 |
ความคิดเห็นที่ 9 |
ทำไมสัปดาห์นี้ไม่ค่อยมีใครรีวิวเลยนะครับ เฮ้อ สงสัยคุณนกไฟไม่ได้เอามู้เข้ากล่องดำ ------------------------
ชื่อหนังสือ: กดเครื่องคิดเลขทำไม ในเมื่อคำนวณได้ไวแบบพ่อมดคณิตศาสตร์ (Secrets of Mental Math) ผู้แต่ง: ดร.อาร์เธอร์ เบนจามิน (Arthur Benjamin) ผู้แปล: พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ, ชาครีย์ เพชรพิเชษเชียร สำนักพิมพ์: WeLEARN จำนวนหน้า: ๑๗๙ หน้า ราคา: ๑๔๐ บาท
เนื้อเรื่องย่อ+ความคิดเห็นส่วนตัว ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่หนังสือนิยายนะครับ ดังนั้นไม่ต้องหวังว่าจะมีตัวละครเอกมาดำเนินเรื่อง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มต่อจาก "กดเครื่องคิดเลขทำไม ในเมื่อคิดในใจได้เร็วกว่า" ซึ่งผู้เขียนกล่าวว่าจะเป็นการดึงเอาศักยภาพของสมองมาใช้ให้เต็มที่และเข้มข้นกว่าเดิม โดยสามารถนำแต่ละบทที่ผู้เขียนนำเสนอไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลองมาดูกันครับว่าแต่ละบทมีเนื้อหาหลัก ๆ ยังไงบ้างครับ
บทที่ ๑ การประมาณค่าอย่างแม่นยำ ในบทนี้มีเนื้อหาเด่น ๆ ตรงการคำนวณค่าภาษี คำนวณดอกเบี้ยในใจ และคิดว่าไม่ค่อยได้เอาไปใช้สักเท่าไรหรอกครับ จะมีใครต้องมาคิดค่าภาษีและดอกเบี้ยอยู่ทุกวันใช่มั๊ยครับ
บทที่ ๒ การคำนวณด้วยดินสอและกระดาษให้เร็วดุจจรวด บทนี้สิครับน่าสนใจจริง เพราะจะสอนให้เรากลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ด้วยการคำนวณด้วยดินสอและกระดาษแบบที่เคยทำสมัยยังเยาว์วัย แต่จะเหนือชั้นและรวดเร็วกว่าด้วยวิธีการอันน่าทึ่ง (ถ้าคุณคล่องแล้ว ฮ่าๆ) เนื้อหาเด่น ๆ ในบท -การบวกตัวเลขที่เรียงกันเป็นแถวยาวเหยียด (เอาไว้ใช้เวลาซื้อของในห้าง แล้วไม่มีเครื่องคิดเลข)(เช่น 4328+884+620+1477+617+725=?) -การคูณด้วยดินสอและกระดาษ โดยให้จบในบรรทัดเดียว(เช่น การคูณ 853 กับ762 หรือ การคูณ 2,766,829,451 กับ 4,425,575,216 ในหนึ่งบรรทัด!! โอ้ว แม่เจ้า)
บทที่ ๓ เทคนิคในการจดจำตัวเลข ผมว่าบทนี้สำคัญและน่านำไปใช้ที่สุดครับ เพราะในชีวิตประจำวันเราจะเจอกับสิ่งนี้มากกว่าบทอื่น ๆ ในบททนี้จะพูดถึงวิธีการจดจำตัวเลขแถวยาวเหยียดให้ได้ภายในเวลาอันสั้น ซึ่งเราอาจนำไปใช้เวลาต้องการจำหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีต่าง ๆ หรืออะไรก็ตามในเวลาที่ไม่มีอะไรจะจด
บทที่ ๔ การคูณเลขในใจขั้นสูง ในบทที่สองเราคำนวณโดยใช้กระดาษไปแล้ว ในบทนี้ผู้เขียนเลยมาสอนเราให้คูณเลขในใจบ้าง ส่วนที่ผมมองว่าจะพอเอาไปใช้ได้บ้างก็ตรงการคิดเลขยกกำลังสอง และยกกำลังสามในใจครับ แต่ที่สำคัญบทนี้ต้องอาศัยหลักการจำตัวเลขจากบทที่ ๓ มาด้วย ดังนั้นจึงดูเหมือนจะไม่ค่อยได้เอาไปใช้ประโยชน์สักเท่าไรนักถ้าไม่คล่องวิธีจดจำตัวเลขในบทก่อนจริง
บทที่ ๕ เล่นกลกับคณิตศาสตร์ บทนี้ก็ตามชื่อเลยครับ เอาตัวเลขมาทำเป็นกลให้งงกันเล่น ๆ ถ้าจะจดจำทริกต่าง ๆ ในบทนี้ไปเล่นกับเพื่อนก็โอเคนะครับ อาจทำให้เพื่อน ๆ ทึ่งได้ (บ้าง)
สรุปแล้วดูเหมือนจะอ่านเพื่อเป็นข้อมูลรกสมองเนอะ ฮ่า ๆ แต่ไม่หรอกครับ ถ้ามีเวลาว่างก็ลองเปิดใจ แล้วทดลองหยิบมาอ่านดู คุณอาจจะชอบคณิตศาสตร์มากขึ้นอีกนิดก็ได้ครับ Math is all around you!
เอาคะแนนไป ๗/๑๐ ครับ
แก้ไขเมื่อ 16 ก.พ. 53 15:21:34
แก้ไขเมื่อ 16 ก.พ. 53 13:41:48
จากคุณ |
:
ลูกแมวปลอมตัวมา
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ก.พ. 53 13:41:06
|
|
|
|
 |