 |
ความคิดเห็นที่ 32 |
#30
ขอตอบเป็นข้อ ๆ ไปนะครับ
1. "ผมยังคิดไม่ออกว่าทำไมยานลำหลังเวลาเดินไม่เท่ายานลำหน้าทั้ง ๆ ที่เร่งด้วยอัตราเท่ากัน"
ตอบ ใช้ principle of equivalence ครับ วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเสมือนวัตถุอยู่นิ่งในสนามโน้มถ่วง สมมติคุณสร้างคอนโด 100 ชั้นบนโลกใบนี้ วางวัตถุ A บนดาดฟ้า วางวัตถุ B ที่พื้นชั้นแรก วัตถุ A อยู่ในสนามโน้มถ่วงต่ำกว่าถูกมั้ยครับ คราวนี้คุณยกโลกให้หายไปเลย แล้วนึกภาพคอนโดของคุณที่มีเครื่องยนต์ติดอยู่ที่ใต้ฐานกำลังเร่งขึ้นดิ่งตรง ๆ ด้วยอัตราเร่งเดียวกับ g (แต่ทิศทางตรงกันข้าม) คุณจะเห็นว่าทั้ง A และ B เร่งด้วยอัตราเท่ากันครับ คือ -g และระบบคอนโดยานนี้สมมูลกับคอนโดบนโลกตาม equivalence principle (ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป) ฉะนั้นในยานคอนโดของคุณ A ยังคงมีผลลัพธ์ต่าง ๆ เหมือนที่ตอนที่มันอยู่ในสนามโน้มถ่วงต่ำกว่าครับ เวลาของ A จึงเดินเร็วกว่า
2. "เหมือนอยู่บนดวงดาวที่แรงโน้มถ่วงเท่ากัน แล้วทำไมเวลาเดินไม่เท่ากัน"
ตอบ แรงโน้มถ่วงขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างวัตถุกับดาวครับ การที่ยาน 2 ลำเดิมนั้นอยู่ห่างกันระยะ L แล้วเร่งพร้อม ๆ กัน เท่ากับเมื่อเทียบโดยหลักสมมูลแล้วยานทั้ง 2 ลำอยู่ในสนามโน้มถ่วงที่ไม่เท่ากันครับ
ลองพิจารณา 2 ข้อนี้ให้เข้าใจก่อนครับ แล้วคุณจะพบว่าระยะห่างระหว่างยานคงเดิมเมื่อมันถูกวัดโดยผู้สังเกตการณ์ในกรอบเฉื่อยก่อนที่ยานจะถูกเร่ง ยานทั้ง 2 ลำถูกเร่งด้วยอัตราเดียวกันเทียบกับผู้สังเกตการณ์คนนี้ - นั่นทำให้ผู้สังเกตการณ์คนนี้อุปนัยได้ว่าระยะห่างที่วัดโดยผู้อยู่บนยานต้องมากกว่าที่ผู้สังเกตการณ์คนนี้เห็น เพราะระยะที่ผู้สังเกตการณ์คนนี้เห็นคือระยะที่หดสั้นลงมาแล้วครับ
สำหรับรูปยาน A, B, C ที่วาดมานั้น เราไม่อาจเทียบหัวยาน C ว่าคือยาน A และก้นยาน C ว่าคือยาน B ได้ครับ เพราะยาน C ถูกเร่งทั้งก้อน (แม้ว่ามันจะเร่งเท่ากับยาน A และยาน B) แต่ยาน A และยาน B เร่งใครเร่งมัน แต่ถ้าคุณมีคน 2 คนอยู่บนยาน C คนหนึ่งอยู่หัวยาน คนหนึ่งอยู่ท้ายยาน คน 2 คนนี้ก็จะรับรู้ได้เหมือนกับคนบนยาน A และยาน B ตามลำดับครับ คือ เวลาของคนหัวยาน (ถ้ายานเคลื่อนที่ไปทางซ้าย) เดินเร็วกว่า
จากคุณ |
:
ศล
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ส.ค. 52 23:37:47
|
|
|
|
 |