 |
ความคิดเห็นที่ 69 |
อ้างถึง คห.ที่ 47 นะครับ อย่างไร ก็ต้องขอบคุณที่ให้ข้อมูล แต่ขอขยายความบางส่วน เพื่อสมาชิกหลายท่านที่อ่านแล้วอาจคลายความสับสนลงบ้าง... ข้อ 1. จากข้อความ "..ตัวกรองเอาเฉพาะสนามแม่เหล็กไฟฟ้า.." คือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า นะครับไม่ใช่สสาร เช่น ของเหลว หรือ แกส จะได้เอาแผ่นวัสดุบาง ๆ มากรองได้ สนามแม่เหล็กสามารถแผ่ผ่าน (ทะลุ) วัสดุต่างๆ ได้ โดยเฉพาะวัสดุที่ไม่ใช่สารเฟโรแมกเนติก เช่น เหล็ก การ "กรอง" เพื่อลดความเข้มสนามลงอาจทำได้ โดยใช้เหล็กอ่อนแผ่นที่หนาพอควร ทำเป็นกล่องที่มีลักษณะเหมาะสม แต่ถ้าจะ "กรอง" เพื่อเลือก "ชนิด" ของสนามแม่เหล็กคงยากอยู่ ... ยังไม่เคยพบว่ามีรายงานเรื่องนี้ เพราะ ถ้าเป็นสนามแม่เหล็กสถิต เช่น สนามจากแท่งแม่เหล็ก จะเป็นแม่เหล็กแท่งไหน สนาม มันก็เหมือนกันหมด ถ้าเป็นสนามแม่เหล็กพลวัต (ความเข้มสนามเปลี่ยนแปลงตามเวลา เช่น มีความถี่) ยิ่งความถี่สูงก็จะถูกดูดกลืนได้ง่าย จากข้อความ "...แล้ทำปฏิกิริยาระหว่างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (พารากับไดอา)..." คือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า นะครับไม่ใช่สารเคมี สนามแม่เหล็กไม่ทำปฏิกิริยากัน สนามแม่เหล็ก อาจรวมกัน หรือหักล้างกับสานามแม่เหล็กอื่นที่แผ่เข้ามาในบริเวณเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสนามแม่เหล็กพลวัต ก็อาจมี อันตรกิริยา (Interaction) เช่น การเหนี่ยวนำไฟฟ้าแม่เหล็ก บ้างถ้ามีขดลวด หรือแผ่นโลหะอยู่แถวๆ นั้น สารพาราแมกเนติก คือ สารแม่เหล็กที่นำเข้าไปไว้ในสนามแม่เหล็กแล้ว จะถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแม่เหล็กอย่างอ่อนๆ เช่น แมกนีเซี่ยม โมลิบดีนัม เป็นต้น สารไดอาแมกเนติก คือ สารแม่เหล็กที่นำเข้าไปไว้ในสนามแม่เหล็กแล้ว นอกจากไม่เป็นแม่เหล็กแล้ว บางชนิดยังเกิดแรงผลักอ่อนอีกด้วย เช่น ทองแดง, เงิน, ทองคำ เป็นต้น ...อันนี้ก็อธิบายแบบง่ายๆ นะครับ จากข้อความ "แผ่นเทปตัวนี้แหละ" น่าจะเป็นหัวใจของเครื่อง... ..เออ...อันนี้ ถ้าจริงก็น่าสนใจ... ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอะไร...คงไม่ยาก ถ้าว่างๆ จิ๊ก ถอดมาสักอันเอาไปทดสอบ ..คงมีห้องเแล็บหลายแห่งที่ทดสอบให้ได้ แต่ถ้าไม่รู้จะเอาทดสอบที่ไหน ลองไปที่ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ จากข้อความ "...สสารทุกชนิดในโลกนี้ล้วนแต่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันออก..." ใจความนี้ก็จริงอยู่ แต่ต้องพิจารณาในเชิงปริมาณด้วย วัตถุ (ก้อนใหญ่ๆ) จะดูดกลืนพลังงาน เช่น ความร้อน รอบๆ ตัวมันเอง แสงที่ตกกระทบ ส่วนหนึ่งจะสะท้อนออก ส่วนหนึ่งถูกดูดกลืนไว้ ขณะเดียวกัน วัตถุนั้นก็จะแผ่รังสี (ส่วนใหญ่เป็นความร้อน) ออกมา ในปริมาณที่เท่ากัน วัตถุก็จะมีอุณหภูมิคงที่ ประมาณอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เพราะถ้า มันดูดมากกว่าคาย อุณหภูมิของมันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือถ้ามันคายมากกว่าดูด อุณหภูมิก็จะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ด้วยขัดกฏแห่งอุณหพลศาสตร์ ในกรณีของวัตถุ เล็ก มากๆ ปริมาณความร้อนที่มันดูดและคาย ก็อาจน้อยมากจนวัดไม่ได้ ยิ่งถ้าเล็กๆๆๆ จนมีไม่กี่โมเลกุล ปริมาณความร้อนที่มันดูดและคาย ก็ยิ่งน้อยยยยยย เพราะความจุความร้อนน้อย มีบางความคิดว่า อะตอมของสสารประกอบด้วยประกอบด้วย ประจุไฟฟ้า คือ อิเล็กตรอน และโปรตรอนในนิวเคลียส แล้วไปโยงกับประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งแผ่สนามไฟฟ้าออกมาได้ ก็คิดเดาเอาว่า อะตอมน่าจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา แล้วบวกคำว่า "เฉพาะตัว" เข้าไปอีก ข้อถกเถียงเรื่องนี้ยุติไปร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยคำอธิบายว่า ถ้าอะตอมแผ่รังสีอกมาได้เอง พลังงานของมันจะต้องลดลงจน อิเล็กตรอน ตกจากวงโคจรไปรวมกับนิวเคลียส ....สสารต่างๆ ก็จะคงตัวอยู่ไม่ได้ และปรากฏการณ์ก็ไม่พบว่ามีที่เกิดขึ้นได้เอง สรุปว่า อะตอมปกติจะไม่แผ่รังสี ซึ่งก็คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นั่นแหละ แต่ถ้าอะตอมถูกกระตุ้น เช่น ถูกชน ให้ความร้อน หรือ ได้รับรังสีที่ความยาวคลื่นเหมาะสม อะตอมรับพลังงานเข้าไปสักแว๊บหนึ่ง ก็จะปล่อยโฟตอน ออกมา ..โฟตอน นี้ก็คือ อนุภาคแสง หรือถ้าเยอะๆ หน่อยก็แสดงตัวแปลงร่างเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ ซึ่ง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ ก็จะมีความยาวคลื่นเฉพาะ เป็นชุด เพราะอาจปล่อยโฟตอนออกมาหลายความยาวคลื่น รวมๆ กันเรียกว่า "สเปกตรัม" นั่นเอง ข้อความสั้นๆ แต่เอาหลายเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกัน มายำ คำอธิบายก็เลยยาว..เลยยยยย ข้อ 2. "ในเมื่อไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือกลไกอะไร แล้วมันจะทำงานได้อย่างไร ????" ข้อนี้ก็จริงอยู่... เครื่องวัดทางวิทยาศาสตร์หลายชนิดก็ไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รีแฟรกโตมิเตอร์ (เครื่องวัดดัชนีหักเหแสง) แต่จะเอา เข็มทิศ ไปเปรียบกับ GT200 มันก็กระไรอยู่นะครับ ..พอดียังไม่เคยเจอ"เข็มทิศ" ตัวเป้นล้าน การเปรียบเทียบเครื่องวัด ก็ควรเปรียบเทียบกับเครื่องวัดที่วัดปริมาณเดียวกัน จะได้เปรียบ พิสัย ความไว ความเที่ยง ความแม่น กันได้ ข้อ 3. "...GT200 กับ ใช้สุนัขดมกลิ่น..." ไม่ได้ค้านนะครับ แต่ถ้ามองมุมกลับว่า ถ้าเครื่องใช้ไม่ได้ผล ค่าใช้จ่ายต่อวัน ก็เท่ากับ 900,000/0 หมายถึงมากจนไม่อาจประมาณได้ ข้อ 4. "...มีปรากฎการณ์หลายอย่าง ที่วิทยาศาสตร์ยังอธิบายไม่ได้..." อันนี้ก็จริงอยู่... ถ้าหมายถึงปรากฏการณ์ธรรมชาตินะครับ ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ทุกชนิด สร้างขึ้นตามข้อเท็จจริงหรือ หลัก หรือ กฏทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนั้น ...กฏทางวิทยาศาสตร์ เนี่ย ที่จริงก็อันเดียวกับ กฏธรรมชาติ นั่นแหละครับ แต่เป็นกฏธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายกลไกได้อย่างกระจ่างแล้ว เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไป ในกรณีของ เครื่องวัด ..มีคำกล่าวในวงการมาตรวิทยาอยู่ว่า "ขอบเขตของความจริง คือสิ่งที่วัดได้" หมายถึง การที่เราจะบอกว่า มีปริมาณใดอยู่จริง ต้องวัดปริมาณนั้นได้จริง รวมถึงพิสูจน์ผลการวัดได้ตามหลักวิชามาตรวิทยา ในทางกลับกัน ถ้าปริมาณใด ยังไม่สามารถวัดได้ ไม่สามารถยืนยันความแน่นอนของผลการวัดได้ ย่อมไม่อาจบอกได้ว่ามีปริมาณนั้น จริงหรือไม่ ...ไม่ใช่บอกว่าไม่มี นะครับ ...ถ้าจะบอกได้ว่าปริมาณนั้น ไม่มีอยู่ ณ ที่ตรงนั้น แสดงว่าเครื่องต้องวัดปริมาณนั้นได้ แต่ผลการวัดมีค่าต่ำกว่าความไม่แน่นอน พูดภาษาชาวบ้านว่า "ผลการวัดเป็นศูนย์" ข้อ 5. "แล้วมีอะไรที่ดีกว่า GT200 ..." ข้อนี้ คำตอบเชิงวิชาการย่อมมีอยู่แล้ว อ่านดู คห. ต่างๆ ในหลายกระทู้ ก็ดูเหมือนทุกท่านต่างมีคำตอบในใจกันแล้ว ด้วยความเคารพนะครับ ในฐานะสมาชิกใหม่ อ่าน คห. ต่างๆ ทั้งใช้อารมณ์ เสียดสี ว่ากันไปว่ากันมา ... อ่านแล้วไม่สบายใจ ไม่อยากให้คนไทยทะเลาะกัน ปัญหาวิชาการนะ..มันแก้กันได้ ...ปัญหาใจ ไม่เข้าใจกัน ไม่วางใจกัน ...มันลำบาก อยากให้ช่วยกัน ออกความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ คนละนิดคนละหน่อย คาดว่า สมาชิกส่วนใหญ่น่าจะเป็นนักท่องเว็บ กันทั้งนั้น ไปเจออะไรดีๆ ที่อาจเป็นประโยชน์กว่า ก็เอามาวิเคราะห์ วิจารณ์กัน น่าจะดีกว่านะครับ ให้กำลังใจกันจะดีกว่า การเป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเรียนจบมาทางวิทยาศาสตร์ ขอเพียงเป็นผู้ที่รักความรู้ กระหายใครรู้ แล้วคิดด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ผมว่า คนนั้นแหละ เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจริง ผมให้ข้อมูลสักนิดหนึ่ง ในวงการทหารนักวิชาการของไทยเราเอง ก็มีกลุ่มที่ทำงานด้าน Counter IED (Improvised Explosive Devices) หรือ กลุ่มศึกษาวิจัยการต่อต้านระเบิดแสวงเครื่อง อยู่หลายคน เท่าที่ทราบ พวกเขาก็ให้ความเห็นคัดค้านการใช้เครื่องประเภทเดียวกับ GT200 มาตั้งแต่ต้น บางคนก็ยังเลยยังลำบากอยู่ถึงทุกวันนี้
จากคุณ |
:
knp.MPiR (กัปตันเนโม)
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ก.พ. 53 20:18:26
|
|
|
|
 |