 |
ความคิดเห็นที่ 91 |
การใช้แตนเบียนในการควบคุมศัตรูทางการเกษตรมีมานานแล้วล่ะครับ แต่เกษตรกรอาจจะไม่ชอบ เพราะมันไม่ตายกันเห็นๆ ทันใจเหมือนอย่างพวกสารฆ่าแมลง แตนเบียนมีความจำเพาะกับกลุ่มแมลงที่จะเบียนนะครับ และไม่มีพิษภัยกับมนุษย์อย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น แตนเบียนไตรโคแกรมม่า ในวงศ์ Trichogrammatidae มักทำลายไข่ของพวกผีเสื้อและเพลี้ยไฟครับ
ส่วนเรื่องการวางไข่นั้น ... อย่างที่เขียนไปแล้วว่า ไข่แตนเบียนหนึ่งฟองสามารถแบ่งตัวให้ตัวอ่อนเป็นสิบ ร้อย หรือพันตัวนั้นเรียกว่า "polyembryony" ตัวอ่อนเหล่านี้จะไปกินสารอาหารจากเลือดของเจ้าบ้านเพื่อเจริญเป็นตัวเต็มภัยต่อไปครับ อย่าไปยึดติดกับสารคดีมากครับ เรื่อง host-parasite มันมีหลายประเภท กลไกการเข้าไปทำลายเจ้าบ้านของปรสิตหนึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกับแมลงปรสิตอีกกลุ่มหนึ่งครับ รายละเอียดเรื่องนี้สามารถค้นหาอ่านได้คำค้น "polyembryony"
เนื่องจากไข่หนึ่งฟองให้ลูกเยอะมาก การวางไข่ของแม่แตนเบียนนั้นจะคำนึงว่า ลูกของมันต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ... มันไม่เป็นประโยชน์เลยที่จะวางไข่ซ้อนทับกับอีกตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้น มันจึงมีการสร้างฟีโรโมนบ่งบอกว่า "เจ้าบ้านนี้มีคนจองแล้วนะ" ขึ้นมา เพราะฉะนั้น เจ้าบ้านหนึ่งฟอง/ตัว จะมีไข่ของแม่แตนเบียนเพียงตัวเดียวเท่านั้นครับ
ส่วนเรื่องจำนวนไข่ที่วางนั้น...แตนเบียนที่ให้ลูกเป็นพันๆ ตัวจะวางไข่เพียง 1-2 ฟองเท่านั้นโดยฟองหนึ่งจะเป็นตัวผู้ และอีกฟองจะเป็นตัวเมีย (ถ้าวางตัวเดียวก็แล้วแต่ครับ) ส่วนในแตนเบียนที่ให้ลูกอยู่ในหลักสิบจะวางไข่ไม่เกิน 10 ฟอง (จากเปเปอร์เท่าที่อ่านมา) ครับ
มีหนังสือเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ: Godfray, H.C.J. 1994. Parasitoids: Behavioral and Evolutionary Ecology.
แก้ไขเมื่อ 20 ส.ค. 52 14:47:32
จากคุณ |
:
Due_n
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ส.ค. 52 14:42:57
|
|
|
|
 |