 |
ความคิดเห็นที่ 96 |
#83,#88,#93,#94
มันมีหลายประเด็น (อ่านแล้วมึนดีเหมือนกัน :-) ขอลองแยกแยะดูนะครับ
1. สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่น ๆ ผมขอเสริมสิ่งที่คุณ packham อธิบายมานะครับ ว่าคุณ packham อธิบายโดยใช้หลักการของคณิตศาสตร์ปัจจุบัน (ซึ่งนร. นักศึกษา ควรใช้ตามนี้)
โดยคุณ packham พูดถึง Field mathematics ซึ่งเป็นส่วนสำคัญใน เรขาคณิต (algebra) ยุคปัจจุบัน อันมีตัวชูโรงหลัก ๆ ได้แก่ เรื่องของ sets, operations, fields, groups, rings เป็นต้น (ถ้าผมตกหล่นหรือพลาดไปตรงไหน ขอเชิญคุณ packham แก้ไขได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ :-) เพราะว่าตอนนี้ ผมคงสอบทานได้แค่ เปิดหนังสือคร่าว ๆ หรือ google เอา ได้แค่นั้น)
2. 1/0 มีความหมายหรือไม่ ถ้าตอบบนกรอบคิด คณิตศาสตร์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน (Formalized mathematics) ก็ต้องตอบว่า undefined และไม่มีความหมาย (meaningless) แต่อย่างใด
และผมคิดว่า ถ้าเห็นนักเรียนม.ปลายขึ้นไป เขียนว่า 1/0 น่าจะแทบร้อยทั้งร้อย ที่เขียนมันในเชิงว่ามันเป็น limit ของ 1/x เมื่อ x -> 0 (ซึ่งผลของมันก็คือ ค่าของ limit -> +infinity หรือ -infinity) ซึ่งไม่ถูก ด้วยเหตุผลตามที่คุณ packham ชี้แจงไว้แล้วว่า 0 ไม่มีอินเวอร์สการคูณ
แต่ว่า ถ้าลองดูในประวัติคณิตศาสตร์ (History of mathematics) จะพบว่า มีความพยายามหลายครั้ง ที่พยายามหาว่า 1/0 = ? และส่วนใหญ่ก็หาไม่ได้ (เพราะถ้าสมมติให้มันเป็นอะไรสักอย่าง ก็จะพบว่ามันจะขัดแย้งกันเอง) ซึ่งจะทำให้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า 1/0 นั้น undefined
(ตรงนี้ ผมว่ามันต่างกันนิดเดียวกับการอธิบายว่า 1/0 นั้น undefined ก่อนลงมือหาคำตอบ)
แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนกรอบคิดดู เช่นลดทอนระบบจำนวนลง ไม่ยอมรับว่ามีจำนวนลบ เราอาจพบว่าได้ข้อสรุปที่เปลี่ยนไป (ผมเข้าใจว่าความพยายามในอดีตส่วนใหญ่ จะเลือกกรอบคล้าย ๆ นี้ จึงสรุปว่า 1/0 = infinity ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่า Formalized mathematics ในปัจจุบันนั้น เราพึ่งมีกันซักราว ๆ สองร้อยปีนี้เอง --ยังไม่ได้สอบทานเรื่องของเวลานะครับ แล้วก็ประวัติคณิตศาสตร์มันซับซ้อนกว่านั้น)
แต่ผมเคยบอกคุณ mint_la ไปว่า 1/0 นั้น มีบางสำนัก (หรือกรอบคิด) ที่ถือว่า = infinity ได้ นอกจากสำนักก่อนยุค rigour (formal) แล้ว ผมคิดว่า ก็ยังมีบางกรอบคิดที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน ที่ยอมให้ 1/0 = infinity ได้ด้วย อย่างน้อย ๆ ที่ผมพอจะทราบก็คือบน Reimann Sphere
เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ บนนั้นทุก ๆ infinity มันจะไปรวมกันเป็นจุดจุดเดียว (infinity ในที่นี้ จึงมีความหมายทั้งในแง่ของ +infinity และ -infinity ไปพร้อม ๆ กันครับ)
3. indeterminate form เป็น expression ใน context ของ limit ทั้งสิ้นหรือเปล่า
ผมเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะพอใช้คำว่า indeterminate form มันจะไปอยู่ใน context ของ limit แต่พอใช้แค่คำว่า indeterminate เฉย ๆ ผมกลับรู้สึกว่ามันเป็นแค่คำภาษาอังกฤษธรรมดา ดังนั้น อาจจะมีที่ใช้ที่อื่นอยู่บ้างก็ได้
ที่สำคัญ ผมไม่แน่ใจว่าเมื่อ 300-400 ปีก่อนนี้ ภาษาอังกฤษมีบทบาทแค่ไหนแล้ว และภาษาละตินยุคนั้น เขาใช้คำว่าอะไรกันแน่ แต่น่าจะมีคำที่รากศัพท์เกี่ยวข้องกัน ใช้กันอยู่บ้าง
อยากจะขอเสริมนิดนึงครับ ว่าที่คุณ packham คัดลอก (quote) จาก Wikipedia มานั้น ข้อความประโยคแรกเต็ม ๆ เป็นอย่างนี้นะครับ "In calculus and other branches of mathematical analysis, an indeterminate form is an algebraic expression obtained in the context of limits. ..."
จะเห็นว่าผู้เขียนออกตัวไว้ก่อนแล้ว ว่าต้องการพูดถึง indeterminate form ภายใต้กรอบคิด ของ calculus และสาขาอื่น ๆ ของ mathematical analysis เท่านั้น ซึ่งผมคิดว่า เป็นการออกตัวที่ค่อนข้างปลอดภัยมากครับ :-)
4. infinity ก็เหมือนกันครับ infinity ไม่ใช่จำนวน เป็น concept ของ limit
ตรงนี้ ขออนุญาตเห็นต่างนะครับ เพราะคิดว่า concept ของคำว่า infinity นั้น เกิดมานานมากแล้ว และผมค่อนข้างมันใจว่า แนวคิดเรื่อง infinity (อนันต์, อสงไขย, ฯลฯ) มีมาก่อน limit ครับ เห็นด้วยประการหนึ่งว่า ในคณิตศาสตร์ปัจจุบัน เราไม่ถือว่า infinity เป็นจำนวน
แต่คิดว่า ในหลาย ๆ กรอบคิด มันน่าจะเป็นสิ่งที่อนิยาม (undefined terms) ครับ คือทุกคนรู้ว่ามันคืออะไร และบางกรอบคิด ก็จำเป็นต้องนิยามลงไป เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ
5. เรื่องของ infinitesimal นั้น ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นอนิยามนะครับ อีกประการคือ ผมคิดว่ามันถูกละเลยในคณิตศาสตร์ปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่ความจริง กำเนิดของ calculus (โดย Newton และ Leibniz) นั้น ก็คือ Infinitesimal calculus
คิดว่าถ้าต้องการนิยามแบบที่เป็นปัจจุบันหน่อย คงต้องไปหาจากสาขา Non-standard analysis ครับ ผมลองค้นเว็บดู ได้ชื่อ Abraham Robinson มา แต่คงไม่ค้นต่อเองประเด็นนี้ครับ
เดี๋ยวจะลองอ่านความเห็นของท่านอื่น ๆ ต่อนะครับ.
จากคุณ |
:
ลุงแว่นใจดี
|
เขียนเมื่อ |
:
วันแม่แห่งชาติ 12:32:59
|
|
|
|
 |