 |
: : [ หากเปรียบเทียบกำลังทางอากาศ ไทย กับ เพื่อนบ้าน จะเป็นอย่างไร? ] : :
|
|
ก่อนที่จะเข้าเรื่อง "กำลัง" กัน ก็อยากทำความเข้าใจกับความหมายของประเภทเครื่องบินต่างๆ กันก่อนนะครับ เผื่อว่าจะมีใครสับสนเพราะก็แบ่งได้หลากหลายเหลือเกินไม่ว่าจะ Attack, Fighter, Bomber, Reconnaissance, Transport, Fighter-Bomber ฯลฯ
อนึ่ง. ข้อมูลตรงนี้ได้มาจากบล็อคของคุณ Analayo นะครับ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
เครื่องบินโจมตี
เครื่องบินโจมตีมีภารกิจหลักก็คือโจมตีสนับสนุนการรบให้กับกองกำลังภาคพื้นดิน ฉะนั้น ส่วนใหญ่แล้วมันจะมีความสามารถทางการบินค่อนข้างสูง บรรทุกอาวุธได้มาก สามารถอยู่ในสนามรบได้นาน ส่วนมากแล้วเครื่องบินจะมีนักบิน 2 คนคือนักบินและนายทหารสรรพาวุธคอยช่วยเหลือกัน
ตัวอย่างของเครื่องบินโจมตีได้แก่ A-1, A-7, A-10, A-37, Harrier GR.7, OV-10, Alphajet, Hawk, L-39, A-5 Fantan เป็นต้น
เครื่องบินขับไล่
เครื่องบินขับไล่มีหน้าที่หลักก็คือการเข้าขัดขวางและต่อสู้กับเครื่องบินอีกฝ่ายหนึ่ง เครื่องบินชนิดนี้จำเป็นต้องมีความคล่องตัวสูง มีประสิทธิภาพทางการบินที่ดี มีความเร็วที่ยอดเยี่ยม นอกจากนั้นยังต้องมีระบบอิเล็กทรอนิคทางการบินและอาวุธที่เอื้อประโยชน์ให้กับภารกิจด้วย เช่นระบบเรด้าห์ที่สามารถจับเป้าหมายทางอากาศได้ไกล ระบบอาวุธพิสัยใกล้และกลางต่าง ๆ
เครื่องบินประเภทนี้ที่เราจะรู้จักกันดีที่สุดอย่างเช่น MiG-29, F-15, F-16, JA-37, Mirage เป็นต้น
ทั้งนี้ในบรรดาเครื่องบินขับไล่ด้วยกันนั้น ก็มีเครื่องบินประเภทที่ทำภารกิจขัดขวางทางอากาศ หรือ Interceptor โดยเครื่องบินประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่หรือบินได้ไกล เพราะโดยภารกิจแล้วเครื่องบินประเภทนี้มีหน้าที่ขัดขวางเครื่องบินข้าศึกในระยะที่ไม่ไกลจากฐานบิน จนกว่าข้าศึกจะล่าถอยหรือกำลังทางอากาศอื่น ๆ จะเข้ามาช่วย ทั้งนี้ เครื่องบินประเภทนี้มักไม่ได้ติดอาวุธมากมาย มีขนาดเล็ก แต่มีความเร็วและความคล่องตัวเป็นเลิศ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเครื่อง F-5 และ MiG-21 เป็นต้น
เครื่องบินทิ้งระเบิด
เครื่องบินทิ้งระเบิดมีภารกิจหลักคือโจมตีทิ้งระเบิด แต่จะแตกต่างกับเครื่องบินโจมตีก็คือ เครื่องบินโจมตีนั้นสามารถทำการโจมตีในทางยุทธวิธี (tectical) ซึ่งอยู่ในวงจำกัด แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถทำการโจมตีในทางยุทธศาสตร์ (Strategic) คือสามารถเปลี่ยนผลของสงครามทั้งหมดได้
เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถบินได้ไกล บรรทุกระเบิดได้มาก แต่มีอาวุธป้องกันตัวเองจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันก็คือ B-1B, B-2, B-52, F-111, Tu-22M, Tu-160 เป็นต้น
เครื่องบินลาดตระเวน
เครื่องบินประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ติดอาวุธป้องกันตัว โดยเครื่องจะทำภารกิจลาดตระเวนหาข่าวเป็นหลัก
เครื่องที่เรารู้จักกันดีก็คือ SR-71 และ U-2 นั้นเอง
เครื่องบินขนส่ง
เครื่องบินขนส่งมีภารกิจหลักคือขนส่งสิ่งของและยุทธปัจจัยต่าง ๆ ไปสู่ที่หมาย รวมถึงสามารถใช้ขนอากาศยาน พลร่ม ปืนใหญ่ ฯลฯ ได้ด้วย
เครื่องบินประเภทนี้ที่รู้จักกันดีคือ C-130, C-5, C-17, An-72, An-124, Il-76 เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เอาล่ะ เราผ่านเรื่องประเภทของเครื่องบนรบต่างๆ กันไปแล้ว ทีนี้ขอเข้าเรื่อง "กำลัง" กันเลยนะ!
1. กองทัพอากาศไทย - Royal Thai Air Force (RTAF)
เครื่องบินที่ใช้การอยู่
Attack (เครื่องบินโจมตี) - L-39, Alpha Jet, AU-23
Fightet (เครื่องบินขับไล่) - F-16A,B, Gripen, F-5
Reconnaissance (เครื่องบินลาดตระเวน) - Lear 35A, Arava, Saab 340 AEW&C
Trainer (เครื่องบินฝึก) - Airtrainer, PC-9, DA42
Transport (เครื่องบินขนส่ง/ลำเลียง) - C-130 (Hercules), BT-67, Nomad, G222, Avro 748, ATR-72, 734-400/800, A319, A310
จำนวนโดยคร่าวๆ (อนึ่ง.จำนวนอาจไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน)
F-16A Block 10OCU - ประมาณ 30 ลำ อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงเพื่อยืดอายุชั่วโมงบินโดยบริษัท Thai Aviation Industry คาดหมายว่าจะยืดอายุชั่วโมงให้ได้ถึงปี 2025
F-16A Block 15ADF - ประมาณ 15 ลำ ได้รับการปรังปรุงให้สามารถยิงจรวด AIM-120 AMRAAM ได้
F-16B Block 15OCU/15ADF - ประมาณ 15 ลำ ได้รับการติดตั้งเพิ่มที่นั่งเพื่อสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องฝึกหัด
F-5T,E,F Tigris, Tiger ll - ประมาณ 15 ลำ จากทั้งหมด 30 ลำ จะได้รับการแทนที่โดย JAS 39C,D Gripen ที่สั่งซื้อชุดแรกไป 6 ลำ และคาดว่าจะสั่งซื้อเพิ่มอีก 6 ลำภายในปี 2013-2017
เครื่องบินฝึกซ้อม - มีอยู่ประมาณ 40 เศษ โดยหลักๆ เป็นเครื่อง Pacific Aerospace CT/4 และ Pilatus PC-9
เครื่องบินลาดตระเวน - มีอยู่ประมาณ 20 ลำเศษ โดยส่วนใหญ่เป็นเครื่อง GAF Nomad ของออสเตรเลีย โดยเครื่อง Saab 340 จำนวน 3 ลำจะมาเสริมในปี 2010
เครื่องบินขนส่ง/ลำเลียง - C-130 Hercules 12 ลำ อยู่ระหว่างการปรับปรุง, Basler BT-67 คือเครื่อง Douglas DC-3 ที่นำมาทำใหม่ ถูกรายงานว่าตก 1 ลำในปี 2006 และ เครื่อง ATR-72 จำนวน 4 ลำจากฝรั่งเศสเพิ่งได้รับหลังการสั่งซื้อ
เกร็ดประวัติศาสตร์
Nieuport - เครื่องบินลำแรกของ RTAF (Royal Thai Air Force)
Hawk lll, O2U Corsair - เครื่องบินขับไล่รุ่นแรกที่ได้เข้ารบระยะประชิดกับฝูงบิน Potez 25 ของฝรั่งเศส
Ki-27 - 5 ลำได้ทำการรบกับ P-51 Mustangs 5 ลำ และ P-38 Lightning อีก 9 ลำ เหนือจังหวัดลำปาง โดยกองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบินทั้ง 5 ลำ และอ้างว่ายิงเครื่อง P-51 ตก 1 ลำ และทำให้ P-38 1 ลำเสียหายหนัก
Ki-43 - ยิงเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 ของอเมริกาตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
Supermarine Spitfire - เข้าประจำการหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นาน
F8F Bearcat - เครื่องบินรบที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยมากที่สุด ด้วยจำนวน 204 ลำ ระหว่างปี 1951-1963 ทุกวันนี้เหลือเพียง 1 ลำที่สามารถขึ้นบินได้
T-33 Shooting Star - เครื่องบินเจ็ทลำแรกของไทย
F-5A/B - เครื่องบินเจ็ทความเร็วเหนือเสียงลำแรกของไทย ยังประจำการอยู่จนปัจจุบัน *อนึ่ง เครื่อง F-5B ลำแรกของโลกอยู่ในไทย
OV-10 Bronco - เครื่องบินรบที่ประสบความสำเร็จสูงสุดระหว่างการทำสงครามคอมมิวนิสท์ในช่วงสงครามเย็น มีใช้งาน 32 ลำระหว่างปี 1971-2004 ต่อมาบริจาคให้ฟิลลิปปินส์ทั้งหมดในปี 2004
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Thai_Air_Force
รูป: F8F Bearcat เครื่องบินรบที่เคยเข้าประจำการมากที่สุดในกองทัพอากาศไทยด้วยจำนวน 204 ลำ
จากคุณ |
:
art_sarawut
|
เขียนเมื่อ |
:
17 พ.ย. 52 20:18:46
|
|
|
|  |