 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
น้ำแข็งที่ความดันบรรยากาศจะมีปริมาตรมากกว่าน้ำ การที่อยู่ในภาชนะปิด น้ำไม่สามารถขยายตัวเพื่อจับโครงสร้างเป็นของแข็งได้
ถ้าตอบลึกกว่านั้น สมดุลของน้ำและน้ำแข็งมีค่าความสมดุลที่แปรผันตาม ความดัน ปริมาตร และ อุณหภูมิ จุดสมดุลที่น้ำแข็งจะมีปริมาตรน้อยกว่าน้ำเกิดที่ความดันประมาณ 10,000 บรรยากาศที่อุณหภูมิ -3 C ซึ่งในกรณีนั้น ขวดน้ำจะแตกก่อนเพราะทนแรงดันไม่ไหว สำหรับบ้านผม ขวดเบียร์มักแตกในช่องแข็งบ่อยๆก็ด้วยประการนี้
ทีนี้ เมื่อมันเป็นสมดุลแรงดันกับอุณหภูมิ ขวดน้ำในช่องแข็งมีความสามารถในการยืดตัว มันไม่แตก แต่มันก็รักษาแรงดันไว้มากกว่าแรงดันบรรยากาศ พอลดแรงดัน น้ำข้างในที่มีอุณหภูมิ -14 C ซึ่งมากกว่าจุดเยือกแข็งก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ซึ่งต้องมีการสูญเสียพลังงานออก แต่ค่าความร้อนแฝงของการละลายอยู่ที่ 400 kJ/kg โดยประมาณ และค่าความร้อนจำเพาะของน้ำอยู่ที่ประมาณ 4.2 kJ/kg.C จากอุณหภูมิ -14 กลับมาที่ 0 จะเป็นพลังงานแค่ 58.8 kJ/kg ไม่เพียงพอจะทำให้น้ำทั้งหมดเป็นน้ำแข็ง แต่ถ้าคำนวณตามสัดส่วนจะทำให้น้ำ 14% เป็นน้ำแข็งได้ ดังนั้นมันจึงมีสภาพเป็นวุ้นน้ำแข็งอย่างที่เห็นนั่นเอง
จากคุณ |
:
Darth Prin
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ย. 52 11:19:46
|
|
|
|
 |