ความคิดเห็นที่ 31 |
|
การเจียร์ราง (Rail Grinding) เขาไม่ได้ทำกันบ่อยๆนะครับ เขาทำกันทั้งเส้นโดยเจียร์ด้านข้างและด้านบน ด้านข้างก็คือด้านในของราง เพราะว่าตอนที่ติดตั้งรางตามแนวเส้นทางที่ออกแบบ (Alignment) มันไม่สามารถติดตั้งได้ตามตำแหน่งพอดี และรางที่ผลิตมาจากวิธีการ Extruding Profile ของรางตลอดทั้งเส้นมาตราฐาน (18 or 25 m) จะมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้นเวลาจะใช้งาน ต้องทำการเจียร์รางก่อนครับ ส่วนการที่รางสึกหรอ ก็มีบ้าง แต่เราจะออกแบบให้ล้อรถสึกหรอมากกว่า เพราะมันเจียร์ง่าย (ด้วย Lathe machine ในศูนย์ซ่อมบำรุง) หรือไม่ก็เปลี่ยนใหม่เลย หากสึกหรอมากเกินที่กำหนด โดยกำหนดที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ ดังนั้นการเจียร์รางทั้งเส้น จะไม่ทำบ่อย หลายปีถึงจะทำ ยกเว้นมีการเปลี่ยนราง จึงจะมีการเจียร์รางเฉพาะช่วงนั้นๆ เรื่องสาขาที่จบนั้น ปกติงานระบบราง (Trackwork) จะเป็นงานของวิศวกรโยธา แต่ในเมืองไทยเรา วิศวกรโยธาทำได้แต่ไม่ค่อยถูกต้องนัก เช่น ตอนออกแบบแนวเส้นทาง ก็เอา Criteria design ของงานถนนมาใช้ โดยเอาความเร็วสูงสุดที่โค้งนั้นๆรองรับได้มาออกแบบการยก Superelevation (ยกขอบทางด้านนอก) แต่ในรถไฟฟ้า เราจะต้องใช้ความเร็วใช้งาน ณ. จุดนั้น (Maximum operating speed)มาใช้คำนวณ และยังต้องวิเคราะห์ร่วมกับการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าในเส้นทาง ดังนั้นสาขาที่ใกล้เคียงมากที่สุด ช่วงออกแบบ น่าจะเป็น โยธา แล้วให้เครื่องกลตรวจสอบ เพราะแค่เติมความรู้ด้าน Survey ก็ทำได้แล้ว ช่วงก่อสร้าง ให้โยธาสำรวจแนว แล้วเครื่องกลมาติดตั้งรางและเชื่อม ช่วงบำรุงรักษา ก็ให้เครื่องกลดูแล แล้วโยธามาช่วยบ้างบางส่วน คำตอบน่าจะชัดเจนนะครับ
แก้ไขเมื่อ 18 ต.ค. 52 17:58:15
จากคุณ |
:
รถราง
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ต.ค. 52 17:56:33
|
|
|
|