควบคุม 28 คน กินยาหลอก ประเมินผลจากอาการแสดง (symptoms) เช่น เจ็บคอ น้ำมูก คัดจมูก ปวดหู ไอ ตัวร้อน ปวดหัว รู้สึกไม่สบายตัว ด้วย Visual Analog Scale (VAS) เพื่อดูคะแนนรวม และประเมินผลจากอาการทางคลินิก (clinical objective findings) ได้แก่ คออักเสบ (rhinitis) ไซนัสและปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ในวันที่ 4 ของการทดลองกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีอาการทางคลินิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีคะแนนรวมของ VAS มากกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าฟ้าทะลายโจรขนาด 1,200 มก. จะทำให้ระยะเวลาของโรคหวัดสั้นลง (53) เช่นเดียวกับผลการศึกษาของ Caceres และคณะ ผู้ป่วยโรคหวัด 2 กลุ่ม กลุ่มที่กินยา Kan-Jang จากสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 1,200 มก./วัน จำนวน 102 คน และกลุ่มควบคุมกินยาหลอก จำนวน 106 คน นาน 5 วัน วัดผลในวันที่ 0, 2 และ 4 ของการรักษา ใช้แบบประเมินตนเอง VAS ซึ่งมีตัววัดคือ อาการปวดศีรษะ เหนื่อย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ มีน้ำมูก phlegin ความถี่และความแรงของการไอ เพื่อวัดความชุกและความรุนแรงของอาการและอาการแสดงของโรคหวัด ผลการทดลองพบว่าวันที่ 2 ของการทดลอง กลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีอาการเหนื่อยและอาการนอนไม่หลับลดลง ลดอาการเจ็บคอและน้ำมูก เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วันที่ 4 ของการทดลอง กลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีความรุนแรงของทุกอาการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะอาการเจ็บคอ น้ำมูก และปวดหู และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ (54) Melchior J และคณะ ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหวัด โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษานำร่องในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นหวัดและไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาในระยะที่ 3 (phase III) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นหวัดและไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเช่นเดียวกัน จำนวน 179 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 89 คน และกลุ่มควบคุม 90 คน ทั้งสองการทดลองกลุ่มทดลองกินยาเม็ดเคลือบน้ำตาล Kan Jang (ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 85 มก. (andrographolide และ deoxyandrographolide 5.25 มก.) และ Acanthopanax senticosus 9.7 มก. (มี eleutheroside B และ E 2%)) ครั้งละ 3 เม็ด 4 ครั้ง/วัน ระยะเวลาในการรับประทานในการศึกษานำร่อง อย่างน้อย 3 วัน ไม่เกิน 8 วัน และการทดลองระยะที่ 3 รับประทาน 3 วัน ประเมินผลโดยใช้ Clinical Report Form (CRF) แบ่งเป็นแบบประเมินตนเองของผู้ป่วย (symptom score) และ CRF ที่ประเมินโดยแพทย์ (diagnosis score) ผลการทดลองในการทดลองนำร่องคือ ผู้ป่วยยอมรับและทนการใช้ยา (compliance and tolerability) ได้มากกว่า 80% ผลการประเมินตนเองพบว่าคะแนนของอาการที่ดีขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และกลุ่มทดลองมีความแตกต่างของคะแนนรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม 30% แต่เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มอาการพบว่า กลุ่มทดลองจะมีอาการเจ็บคอลดลง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลองในระยะที่ 3 พบว่า คะแนนรวมของแบบประเมิน diagnosis score และ symptom score ในกลุ่มทดลองจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยคะแนน symptom score และ diagnosis score ของกลุ่มทดลองจะดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม 55 และ 50% ตามลำดับ เมื่อแยกตามอาการกลุ่มทดลองจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไอ คอแห้ง ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากการทดลอง 3 วัน กลุ่มทดลอง 14 ใน 89 คน ต้องการการรักษาเพิ่มเติม ในขณะที่กลุ่มควบคุมต้องการการรักษาเพิ่มเติม 44 คน ใน 90 คน (55) การศึกษาเปรียบเทียบยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานจากฟ้าทะลายโจร และยาอื่น) และImmunal (ประกอบด้วยสารสกัดจาก Echinacea purpurea) ร่วมกับการรักษาตามปกติ ในเด็กอายุ 4-11 ปี เป็นหวัดไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่ระบุขนาดยาที่ใช้ กินนาน 10 วัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม A ได้ยา Kan Jang กลุ่ม B ได้ยา Immunal ทั้งสองกลุ่มได้ยาร่วมกับการรักษาตามปกติ ส่วนกลุ่ม C เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการรักษาตามปกติเพียงอย่างเดียว พบว่า การให้ Kan Jang ร่วมกับการรักษาตามปกติให้ผลดีกว่า Immunal และกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะในคนที่เริ่มมีอาการระยะแรก อาการที่เห็นได้ชัดว่าบรรเทาลง คือ ลดน้ำมูก และลดอาการบวมคั่งในจมูก ไม่พบผลข้างเคียง ส่วน Immunal ไม่มีผลดังกล่าว (56) การศึกษาทางคลินิกในผู้ที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนอย่างเฉียบพลัน รวมทั้งกลุ่มอาการไซนัสอักเสบด้วย กลุ่มทดลอง 95 คน รับประทานยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานของฟ้าทะลายโจร 85 มก. (มี andrographolide 5 มก.) และสารสกัด Acanthopanax senticosus 10 มก. (เท่ากับผงยา 120 มก.)) ครั้งละ 4 เม็ด 3 ครั้ง/วัน กลุ่มควบคุม 90 คน รับประทานยาหลอก ทั้งสองกลุ่มรับประทานยานาน 5 วัน วัดผลโดยให้คะแนนจากการประเมินอุณหภูมิ อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาการแสดงทางคอ ไอ อาการแสดงทางจมูก ความรู้สึกไม่สบายตัว และอาการทางตา ผลการศึกษาพบว่า คะแนนรวมทั้งหมดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยจะมีอาการปวดศีรษะ อาการทางจมูก อาการทางคอ และความรู้สึกไม่สบายตัวลดลง ในขณะที่ยังมีไอ และอาการทางตาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อุณหภูมิในกลุ่มทดลองจะลดลงปานกลาง (57)
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ค. 52 14:02:31
จากคุณ |
:
bhattee
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.ค. 52 13:49:15
|
|
|
|
 |