 |
ความคิดเห็นที่ 253 |
เอาสกูปข่าวหน้าหนึ่งมาให้ดูสักหน่อยก็แล้วกัน
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentID=15266
'ปาหิน/ยิงนอต' มีโทษตาย+ชดใช้ทรัพย์
จากเริ่มแรกเป็นคดีที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่-บางจังหวัด เช่นแถบ จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อมาก็เริ่มมีการเลียนแบบ-แพร่ระบาดไป ในหลาย ๆ พื้นที่ และล่าสุดเส้นทางล่องใต้ก็เป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นถี่ยิบแทบทุกวัน "ปาหินใส่รถ-ยิงหนังสติ๊กใส่รถ" กลายเป็นคดีแฟชั่น บางกรณีเพื่อชิงทรัพย์...แต่ส่วนใหญ่เพราะคึกคะนอง สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ถูกกระทำ...ตำรวจก็ปวดหัว ทั้งนี้ "ปาหิน-ยิงหนังสติ๊ก" เข้าใส่รถที่กำลังวิ่งบนถนน จะเพื่ออะไรก็ตาม อาจจะดูเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและถูกจับได้ยาก...แต่ก็ ใช่ว่าตำรวจจะจับกุม ผู้กระทำไม่ได้เลย ที่ผ่านมาก็จับกุมดำเนินคดีได้แล้วหลายคน และเชื่อว่าจะจับผู้ที่ได้กระทำไปแล้วได้ เพิ่มอีกเรื่อย ๆ แน่ รวมถึงกับรายใหม่ ๆ ที่กระทำเลียนแบบในสิ่งที่ผิด ๆ และทั้งกับผู้ที่ทำไปแล้วหรือที่คิดจะเลียนแบบจงรู้ไว้... ว่า "โทษ" ของการก่อคดีในลักษณะนี้ "ไม่ใช่เบา ๆ !!" ที่ผ่านมาเรื่องของบทลงโทษคดีลักษณะนี้อาจจะมีแทรกอยู่ในข่าวบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ชัด ซึ่งกับใครก็ตามที่ได้ก่อเหตุ หรือคิดจะก่อเหตุ ขอให้รู้ไว้ด้วยว่าโทษนั้นไม่ใช่เล็กน้อย และคนใกล้ตัวก็จะเดือดร้อนด้วย ไม่ว่าจะกรณี... ผู้กระทำผิดเป็นผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะแล้ว ทำไปเพื่อประสงค์ชิงทรัพย์หรือไม่ชิงทรัพย์ก็ตาม และไม่ว่าผู้เสียหาย จะบาดเจ็บน้อย บาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต ยังไงก็มีโทษหนักทางอาญา และทางแพ่ง และต่อให้เป็นเด็ก เยาวชน ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ใช่ว่าจะรอด ซึ่งก็มีโทษทั้งทางอาญา และทางแพ่งเช่นกัน อีกทั้งยังลามไป ถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ก็ต้องมีโทษที่ไม่ดูแลบุตรหลานให้ดี และต้องชดใช้ทางแพ่งแทนลูก แจงกันให้ชัด ๆ กับคดี "ปาหิน-ยิงหนังสติ๊ก" ใส่รถที่กำลังวิ่งบนถนน คดีลักษณะนี้ อ.วันชัย สอนศิริ ทนายชื่อดัง อาจารย์คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ว่า..... บทลงโทษของคดีปาหินหรือใช้หนังสติ๊กยิงลูกหินหรือหัวนอตใส่รถนี้ ตามกฎหมายถือเป็น "เจตนาฆ่า" เพราะการกระทำผิด โดยปาหรือยิงด้วยหนังสติ๊ก ไม่ว่าจะเป็นหินหรือนอตนั้น เป็นการกระทำที่เล็งเห็นได้ว่าสามารถ "ทำให้รถคว่ำ" สามารถ "ทำให้คนขับรถ-คนที่อยู่บนรถ... ตายหรือได้รับบาดเจ็บ" ภาษากฎหมายเรียกว่า "เจตนาฆ่าคนตาย" มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 เป็นการ "ฆ่าผู้อื่นโดยการ ไตร่ตรองไว้ก่อน" และบางคดีเป็นการฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการกระทำ ผิดอย่างอื่น เช่น ชิงทรัพย์ , ลักทรัพย์ ด้วย ซึ่งจะอย่างไรโทษก็หนักเหมือนกัน มีความผิดร้ายแรง ต้องระวางโทษถึง "ประหารชีวิต !!" และแม้ว่าผู้เสียหายจะไม่ตาย อาจจะบาดเจ็บมาก บาดเจ็บน้อย หรือไม่บาดเจ็บเลย ก็ถือว่า "พยายามฆ่า" เพราะการกระทำ เป็นเจตนาฆ่า แต่ไม่บรรลุผล ทั้งนี้ หากมีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคน ตามกฎหมายก็ต้องโทษ ฐานร่วมกันฆ่าคนตาย หรือร่วม กันพยายามฆ่าคนตาย ซึ่งพยายามฆ่า...โทษก็ลดลงหน่อย แต่ก็ไม่ใช่เบา ๆ คือต้องรับโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษประหารชีวิต คือมีโทษจำคุก 50 ปี !! อ.วันชัยบอกอีกว่า... ขณะเดียวกัน คดีลักษณะนี้ฝ่ายผู้ที่เสียหายก็สามารถเรียกร้องทางแพ่งได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษา พยาบาล, ค่าซ่อมรถ, ค่าชดเชยทำให้ขาดงาน ทำงานไม่ได้, ค่าชดเชยแก่ญาติกรณีตาย, ค่าขาด ผู้อุปการะ ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ กฎหมายถือเป็นความเสียหายทางแพ่ง ฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเอง หรือญาติของผู้เสียหายที่เสียชีวิต สามารถฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดได้
ถ้าผู้ กระทำผิดบรรลุนิติภาวะแล้วก็ฟ้องเอากับผู้กระทำผิด ซึ่งต่อให้ติดคุกแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินใด ๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถ เงินฝาก ฯลฯ ทางคู่สมรส ลูก ก็ไม่ได้ใช้ เพราะผู้เสียหายฟ้องร้องยึดเป็นค่าชดใช้ได้ และในกรณีที่ผู้กระทำผิดยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ ฟ้องร้องเรียกค่าชดใช้จากพ่อแม่ผู้ปกครองได้ พูดง่าย ๆ ทำไปแล้ว...ต้องเดือดร้อนกันทั้งบ้าน !! ทั้งนี้ กรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเยาวชน พ่อแม่ยังต้องมีความผิดในส่วนของพ่อแม่เองด้วยอีกต่างหาก !! ฐานปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลเอาใจใส่ลูก ซึ่งจะผิดกฎหมายตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ที่มุ่งไม่ให้เด็กกระทำความผิด ตรงนี้ พ่อแม่จะมี โทษจำคุก 3 เดือน !! เว้นแต่ว่าจะสามารถพิสูจน์ได้จริง ๆ ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองกำกับดูแลลูกอย่างดีแล้ว แต่ลูกไม่รักดี ยังไป กระทำผิดอีก ส่วนตัวเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด ถ้าอายุไม่เกิน 15 ปี แม้ตามกฎหมายใหม่จะระบุว่าไม่ต้องรับโทษ แต่ก็ให้อำนาจศาล เรียกผู้ปกครอง พ่อแม่ มาตักเตือน หรือทำทัณฑ์บน หรือวางเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และกรณีอายุเกิน 15 ปี แต่ต่ำกว่า 18 ปี จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล ซึ่งอาจมีการวางเงื่อนไขทำทัณฑ์บนไว้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่หาก พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องลงโทษ ก็จะลดลงให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งก็ใช่ว่าไม่หนัก เพราะ คดีลักษณะนี้มีโทษรุนแรงมาก ดังที่กล่าวไว้ แต่ต้น และยิ่งถ้าผู้กระทำผิดอายุเกิน 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ศาลอาจลดโทษกึ่งหนึ่ง หรืออาจลดแค่ 1 ใน 3 ก็ได้ ซึ่งจะแบบ ไหนก็ติดคุกหัวโตอยู่ดี !! ยุคนี้ "ปาหิน-ยิงนอต" เลียนแบบจนแพร่ระบาดทั่ว ก่อคดีกันเป็นแฟชั่น "ไม่เห็นโลงศพ...ไม่หลั่งน้ำตา" นี่คือการฆ่าตัวเอง-ฆ่าคนใกล้ตัวให้ตายทั้งเป็น !!!!!.
----------------
หวังว่าการเอาจริงเอาจังในด้านบทลงโทษคงทำให้พวกนี้หายสาบสูญไปได้นะ
จากคุณ |
:
ซ่อนนาม
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ส.ค. 52 08:37:53
|
|
|
|
 |