 |
ความคิดเห็นที่ 55 |
รฟท.หัวใจระทวย หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ
บันทึก "สมุดปกขาว 112 ปี รถไฟไทย" สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2552 จำนวน 10,000 ฉบับ
คนรถไฟ วิเคราะห์ว่า ปมเหตุสำคัญที่ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยประสบปัญหาขาดทุน นำมาซึ่งข้อจำกัดด้านบุคลากร อุปกรณ์ทันสมัย มีสาเหตุหลัก 4 ประการ
ประการ แรก...รถไฟไทยให้บริการทั้งเชิงสังคมและพาณิชย์ ในอัตราต่ำกว่าต้นทุน โดยเฉพาะค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเชิงสังคม ไม่สามารถปรับได้มาตั้งแต่ปี 2528
ขณะเดียวกัน จำนวนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ก็มีแนวโน้มลดลง รถไฟไทยใช้เวลาเดินทางยาวนาน ไม่ตรงต่อเวลา สไตล์ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง แถมราคาก็ค่อนข้างสูง
ถ้าไม่นับเรื่องความปลอดภัยสูงสุด เทียบกับการเดินทางด้วยวิธีอื่นแล้ว รถไฟไทยจึงถูกเลือกใช้บริการเป็นอันดับท้ายสุด
แม้ว่า ขบวนรถบรรทุกสินค้าจะมีรายได้สูงกว่าขบวนรถโดยสาร แต่ รฟท.ก็ไม่สามารถเดินรถสินค้าได้มากเที่ยวขึ้นได้ เพราะติดปัญหาปลีกย่อยสารพัด 1) หัวรถจักร มีอายุการใช้งานมายาวนานมาก ทั้งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลต่อศักยภาพ ความคล่องตัว
(2) ระบบอาณัติสัญญาณไม่ทันสมัย ยังใช้สัญญาณมือ ทำให้ต้องชะลอรถ เกิดความล่าช้า ส่วนระบบสัญญาณไฟสีทันสมัย ถึงจะมีแต่ติดตั้งแค่ ร้อยละ 48.5 ของจำนวนสถานีทั้งหมด (3) เส้นทางรถไฟ มีถนนตัดเสมอระดับทาง คิดเป็นร้อยละ 89.39 จากทางตัดทั่วประเทศ บางจุดไม่มีเครื่องกั้น จึงเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุการเดินรถ
(4) สภาพทางมีอายุการใช้งานนาน และไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการซ่อมบำรุงอย่างเพียงพอ
สาเหตุหลักประการต่อมา...ข้อจำกัดด้านบุคลากร
รฟท.ถูก จำกัดการรับบุคลากรเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 ก.ค.2541 กำหนดให้รับพนักงานใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 ของพนักงานที่ลาออก... เกษียณอายุในแต่ละปี
ผล...ทำให้ขาดบุคลากรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในส่วนตำแหน่งสำคัญ วิศวกร พนักงานขับรถ...โดยอายุเฉลี่ยพนักงานอยู่ที่ 50 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป เพียงร้อยละ 8 ของพนักงานทั้งหมด
ประการที่สาม...การทุจริตคอรัปชัน
สำหรับ คนรถไฟ เห็นว่า...นี่คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รฟท.กลายเป็นแหล่งทำมาหากินของนักการเมือง (เ_ว)...บางคน ที่สมคบกับผู้บริหาร (_ั่ว)...บางท่าน
"จับตรงไหน...ก็โดนตรงนั้น"
กรณี การทุจริตที่ตรวจพบ สอบสวนเรียบร้อย...จนผ่านไปถึงขั้นดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อาทิ กรณี...นักการเมืองออกโฉนดที่ดินทับที่ดินการรถไฟฯ ที่เขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กรณี... การให้เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เพื่อดำเนินการจัดหาประโยชน์ (ตลาดซันเดย์) และกรณี...การศึกษางานจ้างก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสาร อากาศยานในเมือง
ประการสุดท้าย...นโยบายของรัฐบาลต่อระบบการขนส่งทั้งระบบ ขาดการวางแผนเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ
"การขนส่งทางราง เป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน มีความปลอดภัยสูง แต่ขาดการสนับสนุนส่งเสริม พัฒนาให้ทันสมัย...
กลับ กัน...รัฐกลับทุ่มงบกับการสร้างถนน เกิดการนำเข้ายานพาหนะจากต่างประเทศมหาศาล สุดท้าย...ก็ใช้น้ำมันซึ่งเป็นพลังงานหลักกันอย่างสิ้นเปลือง"
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เคยกล่าวไว้ว่า ประเทศไทยเลือกนโยบายขนส่งสินค้าโดยรถสิบล้อเป็นหลัก แทนที่จะเลือกการขนส่งทางรถไฟหรือเรือกลไฟ
นโยบายอย่างนี้จะนำไป สู่สิ่งที่ตามมาเป็นลำดับ คือ...ต้องสร้างถนนหลวงเต็มไปหมด ซึ่งราคาแพงมาก ต้องซื้อรถสิบล้อมาวิ่งกระหึ่มทั้งประเทศ หมดค่าน้ำมันมหาศาล การขนส่งแบบนี้แพงกว่าการขนส่งทางรถไฟและเรือกลไฟมาก...
ชาวนาแทนที่ จะได้รับส่วนแบ่งมากกว่านี้ ประชาชนควรได้รับการบริโภคถูกกว่านี้ ผลประโยชน์มหาศาลกลับตกไปอยู่กับต่างชาติที่ขายรถยนต์และน้ำมัน กับคนไทยจำนวนน้อยที่ได้ประโยชน์จากนโยบายนี้
และการใช้เชื้อเพลิง มหาศาล สำหรับรถสิบล้อที่วิ่งกระหึ่มทั้งประเทศ เมื่อน้ำมันขึ้นราคา ก่อให้เกิดวิกฤติพลังงาน และวิกฤติเศรษฐกิจอย่างไม่มีทางออก เป็นตัวอย่างเรียกน้ำย่อย ที่แสดงให้เห็นความเสียหายใหญ่หลวงจากนโยบายที่ผิด...
ทำไม?รถไฟไทยจึงขาดทุน เพื่อ ให้เห็นภาพมากขึ้น ก็ต้องเจาะลึกถึงขุมทรัพย์ แหล่งที่มาของรายได้หลัก คนรถไฟทุกคนคงรู้ดีว่า...รถไฟไทยมีรายได้หลักจากการขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า และรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน
ข้อมูลการรถไฟแห่งประเทศไทยปี 2552 ระบุว่า ปัจจุบันรถไฟไทยมีเส้นทางรถไฟรวม 4,440 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 47 จังหวัด
ปี 2551 ขนส่งผู้โดยสารรวม 47.2 ล้านคน แยกเป็น เชิงสังคม 34.1 ล้านคน...รายได้ 433 ล้านบาท เชิงพาณิชย์ 13.1 ล้านคน รายได้ 3,765 ล้านบาท
รวมแล้ว รถไฟไทย มีรายได้จากการโดยสาร 4,198 ล้านบาท
แยก ย่อยรายได้จากการโดยสารต่อคน เฉลี่ยอยู่ที่กิโลเมตรละ 0.82 บาท ถ้าเป็นค่าโดยสารเชิงสังคมอยู่ที่ 0.23 บาทต่อกิโลเมตร และค่าโดยสารเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 0.59 บาทต่อกิโลเมตร
จำนวนขบวนรถที่ ให้บริการต่อวัน มีทั้งหมด 268 เที่ยว แยกเป็นขบวนรถเชิงสังคม 179 เที่ยว...ขบวนรถเชิงพาณิชย์ 89 เที่ยว มีรายได้เฉลี่ยเที่ยวละ 429,156 บาท
ช่วง เวลา 24 ปีที่รัฐบาลคุมค่าโดยสารไม่ให้ขึ้นราคา นับตั้งแต่น้ำมันดีเซลราคาลิตรละ 6 บาท กระทั่งวันนี้ขยับขึ้นไปเป็นลิตรละ 26.29 บาท เข้าไปแล้ว
ต้นทุนต่อกิโลเมตรที่ควรจะเป็น น่าจะอยู่ที่ 1.30-1.50 บาท...ด้วยเหตุนี้รถไฟไทยจึงขาดทุนสะสมทุกปี
เมียงมอง มาที่รายได้ก้อนที่สอง...การขนส่งสินค้า แม้ว่าจะทำรายได้เฉลี่ยเที่ยวละ 916,072 บาท แต่ก็ติดปัญหาหัวรถจักรใช้งานมานาน ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
โอกาสสร้างรายได้จากการขนส่งสินค้า จึงหายไปอย่างน่าเสียดาย
ที่น่าจับตาคือ...รายได้ก้อนที่สาม การบริหารทรัพย์สิน
การรถไฟมีที่ดินทั้งสิ้น 233,860 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินใช้ในการเดินรถ 198,674 ไร่ และที่ดินเพื่อหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่
ที่ดินเชิงพาณิชย์...การรถไฟบริหารประโยชน์มีรายได้ปีละ 1,116 ล้านบาท
รายได้ขนาดนี้ คนรถไฟถือว่า...ค้านสายตา เพราะหลายพื้นที่เป็นทำเลทอง ทำเงิน โดยเฉพาะที่ดินเขตกรุงเทพฯ
ทำเล ทองที่เห็นๆกันอยู่...แปลงแรก สามเหลี่ยมพหลโยธิน (บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาเช่า 47 ไร่) แปลงถัดมา...บริเวณถนนรัชดาภิเษก, บริเวณจตุจักร...เจเจมอลล์/ ตลาดซันเดย์, ย่านมักกะสัน, ย่านแม่น้ำ...ท่าเรือ, บางซ่อน, ย่านถนนรามคำแหง...
คลองตัน-หัวหมาก
ประเมินกันว่า...ทำเลทองเหล่านี้น่าจะทำรายได้มหาศาลให้แก่การรถไฟฯ ทว่าการรถไฟฯกลับมีรายได้เฉลี่ยแค่ปีละ 1,000 ล้านบาท
เท่ากับ ว่าที่ดินทำเลทองทำเงินได้แค่ไร่ละ 28,000 บาท...ต่อปี หรือไร่ละ 2,353 บาท...ต่อเดือน หรือแค่ตารางวาละ 5.80 บาท...ต่อเดือนเท่านั้น
เอาไป เปรียบ...เทียบกับหน่วยงานอื่น อย่างห้างมาบุญครอง เช่าที่ดินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 23 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี เป็นเงิน 25,000 ล้านบาท
ขณะที่เซ็นทรัลฯ เช่าที่ดินการรถไฟฯ 47 ไร่...20 ปี...เป็นเงิน 21,000 ล้านบาท หรือห้างเจเจมอลล์ เช่าที่ดิน 12 ไร่...30 ปี เป็นเงิน 917 ล้านบาท
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนความไม่ชอบมาพากล ...รายได้มหาศาลแทนที่จะพุ่งเข้าการรถไฟฯได้นำมาพัฒนากิจการให้เจริญงอกงาม ...ก็ไหลเปลี่ยนมือไปที่อื่น
รถไฟไทยมีแต่ทรุด ไม่ต้องลืมตาอ้าปาก ขาดทุนสะสมเป็นดินพอกหางหมู สะท้อนกลับไปถึงการดูแลรักษาราง อุปกรณ์ รวมถึงบุคลากรที่สุกงอม...
เหตุ สลดใจ รถไฟสายมรณะ 7 ศพ ที่สถานีเขาเต่า หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พขร.อ้างว่ามีโรคประจำตัว และวูบ ถ้าไม่มีนอกมีใน...ไม่ได้โยนบาปให้ใครคนหนึ่งคนใดรับผิด คงถึงเวลาแล้วที่รถไฟไทยฯ ต้องชำแหละตัวเองครั้งใหญ่แบบใสสะอาด
เดินหน้าพัฒนาเส้นทางคมนาคมแห่งอนาคตเพื่อประเทศไทย ทิ้งสโลแกน... "ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" เสียที.
นสพ.ไทยรัฐ โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 9 ตุลาคม 2552, 11:19 น. tags: รฟท.,รถไฟ,สกู๊ปหน้า 1,ประเวศ วะสี http://www.thairath.co.th/today/view/38469
จากคุณ |
:
the last wizard of the century
|
เขียนเมื่อ |
:
12 ต.ค. 52 19:49:15
|
|
|
|
 |