ไคโตซานแพงเหรอ??? ทำไคโตซานใช้กันเองดีกว่า...
|
|
ช่วงหลัง ผมรู้สึกว่าจะได้ยินข่าวคราว และคำถามเกี่ยวกับการใช้ไคโตซานบ่อยขึ้นครับ ซึ่งที่บ้านเคยมีประสบการณ์กับไคโตซานในการเกษตรมา 2 รอบ รอบแรกเมื่อปี 2542 รู้สึกว่าตอนแรกใช้ไม่ค่อยได้ผล เพราะเทคโนโลยีอาจไม่ค่อยถึง ส่วนรอบหลังนี่เมื่อปีสองปีมานี่เอง ซึ่งปีแรกใช้ได้ผลดีเกินคาด แต่ช่วงหลังไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า แต่พบว่าใช้แล้วได้ผลน้อยลง
แถมเมื่อไม่นานมานี้ได้ยินมีคนกล่าวถึงราคาที่ค่อนข้างสูงของมัน (ซึ่งก็เห็นด้วย ถ้าใช้ไม่ค่อยได้ผลนัก) ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ ... เรามาทำใช้เองดีกว่า
การทำสารละลายไคโตซาน จะมี 2 รูปแบบครับที่ทำกัน
1. ซื้อไคโตซานที่มีวางจะหน่ายไว้แล้ว มาทำการละลาย เริ่มขั้นที่ 5 หรือ 7
2. ทำจากเปลือกกุ้งสด เริ่มขั้นแรกครับ
ผมจะอธิบายมาตั้งแต่การเป็นเปลือกกุ้งเลยนะครับ การอธิบายนี้
1. การสกัดไคโตซานให้บริสุทธิ์จากเปลือกกุ้ง จะเริ่มจากการนำเปลือกกุ้งไปทำแห้ง โดยจะเอาไปตากแดดหรือผึ่งลมหรืออบแห้งก็แล้วก็แล้วแต่ครับ เอาแค่พอแห้ง
2. จากนั้นนำเปลือกกุ้งไปทำการสกัดเอาโปรตีนออก ด้วยการนำไปสกัดออกด้วย NaOH (โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือ โซดาไฟครับ) โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 1-10% ที่อุณหภูมิ 65-100 อาศาเซลเซียส นานสัก 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงครับ โดยกวนอย่างสม่ำเสมอด้วยครับ จากนั้น แยกการนำไปล้างน้ำสะอาด มากๆหน่อยครับครับ
3. แล้วนำส่วนกาก ไปแยกแร่ธาตุออก โดยนำไปแช่กรดเกลือเจือจาง นาน 2 - 3 ชั่วโมงครับ ทั้งนี้ความเข้มข้นกรดกลือจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 0.7 โมลาร์ หรือกรดเกลือ 100% 25.2 กรัม ผสมน้ำให้ได้ 1 ลิตร แต่โดยทั่วๆไปและนำ 1 โมลาร์หรือ 36 กรัมผสมให้ได้น้ำ 1 ลิตรครับ กวนๆบ้างครับ จากนั้นนำกากที่ได้ไปล้างน้ำสะอาดมากๆครับ
ถ้าจะให้ดี ให้นำกาก ไปปรับ pH ให้เป็นกลางครับ (ตรงนี้แนะนำว่าถ้าอยากให้ได้ผลดี หา Universal pH paper สักกล่องก็ดีครับ) ราคาประมาณ 500 หน่อยๆ ได้ประมาณ 100 แผ่นครับ
4. จากนั้นนำไปฟอกสีในไฮเตอร์จางๆ หรือใช้ 3% Hydrogen peroxide ครับ (แนะนำอย่างหลังครับ) แล้วล้างน้ำสะอาด
เท่านี้ก็จำได้ไคตินที่ค่อนข้างบริสุทธิ์แล้วครับ นำกากไปตากแห้ง แนะนำว่าพอเริ่มแห้งให้คลุมด้วยพลาสติก เพราะเปลือกจะบางเบามากครับ
ขั้น 2 และ 3 สลับกันได้ครับ
ขั้นตอนถัดไป สำคัญมากครับ คือกระบวนการ Deacetylation ครับ ซึ่งถ้าสารละลายด่างที่ไม่เข้มข้นพอจะทำให้กระบวนการไม่สมบูรณ์ครับ
5. นำกากแห้งที่ได้ไปกวนเป็นระยะๆใน NaOH ความเข้มข้น 50% หรือสูงกว่าหน่อย ซึ่งมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (ต้มเลยครับ) นาน 4-5 ชั่วโมง ก็จะได้ไคโตซานครับ นำมาล้าง ให้ pH ใกล้ 7 แล้วตากแห้งครับ
การทำขั้นที่ 5 ซ้ำสองครั้ง จะได้ไคโตซานที่บริสุทธิ์ขึ้นครับ ซึ่งเหมาะแก่การเป็นไคโตซานเพื่อการดูดซึม เช่นผสมในปุ๋ย พ่นหรือราดโคนต้น หรือการกินโดยสัตว์ แต่ถ้าพ่นใบพืช แนะนำเป็นไคโตซานสกัดครั้งเดียวครับ เพราะยังมีส่วนไคตินช่วยการยึดเกาะ ลดการเสียน้ำ และการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อแมลงและเชื้อรา ซึ่งมีไคตินเป็นส่วนประกอบได้บ้างครับ
สารละลายกรด - ด่าง อาจใช้ซ้ำได้บ้างครับ และถ้าจะทิ้ง ปรับ pH ให้ใกล้ 7 ก่อนนะครับ
6. ให้เตรียมน้ำส้มสายชูความเข้มข้นกรดน้ำส้ม 1 - 1.5% ครับ เช่นถ้าซื้อน้ำส้มสายชู 5% ก็ใช้น้ำส้ม 1 ส่วน แล้วก็ผสมน้ำ 4 ส่วน (1%) หรือ 3 ส่วน (~1.5%) หรือซื้อ 10% มา ก็ใช้น้ำส้ม 1 ส่วนต่อน้ำเปล่า 9 ส่วน (1%) หรือ 6 ส่วน (1.5%) <-- ข้อสำคัญมากๆคือ น้ำที่มาใช้ต้องสะอาดมากๆขนาดดื่มได้เลยทีเดียวครับ และไม่เอาน้ำแร่นะครับ
ถ้าซื้อไคโตซานมาละลาย อาจเริ่มจากขั้นนี้เลย หรือนำไปละลายน้ำเพื่อเข้าขั้นที่ 5 อีกทีแล้วล้างเพื่อให้สาย Polymer ไคโตซานสั้นลงหน่อยครับและเพิ่มความบริสุทธิ์ครับ (แต่เปลืองหน่อยครับ)
7. การทำละลายเป็นสารละลายไคโตซาน (ขั้นตอนนี้อิงจากคำบอกเล่าครับ) ให้ผสมไคโตซานน้ำหนักคิดเป็น 1 - 1.5% ของสารละลายรวมครับ
ที่ต้องใช้เป็นกรดเล็กน้อย เพราะมันจะละลายได้ดีขึ้นมากครับ (ไคโตซานแทบจะไม่ละลายน้ำครับ)
ยี่ห้อ Red ... ความเข้มข้นราว 0.5 - 1% ครับ
หรือเราจะเริ่มจากการนำไคโตซาน โดยละลายไคโตซาน 5 กรัม ในน้ำส้มสายชูกิน (5%) 100 กรัม แล้วเติมน้ำ 395 กรัมครับ (1%) ถ้า 1.5% เพิ่มเป็น 7.5 กรัมครับ และลดน้ำลง 2.5 กรัมครับ
ส่วนการปรับขนาดโมเลกุล...คร่าวๆ มักพบการใช้ Hydrolysis ในการลดขนาดครับ อาจใช้กรด ด่าง หรือ ก๊าซช่วยครับ ซึ่งจุดนี้แหละครับคือจุดขายของบริษัทครับ
ที่มาข้อมูล ซึ่งน่าลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมนะครับ
http://biopolymer.igetweb.com/index.php?mo=3&art=307027
http://kasetonline.com/?p=45 เวปนี้อ่านง่ายครับ
แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 52 21:58:14
จากคุณ |
:
sivpeer
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ก.ย. 52 16:03:53
|
|
|
|