 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
ขอเสริมจาก link ที่ #1 และ #2 นะครับ
แต่ก่อนอื่นแก้ความเข้าใจนิดหนึ่งก่อนครับ
ทั้งทรานซีสเตอร์แบบ NPN และ PNP กระแสเกิดจากการไหลของทั้งประจุบวก (hole) และประจุลบ (electron) ครับ พวกมันจึงถูกเรียกว่าเป็น bipolar junction transistor (คำว่า bipolar , bi = สอง, polar = ขั้ว สื่อความว่ามันจะมีประจุทั้ง 2 ขั้วเคลื่อนที่เพื่อทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า)
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ซึ่งมันมีสารกึ่งตัวนำ 3 ส่วนประกอบกัน ชื่อของมันจึงเห็นเป็นตัวอักษรเรียงกัน 3 ตัว สารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน (ธาตุหมู่ 4) ถ้าเราเติมสารชนิดอื่นลงไป (เราเรียกว่าสารเจือ) เช่นเติมธาตุหมู่ 3 เช่น โบรอน เราจะเรียกสารกึ่งตัวนำที่มีการปรับสภาพโดยการเติมโบรอนว่าสารกึ่งตัวนำชนิด P (P คือ positive ที่เป็น positive เพราะเราจะถือว่ามันมีประจุพาหะบวกพร้อมที่จะเคลื่อนที่) แต่ถ้าเราเติมสารเจือธาตุหมู่ 5 เช่น ฟอสฟอรัส เราจะเรียกสารกึ่งตัวนำที่มีการปรับสภาพโดยการเติมฟอสฟอรัสว่าสารกึ่งตัวนำชนิด N (N คือ negative ที่เรียกว่า negative เพราะเราจะบอกว่ามันมีประจุพาหะลบพร้อมเคลื่อนที่) ฉะนั้น NPN ก็หมายถึงทรานซีสเตอร์ที่มีสารกึ่งตัวนำชนิด N สองตัวประกบซ้ายขวาของสารกึ่งตัวนำชนิด P และ PNP ก็หมายถึง ทรานซีสเตอร์ที่มีสารกึ่งตัวนำชนิด P สองตัวประกบซ้ายขวาของสารกึ่งตัวนำชนิด N ที่กล่าวมานี้คือความแตกต่างของ PNP กับ NPN ในแง่โครงสร้างอย่างคร่าว ๆ ครับ
จากคุณ |
:
ศล
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ย. 52 01:26:39
|
|
|
|
 |