 |
ความคิดเห็นที่ 23 |
ยุคโลหะ
หลังจากที่มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือที่ทำขึ้นจากหิน กระดูก เปลือกหอย ตลอดจนเครื่องมือที่ทำขึ้นจากไม้มาเป็นระยะเวลานาน มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ไปอีกระดับคือการรู้จักถลุงเอาทองแดงมาใช้ประโยชน์ ต่อมาจึงได้นำเอาทองแดงมาผสมกับโลหะอื่นเป็นสำริด และในที่สุดจึงได้พัฒนามาสู่การถลุงเหล็ก ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกกันว่า ยุคโลหะ (Metal age)
ยุคโลหะในประเทศไทยได้เริ่มต้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนที่สุด คือเริ่มในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศคงเป็นยุคหินอยู่ และจากการกำหนดอายุชั้นดินที่พบโลหะ ( สำริด ) ที่โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น พบว่ามีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่ามีการทำสำริดในไทยก่อนการทำสำริดในราชวงศ์ชาง(Shang dynasty) ของจีนเกือบ ๑,๐๐๐ ปี และก่อนอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ของอินเดีย จะเริ่มทำเครื่องสำริดเกือบหรือกว่าร้อยปี เครื่องมือสำริดอันนี้พบในชั้นดินที่ ๑๙ ซึ่งในชั้นดินนี้ได้พบชิ้นส่วนสำริด เครื่องใช้สำริด ตลอดจนแม่พิมพ์หินทรายที่ใช้ในการหล่อสำริด
ส่วนประเทศใกล้เคียงกันกับสุวรรณภูมินั้น ได้มีการสำรวจพบเครื่องใช้สำริดที่ชุมชนดองซอนในแคว้นตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมดองซอน พบที่บริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว และพบในแคว้นเปรัก ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเชื่อว่าอารยธรรมการใช้เครื่องมือสำริดนั้นได้เดินทางติดต่อถึงกันระหว่างดินแดนต่างๆ ได้
แหล่งโบราณคดีที่น่าเชื่อว่าเป็น ชุมทางการติดต่อของมนุษย์สมัยใช้เครื่องมือเหล็กมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘๑๙ นั้นคือบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ที่กาญจนบุรี และเมืองสิงห์
จากคุณ |
:
กตัญญู (รู้คุณ)
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ก.ค. 52 20:32:57
|
|
|
|
 |