 |
ความคิดเห็นที่ 21 |
[2] การเป็นฟองของแก๊สเหตุความสูง(Decompression Sickness) เป็นกลุ่มอาการชนิดเดียวกับ การลดความกดดันของบรรยากาศ เมื่อขึ้นมาจาการดำน้ำหรือการลดความกดดันของบรรยากาศที่มากกว่า 1 บรรยากาศ ที่เรียกว่า " โรคน้ำหนีบ " การขึ้นสูงสู่บรรยากาศ ความกดดันของบรรยากาศลดลง ไนโตรเจนในร่างกายจะเปลี่ยนสภาวะกลายเป็นฟองแก๊ส ซึ่งเกิดได้ที่ความสูงตั้งแต่ 18,000 ฟุตแต่ส่วนมากจะพบเมื่อสูงกว่า 25,000 ฟุตขึ้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟองแก๊ส ดังนี้
1. อัตราไต่ไปสู่ความสูงอย่างรวดเร็วจะทำให้อาการเกิดเร็วและรุนแรง 2. ระยะสูงและระยะเวลานานที่ปฏิบัติงานอยู่ ยิ่งสูงและยิ่งนาน ยิ่งมีโอกาสเกิดมากขึ้น 3. การใช้กำลังงาน/การออกกำลังกายทำให้เกิดเร็วขึ้นหรือทำให้อาการที่เป็นอยู่กำเริบมากขึ้น 4. อายุมาก ไขมันมาก (ผู้หญิงอ้วน) มีโอกาสเป็นมากขึ้น 5. การขึ้นมาจากความกดบรรยากาศมากกว่า 1 ( เช่นการไปดำนำแบบ Scuba Diving) แล้วขึ้นสู่ความสูง เลยเพียงระดับสูง 4,000 - 8,000 ฟุต ก็อาจทำให้เกิดอาการได้ อาการซึ่งเกิดจากการคืนตัวเป็นฟองก๊าซจากสารละลายนี้ เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะสูง ๑๘,๐๐๐ ฟุตขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อทำการบินสูงเกินกว่า ๒๕,๐๐๐ ฟุต ดังนั้นในเครื่องบินที่ทำการบินที่ระยะสูงมากๆ จึงต้องทำการป้องกันและแก้ไขอาการ อันอาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศนี้
โดยวิธีการใช้ห้องโดยสารซึ่งสามารถปรับความกดบรรยากาศภายในได้ เช่น ในขณะที่ทำการบินที่ระยะสูง ๓๐,๐๐๐ ฟุต ภายในห้องโดยสารสามารถปรับความกดบรรยากาศให้เท่ากับระยะสูงเพียง ๖,๐๐๐ ฟุต เป็นต้น ด้วยวิธีนี้ทำให้ ผู้โดยสารสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย และเป็นระยะเวลานานพอสมควรในระหว่างที่ทำการบินที่ระยะสูง
!!! ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้จะทำให้เราทราบว่าทำมั้ยบนเครื่องบินที่มีเพดานบินสูงๆจึงต้องมีระบบปรับความกดบรรยากาศ
จากรูป การทำงานใต้น้ำอาจทำให้เกิดจากการคืนตัวเป็นฟองก๊าซจากสารละลาย ( Decompression sickness) ได้เช่นกัน เรือดำน้ำก็ต้องมีระบบปรับความกดบรรยกาศเช่นกัน
จากคุณ |
:
กกร่ม
|
เขียนเมื่อ |
:
วันแม่แห่งชาติ 00:13:49
|
|
|
|
 |