 |
ความคิดเห็นที่ 13 |
ถ้าพูดถึงโรงไฟฟ้าตามแผนพลังงานอีกสิบปีตัวหลักก็ยังคงเป็นก๊าซธรรมชาติ รองมาก็ถ่านหินครับ พวกฟอสซิลยังสะดวกที่สุดสำหรับตอนนี้แต่สักวันมันก็หมดไป
นิวเคลียร์กฟผ.มีแผนตั้งในปี 63-64 ปีละโรง รวม 2000 MW ยังได้แค่ 10% ของการผลิตไฟฟ้าในประเทศ และก็ยังหาที่ตั้งไม่ได้ มัน near zero GHG emission แต่มีการเทน้ำร้อนทิ้งทะเลกับการกำจัดกาก ยังไงศักยภาพของนิวเคลียร์ก็น่าคบหาที่สุดครับ ใช้ได้เป็นพันปี ถ้าควบคุมฟิวชั่นได้ก็มีพลังงานใช้ไปแสนปี
ลมตอนนี้กังหันมันทำได้เกือบสุดประสิทธิภาพทางทฤษฎีแล้วครับ แถมบ้านเราไม่ค่อยมีลมอีก ที่ๆลมดีคือแถวช่องเขา หลักๆคือลำตะคลองที่กฟผ.ทำอยู่แล้ว บริเวณอื่นเป็นป่า A1 ห้ามแตะต้อง
Photovoltaic น่าลุ้นครับ ถ้าควอนตัมดอทออกมาได้ ประสิทธิภาพเชิงทฤษฎีสูงถึง 63% (เดิม 35%) อากาศบ้านเราร้อน แต่พลังงานแสงกลับกระเจิงเยอะไม่มีศักยภาพ ปัจจุบันพลังงานก็พอแค่ผลิตใช้ในครัวเรือน ว่ากันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบโลก 1,368 w/m2 เท่ากับโรงไฟฟ้า 1700 ล้านโรง แต่จะไปเก็บมาใช้ให้หมดเป็นไปไม่ได้
ชีวมวลมี SPP ส่งเข้าสายเยอะเหมือนกัน ต้นทุนผลิตไฟก็ต่ำ แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ไม่ต่างจากฟอสซิล เพียงแต่มันใช้คาร์บอนหมุนเวียน มักใช้ผลิตไฟฟ้าตามโรงเล็กๆมากกว่าตราบใดที่ logistic ชีวมวลยังไม่ถึงกับสะดวกสบายอะไร หรือถ้าจะผลิตพลังงานกระจายศูนย์แบบประเทศเดนมาร์กก็ว่าไปอย่าง
ไฮโดรเจนตอนนี้ราคายังแพงนรกครับ คงเป็นเทคโนโลยีตัวสุดท้ายที่จะเกิด กระทรวงพลังงานของสหรัฐประเมินไว้ว่าต้นทุนจะลงมาแข่งกับน้ำมันได้ในปี 2020 ด้วยการ gasification ถ่านหินกับชีวมวลได้ต้นทุนต่ำกว่าเอาพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเป็นไฮโดรเจนที่หลายฝ่ายจับตามองกัน
ส่วนน้ำใช้เกือบเต็มศักยภาพแล้ว
ธรณีไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไหร่ ผมไม่รู้จะโม้อะไร
ปีก่อนโหลดไฟสูงสุด 22 GW ผลิตได้ 28 GW อัตราการเพิ่มการใช้พลังงานเพิ่มปีละ 1-2 GW ต้องขยายโรงไฟฟ้า+รับซื้อจากเอกชนเพิ่มเรื่อยๆ ให้โหวตก็หนุนนิวเคลียร์ครับ ไม่อยากให้ซื้อไฟต่างประเทศใช้
จากคุณ |
:
ชีริว
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ก.พ. 53 16:02:05
|
|
|
|
 |