 |
ความคิดเห็นที่ 20 |
เอิ่ม เขาตัดที่สายยางนะครับ แล้วสายยางก็ไม่ได้มีระบบไหลย้อนกลับ...
ฉนั้นแล้วต่อให้กรรไกรไม่สะอาดก็ตาม
"เลือดที่ติดเชื้อจะคาอยู่สายยางแล้ว ไม่ไหลย้อนกลับเข้าไปสู่เส้นเลือดผู้บริจาคอย่างแน่นอน"
เพราะว่า เมื่อ จนท ตัดสายยางแล้วเขาจะพยายามให้ต่ำกว่าระนาบแขนที่เจาะเพื่อป้องกันกรณีนี้ไว้แล้ว สังเกตุได้ง่ายๆครับ จนท จะไม่ได้ยกสายยางสูงๆแล้วตัด ทุกครั้งที่ตัดเขาจะตัดต่ำกว่าระนาบของจุดที่เจาะไว้...
ผมเองก็บริจาคมาเกือบ 20 ครั้งแล้ว...
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าทำไมกาชาดเรื่องมากจัง ก่อนบริจาคก็ตั้งกฎนั่นนี่เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด - พักผ่อนให้เพียงพอ - ทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอ - น้ำหนักต้องเกิน 45 กก. ( นน. 45-50 เก็บเลือด 350cc , นน. 50 ขึ้นไปเก็บเลือด 450cc )
3 ส่วนนี้หลักๆคือป้องกันผู้บริจาคล้วนๆ ถามว่าไม่กินข้าวเลยแล้วบริจาคได้ไหม ไม่กินน้ำเลยบริจาคได้ไหม คำตอบคือ "บริจาคได้ แต่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริจาคได้"
ส่วนข้ออื่นๆ เรื่องยา พฤติกรรมเสี่ยง การสัก นั้นหลักๆแล้วป้องกันเชื้ออันตรายเช่น ซิฟิลิส เป็นต้น...
ทั้งหมดแล้ว เขาป้องกันทั้งต้นทางและปลายทางนะครับ...
ย้ำอีกทีว่าเรื่องกรรไกรนั้น หายห่วงไปได้เลยว่าโอกาสน้อยมากที่จะติดเชื้อจากการใช้กรรไกรตัดสายยางที่ไม่มีแรงดันส่งเลือดย้อนกลับเข้าเส้นเลือดเลย หรือ แม้แต่แรงแนวดิ่งก็ไม่มี...
**ปล. เพิ่มเติม** - ส่วนอื่นๆก็ตามข้างบนครับ เลือดในหลอดทดลง 4 สีนั้นพูดง่ายๆก็คือเอาไปทำ QC ต่อ ตรวจเชื้อ หา HIV HCV AntiBody อื่นๆ ตามมาตรฐาน ต่อไป - หากผู้บริจาคมีภาวะเสี่ยงที่ยังสามารถบริจาคได้อยู่เช่น ไขมันสูง ทางกาชาดจะส่งจดหมายเตือนแนะนำและปรับปรุงพฤติกรรมให้สามารถบริจาคครั้งต่อไปได้ - หากผู้บริจาคเลือดมีภาวะที่ไม่สามารถนำเลือดไปใช้ได้ ทางกาชาดจะส่งจดหมายแจ้งเลยครับว่าไม่สามารถบริจาคได้อีกต่อไป
แก้ไขเมื่อ 16 พ.ย. 52 11:53:11
จากคุณ |
:
Cocopok
|
เขียนเมื่อ |
:
16 พ.ย. 52 11:45:05
|
|
|
|
 |