 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
มีคับ มีหลายอย่างด้วย
สารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารเป็นที่รู้จัก และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในสำนักงานทั่วไป นอกจากเครื่องถ่ายเอกสารแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ระบบแสงเลเซอร์ (Laser Printer) เครื่องโทรสาร (Facsimile) เครื่องพิมพ์เขียว (Plan Printing Machine) เครื่องปรุกระดาษไข และเครื่องโรเนียว
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สำนักงานเหล่านี้ เป็นงานประจำตลอดทั้งวัน หรือแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว แต่ถ้ามีอุปกรณ์สำนักงานประเภทนี้ตั้งอยู่ในห้องทำงานเดียวกัน ก็มักจะได้กลิ่นสารเคมี หรือแสงสว่างวาบเข้าตาอยู่เสมอ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพในท้ายที่สุด
โอโซน (Ozone, O3) โอโซนเกิดขึ้นได้จาก การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความดันไฟฟ้าแรงสูง เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องเชื่อมโลหะไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับเครื่องถ่ายเอกสารนั้น โอโซนส่วนใหญ่ เกิดจากการอัดและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้งกระดาษ โอโซนบางส่วนเกิดจาก การปล่อยแสงเหนือม่วง (UV) จากหลอดไฟพลังงานสูงของเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งแสงเหนือม่วงนี้ จะทำให้ก๊าซออกซิเจนในอากาศรวมตัวกันเป็นโอโซนง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามในสภาวะปกติ หรือในสำนักงานทั่วไปโอโซนจะสลายตัว เป็นก๊าซออกซิเจนได้ภายใน 2-3 นาที อัตราการสลายตัวของโอโซน ขึ้นอยู่กับระยะเวลา อุณหภูมิ โอโซนสลายตัวได้เร็วยิ่งขึ้นในที่ที่อุณหภูมิสูง การระบายอากาศ และพื้นผิววัตถุโอโซนสัมผัส ถ้าเป็นถ่านมีประจุ (Activated Carbon) ก็จะทำให้โอโซนสลายตัวได้ถึง 100% ดังนั้นเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ จึงมีแผ่นกรองประเภท Activated Carbon Filter ติดอยู่ด้วย เพื่อสลายโอโซนก่อนปล่อยออกภายนอกเครื่องถ่ายเอกสาร
ค่ามาตรฐานการสัมผัสโอโซนสำหรับ 8 ชั่วโมงการทำงานของประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลีย คือ
0.1 ppm (Parts per Million , ส่วนในล้านส่วน) ACGIH : American Conference of Govermental Industrial Hygienists กำหนดค่า TLV (Threshold Limit Value) ของโอโซน เป็น 0.1 ppm เช่นเดียวกัน แต่เป็นค่าสูงสุดที่ห้ามมีเกินค่านี้ในบรรยากาศการทำงาน แม้ในเวลาใดก็ตาม ค่า Ceiling ความเข้มข้นของโอโซนที่ 10 ppm เป็นระดับที่ทำอันตรายต่อชีวิต และสุขภาพทันที # ผลต่อสุขภาพระยะสั้น โอโซนที่ระดับความเข้มข้นต่ำ 0.01 - 0.02 ppm ก็สามารถตรวจสอบกลิ่นได้แล้ว โอโซนในระดับความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป มีผลทำให้เกิดความระคายเคืองต่อ ตา จมูก และ คอ ทำให้หายใจสั้น วิงเวียน และปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นสาเหตุของความล้า และการสูญเสียประสาทรับรู้กลิ่นด้วย คนที่มีโรคทางระบบหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืด ไม่ควรสัมผัสโอโซนเลย
# ผลต่อสุขภาพระยะยาว การสูดหายใจเอาโอโซนเข้าไปเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำอันตรายต่อปอด พบได้บ่อยในคนงานเชื่อมโลหะไฟฟ้า ไม่ค่อยพบในผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายเอกสาร
จากลิ้งค์อ้างอิงนี้คับ
http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum3/health_dep/copier.html
จากคุณ |
:
~@ GoMaMoN @~
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ต.ค. 52 14:41:20
|
|
|
|
 |