 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
การทดลองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกลับบ้านของปลาแซลมอน
ได้มีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ในชายฝั่ง Sanriku ประเทศญี่ปุ่น จากคำบอกเล่าของชาวประมงชายฝั่ง Sanriku กล่าวว่า จะจับปลาแซลมอนขนาดใหญ่ได้หลังจากที่อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง มันอาจเป็นความจริงเพราะแซลมอนจะว่ายกลับมายังทะเลทางทิศเหนือซึ่งมีอุณหภูมิน้ำต่ำกว่าที่ชายฝั่ง Sanriku พวกเขายังกล่าวอีกว่า จะจับปลาแซลมอนตัวใหญ่ ๆ ได้หลังจากที่ฝนตกหรือการพัดมาของลมตะวันตก ฝนตกช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำ ลมตะวันตกคือลมมรสุมในฤดูจับปลาแซลมอน ลมนี้จะพัดมาเอาน้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวของชายฝั่ง Sanriku อย่างรวดเร็ว เนื่องจากปากอ่าวเปิดในทิศตะวันออก การเพิ่มขึ้นของน้ำในแม่น้ำและการไหลอย่างกว้างของน้ำในแม่น้ำลงสู่ทะเล ซึ่งนี้อาจช่วยให้แซลมอนแยกแม่น้ำที่มันเกิดออกโดยใช้กลิ่นที่แตกต่างกันของแม่น้ำแต่ละสาย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานไม่มากนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการจับแซลมอนกับสภาพทะเลและอากาศ ปริมาณแซลมอนที่จับได้ในแต่ละพื้นที่มีปริมาณมากสุดในช่วงหน้าฝนเมื่อน้ำทะเลมีอุณหภูมิ 130C level 80% ของปลาแซลมอนที่จับได้หลังจากฝนตก (> 5 mm) หรือมีลมมรสุมตะวันตก ( > 10 m/s)เป็น 1.5 เท่าของช่วงก่อนที่ฝนตก ปริมาณของแซลมอนที่จับได้มากที่สุดในแต่ละปีจะเป็นช่วงหลังจากวันที่มีฝนตกหนักที่สุด หรือช่วงที่ลมตะวันตก(> 10 m/s)พัดมานานที่สุด ข้อมูลเหล่านี้อาจบอกได้ว่า พฤติกรรมการกลับบ้านของ Chum salmon มีปัจจัยที่สำคัญ คือ อุณหภูมิของน้ำทะเล , ปริมาณฝนที่ตกและลมตะวันตกในชายฝั่ง Sanriku
น่าแปลกใจที่มากกว่า 10 ปีที่แล้ว ก่อนที่ Hasler และ Wisby (1950) Kubo (1938) ได้รายงานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของแซลมอนที่จับได้กับสภาพภูมิอากาศในแม่น้ำ Miomete ทางเหนือของญี่ปุ่นและอ่าว Otsuchi ซึ่งจะไหลสู่มหาสมุทรแปซิฟิก Kubo(1938) สรุปได้ว่า ปริมาณการจับปลาแซลมอนนั้นได้รับอิทธิพลจากปริมาณของหิมะและลม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแง่บวกที่สำคัญระหว่างปริมาณการจับปลาแซลมอนและจำนวนหิมะกับลมตะวันออก
Chum salmon Oncorhynchus keta คือ หนึ่งในเจ็ดสายพันธ์ของปลาแซลมอนแปซิฟิก มันก็เหมือนกับปลา แซลมอนทั่วไป chum salmon แสดงการอพยพสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ที่เป็นแบบฉบับของปลาที่ว่ายจากมหาสมุทรมาวางไข่ในแม่น้ำ แซลมอนเกิดในแม่น้ำ จากนั้นก็อพยพไปยัง แหล่งอาหารในทะเล Bering และทางตอนเหนือของ มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และกลับมายังแม่น้ำที่มันเกิดเพื่อวางไข่ใน 4 -6 ปีต่อมา มันเป็นปลาที่อยู่ในน้ำเย็น อุณหภูมิของมันถ้าเกิน 24 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะทำให้อันตรายอาจถึงตายได้ และอุณหภูมิวิกฤตที่เป็นตัวกำหนดเขตแดนทางใต้ของแหล่งอาหารของมัน คือ 10.2 องศาเซลเซียส ดังนั้น การที่โลกร้อนขึ้นจากปรากฎการณ์ green house ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศชั้น Asmosphere เป็นการคุกคามอย่างยิ่งต่อชีวิตของแซลมอน มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาความสะอาดและบริสุทธิ์ของระบบนิเวศวิทยาและสรีรวิทยาซึ่งมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิน้ำที่สูงของแซลมอน ที่ชายฝั่ง Sanriku ฤดูที่แซลมอนกลับมายังบริเวณนี้โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อุณหภูมิผิวน้ำอยู่ที่ > 18 องศาเซลเซียส ในช่วงต้นฤดูและลดลงถึง 12 องศาเซลเซียสในช่วงปลายฤดู ซึ่งปรากฎว่าสูงเกินไปสำหรับ chum salmon นอกจากนั้นยังมีมวลน้ำเย็นจากกระแสน้ำเย็น Oyashio และมวลน้ำอุ่นจากกระแสน้ำอุ่น Tsugaru และ Kuroshio กระจายตัวอย่างซับซ้อนบริเวณชายฝั่ง Sanriku
เราพบว่าพฤติกรรมของแซลมอนมีการเปลี่ยนอย่างมากเพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลในเดือนตุลาคม อุณหภูมิผิวน้ำ > 18 องศาเซลเซียสและน้ำทะเลมีการแบ่งชั้น แซลมอนชอบที่จะอยู่ในน้ำลึก ปลาแซลมอนจะดำลงสู่ก้นทะเลแต่ก็ยังคงว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำบ้าง ในเดือนธันวาคมเมื่อผิวน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า 14 องศาเซลเซียส และน้ำทะเลไม่มีการแบ่งชั้น มันจะอยู่ที่ความลึกน้อยกว่า 50 เมตร และว่ายขึ้น ๆ ลง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ชี้ว่า การที่อุณหภูมิของผิวน้ำสูงขึ้น chum salmon จะค้นหาแหล่งที่เย็นที่สุดเพื่อความปลอดภัยของมันในการว่ายขึ้นลง เนื่องจากแซลมอนเป็นสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง อุณหภูมิที่เย็นที่สุดจะทำให้มันมีการเผาผลาญน้อย ดังนั้น แซลมอนจึงปรับอุณหภูมิร่างกาย และลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน ทำให้มันพยายามค้นหาแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำสุด มันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแซลมอนให้เบาะแสเกี่ยวกับกลิ่นเพื่อค้นหาแม่น้ำที่มันเกิด เพราะน้ำในแม่น้ำเบากว่าน้ำทะเล น้ำจากแม่น้ำจะกระจายอยู่บริเวณผิวหน้าของน้ำทะเล บางทีแซลมอนอาจจะค้นหากลิ่นของแม่น้ำที่มันเกิดในบริเวณน้ำตื้นแม้ว่ามันจะร้อนก็ตาม
แหล่งที่มา K. schmidt - Koenig. Zoophystology and Ecology : Migration and Homing in Animal . Berlin : Springer - Verlag. , 1975 http:// landbase.hg.unu.edu/Workshops/IwateFen2000/Abstracts/Otobeabsfeb
26/6/2548 http://www.nps.gov/noca/salmon.htm http://www.pref.iwate.jp/~hp020901/h11/workshop1/6%20takagi.htm
จากคุณ |
:
Multiverse
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ส.ค. 52 15:01:57
|
|
|
|
 |