 |
ความคิดเห็นที่ 31 |
ตอบ-จขกท
การจัดวางกำลังของทหารไทยในยุคปัจจุบัน นับเป็นรูปแบบที่จัดมาตั้งแต่ในยุคสมัยช่วงสงครามเย็น (ตั้งแต่ราวๆ 30 ปีที่แล้ว) ซึ่งเน้นไปที่การจัดหาอาวุธเชิงรับ เป็นส่วนใหญ่ครับ เพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพต่างชาติโดยเฉพาะทางบกและอากาศ
จะเห็นได้ว่าช่วงนั้นเรามีการจัดหา - อากาศยานขับไล่ F5/F16 - กองเรือชายฝั่ง กองเรือกวาดทุ่นระเบิด (ช่วงก่อนทหารเรือไทยมีความสามารถในการรบทะเลเปิด น้อยมาก) เพราะมีความเป็นไปได้น้อยที่จะมีการบุกรุกทางทะเล - รถถังและยานเกราะ (M60, M113, Stingray) ซึ่งส่วนนึงได้อานิสงค์จากสงครามเวียดนามที่ US ทิ้งไว้ให้ เพื่อรับมือกับยานเกราะฝ่ายตรงข้าม ขณะนั้นคือเวียดนาม/กัมพูชา
เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์เชิงรับ จึงเป็นสาเหตที่เราต้องคงกองทัพขนาดใหญ่ไว้จำนวนมาก เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอในการโต้กลับหลังจากถูกทำลายจากฝ่ายบุก จึงเป็นสาเหตนึงที่กองทัพเราในปัจจุบันมีกำลังพลมากเกินไปในหลายๆส่วน ขณะที่บางส่วนกับขาดแคลน (เช่น กรมทหารม้าอากาศ) แต่ในปัจจุบันสถานการณ์สงครามเย็นได้หมดไป กองทัพจึงถูกปรับบทบาทมาเป็นหน้าที่ในการระวังภัย และปกป้องอนาเขตทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น กองทัพเรือช่วง 20 ปีหลังจึงมีแผนการพัฒนาค่อนข้างมากเพื่อออกทะเลลึก โดยการต่อเรือฟรีเกต OPV และกองเรือสนับสนุนเพิ่มขึ้นหลายลำ เพื่อปฎิบัติการให้ทั่วถึง (ซึ่งแน่นอนว่า เป็นค่าใช้จ่ายที่เยอะกว่าเดิมมาก) แต่ก็ยังไม่เพียงพอนัก (ส่วนนึงเพราะต้องควักกระเป๋าเองล้วนๆ..ขณะที่ ทบ/ทอ ได้บุญเก่าจาก US มามั่ง)
แต่ก็ยังมีสัญญาณที่ดีมั่งเหมือนกัน ว่ากองทัพพยายามลดขนาดตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากตั้งรับ เป็นกองกำลังที่เล็กลง และสามารถตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น อาจจะเรียกว่าเป็นกำลังรบที่ "กึ่งรุก" หรือเน้นการสวนกลับมากกว่าแต่ก่อน โดยดูได้จาก
การจัดหาอาวุธ กองทัพเน้นเรื่อง - ยานพาหนะในการเคลื่อนที่ อาทิ ฮ.ขนส่ง - ยานเกราะขนาดเบา - ระบบการสื่อสารและ Network - โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับขีปนาวุธ พื้น-พื้น ที่ร่วมมือกับจีน - เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) ที่ต่อขึ้นเอง - ฝูงบินที่มีขีดความสามารถการโจมตีทางทะเล (Jas39/Eryeye)
เป็นที่ยอมรับว่าปัจจุบันยังมีปัญหาอีกเยอะ รวมถึงการแทรกแทรงทางการเมืองและขาดทรัพยากรอีกมาก ทำให้ไม่สามารถขจัดกำลังพลส่วนเกินและกองทัพบางส่วนที่เป็นตุ้มถ่วงในการปรับยุทธศาสตร์ได้ในทันที (ส่วนนึงเป็นผลตกค้างจากสงครามเย็น..ที่กองทัพคงกำลังไว้เป็นเวลานาน..)
แต่ทิศทางโดยรวมคือกองทัพยังพยายามลดขนาดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางเศรษฐกิจของ รัฐบาลมากจนเกินไป และยังคงขีดความสามารถในการตอบโต้ภัยคุกคามต่างๆเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในอนาคตครับ
แก้ไขเมื่อ 08 ส.ค. 52 01:22:29
แก้ไขเมื่อ 08 ส.ค. 52 01:13:28
จากคุณ |
:
Kross_ISC
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ส.ค. 52 01:12:41
|
|
|
|
 |